รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
2. วางแผนการเงินล่วงหน้า หลายคนอาจจัดการเงินได้ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็มักเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน แผนที่เราวางไว้กลับสูญเปล่า ดังนั้นควรมีอีกแผนเอาไว้รองรับ เช่น ค่าพยาบาล ค่าซ่อมรถ และค่าใช้จ่ายฉุกเฉินต่างๆ นอกจากนั้นการวางแผนเก็บเงินต้องทำอย่างมีขั้นตอน คือ การตั้งเป้าหมายว่าเราจะออมเงินเท่าไร ภายในปี 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เราจะมีเงินสำรองเท่าไร การตั้งเป้าเวลาเช่นนี้จะสมจริงกว่า การตั้งเป้าลอยๆ ว่า “จะต้องมีเงินล้าน”
3. รู้ตัวเสมอเวลาใช้เงิน เรามักจะลืมตัวหลังจากที่กดเงินออกมา ใช้จ่ายมันอย่างเพลิดเพลิน เผลออีกทีเงินหายไปเยอะแล้ว ดังนั้นการจดบันทึกรายรับ – รายจ่าย จะช่วยคุณได้มาก ไม่ว่าคุณจะจดใส่สมุด หรือใช้ Application ก็สามารถจัดการการเงินของคุณได้ดีเลยทีเดียว
4. เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์ในที่นี้ หมายถึง การกิน การเที่ยว การช้อปปิ้ง การเดินทาง เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างรายได้ในทุกๆ วัน เปลี่ยนการกิน เช่น หันมาทำอาหารกินเองบ้าง เพราะการทำอาหารเองนั้นช่วยเซฟค่าใช้จ่ายได้มาก จะมื้อเช้า มื้อเที่ยง มื้อเย็น ลองดูซักมื้อก็ไม่เสียหาย เปลี่ยนไลฟ์สไตล์อื่น เช่นการเลือกดูหนังวันพุธ การหาโปรโมชั่นช้อปปิ้งถูกๆ ก็สามารถช่วยได้
5. อย่าสร้างหนี้ บางคนอาจคิดว่าการสร้างหนี้นั้นเป็นการกระตุ้นความรับผิดชอบชั้นดี เพราะมันจะทำให้เราต้องขวนขวาย ขยันมากขึ้น แต่มีอีกหลายเสียงบอกว่าการสร้างหนี้นั้น นอกจากจะสร้างภาระทางการเงินแล้ว ยังสร้างภาระทางใจอีกด้วย เพราะการสร้างหนี้ในแต่ละครั้งนั้น มันกินเวลานานถึง 6 เดือน 1 ปี 4 ปี และเมื่อเราเครียดกับภาระหนี้สินแล้ว การจัดการทางการเงิน การงาน และชีวิต ก็พลายจะแย่ตามไปด้วย ฉะนั้นแล้วก่อนจะก่อหนี้อะไร ต้องเช็คสภาพการเงินดีๆ
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : http://xn--72cfa1hey3b0dtji.com/detail.php?id=3585