วันจันทร์, กรกฎาคม 1, 2567

FinTech VS ธนาคารไทย ใครจะอยู่ ใครจะไป แล้วใครจะ FIN

by Smart SME, 16 พฤษภาคม 2559

พร้อมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับ FinTech ระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาสั่นคลอนธนาคารประเทศไทย การปรับตัว และข้อดีข้อด้อยของทั้ง 2 ฝ่ายจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย ผู้ร่วมสัมมนามีดังต่อไปนี้ คุณทองอะไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย คุณทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ คุณสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท Paypal คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงายดิจิทัล แบงกิ้ง และนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบบธนาคารยังมีความจำเป็นแต่ธนาคารอาจไม่มีความจำเป็น ซึ่ง FinTech มีบทบาทมากขึ้น แล้วธนาคารยังมีบทบาทอยู่มั้ย แบงก์ชาติ – เซอร์วิสของแบงก์ยังจำเป็นอยู่ แต่ FinTech เข้ามามีบทบาทมาก ทั้งด้านลงทุน ด้านระดมทุน ซึ่งที่คนเห็นกันชัด ๆ ก็ด้าน Payment System โอนเงินอะไรต่าง ๆ ถ้าแบงก์ไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบ ตามไม่ทัน ก็ต้องเหนื่อยขึ้น แต่แบงก์ก็ได้เปรียบอยู่สามอย่าง 1. เงินทุนที่เข้มแข็ง 2. มีเครือข่ายเยอะ และ 3. ทุกคนให้ความเชื่อถือ แต่ข้อได้เปรียบของ FinTech คือ รวดเร็ว มีความคิด มีนวัตกรรม ถ้าเอาทั้งสองมารวมกันได้ก็น่าจะได้ประโยชน์ทั้งคู่ SCB –รูปแบบการใช้บริการใหม่ ๆ ต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่ธนาคารพาณิชย์ก็ยังอยู่ แต่อยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ซึ่งธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดก็ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เพื่อเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง ให้ได้รับความสะดวกสบาย และปลอดภัยไปพร้อม ๆ กันด้วย KBANK – FinTech มีผลกระทบกับธุรกิจตัวกลางทั้งหมด ไม่ใช่แค่เพียงธนาคาร ทำให้ต้องปรับตัวเพื่อสร้างตัวเองให้อยู่ได้ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และมีคนรุ่นใหม่และคนที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ธนาคารเองก็มีข้อดีหลายอย่างตามที่แบงก์ชาติได้บอกไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่เราต้องคิดถึงว่าเราจะอยู่กับมันได้อย่างไร ทำอย่างไรเราถึงจะยังคงเป็นส่วนสำคัญของสังคมอยู่ BBL – การทำหน้าที่ตัวกลางของธนาคารยังมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจอยู่ แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนไปก็คือกระบวนการในการทำงาน เพราะจะถูกท้าทายมากขึ้น เห็นได้จากระบบ Payment ที่มีตัวกลางใหม่ ๆ ขึ้นมา FinTech มี 2 ส่วนคือส่วนที่เราปรับกระบวนการในการทำงานเอง และ FinTech ที่เกิดจากข้างนอก เช่น E-Payment ซึ่งการปรับตัวของธนาคารต้องมีแน่ ถึง FinTech จะไม่เข้ามาก็ตาม เพราะเทคโนโลยีก็เข้ามามากขึ้นแล้ว กรุงศรี –ช่วงจังหวะนี้คือช่วงที่ทุกคนจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของธนาคาร เพราะเทคโนโลยีก็เข้ามา ผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้ง FinTech ก็เข้ามา ซึ่งธนาคารก็ต้องยึดจุดที่ตัวเองแข็งแกร่งไว้ และเอาลูกค้าเป็นตัวตั้ง อยากได้อะไร อยากเห็นธนาคารเปลี่ยนแปลงเป็นแบบไหน ธนาคารก็ต้องปรับตัวไปแนวทางนั้น Paypal – เราเข้ามาด้วยคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในประเทศไทยแบงก์ก็ยังจำเป็นอยู่ เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานให้กับคนที่อยากมาทำธุรกิจ แต่ในระดับโลกก็อาจจะไม่ใช่ เพราะมีเทคโนโลยีที่เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ ๆ สร้างขึ้นมาและทดแทนแบงก์ได้ แต่ในประเทศไทยนี้ก็ยังจำเป็นอยู่ แต่ละท่านสร้างโอกาสจากปัจจัยธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปกันยังไงบ้าง BBL –ตอนนี้ก็มีองค์กรใหม่ ๆ ขึ้นมา ระบบนิเวศวิทยากำลังจะเปลี่ยน การอยู่ร่วมกันของ FinTech และ Non-Bank ก็กำลังจะเกิดขึ้น เราเตรียมการเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การเรียนรู้ความต้องการลูกค้าก็ต้องทำมากขึ้น และการมีผลิตภัณฑ์บริการไม่กี่อย่าง แต่ใช้การเพิ่มฟีเจอร์ลงไป จะทำให้ธนาคารตอบสนองความต้องการได้เร็วขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นความท้าทายที่ธนาคารต้องปรับตัวไป กรุงศรี – เราต้องกลับมาตั้งหลักถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าจุดแข็งของเราคืออะไร เราจะต้องทำอะไรได้บ้าง ซึ่งเราโฟกัสในเรื่องนวัตกรรม และทุกคนก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของธนาคารในเร็ว ๆ นี้ SCB – ทำยังไงเราถึงจะเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเสริม เติม เปลี่ยนแปลง เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้ามากขึ้น เราต้องเอาเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยน ทำให้เร็ว เพราะคำว่ารวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำธุรกิจ และทั้งนี้ทั้งนั้นต้องควบคู่ไปด้วยกันทั้งธนาคารและลูกค้า ถ้าธนาคารเปลี่ยนแปลงแต่ลูกค้าไม่นำไปใช้ประโยชน์ก็ไม่ได้ช่วยอะไร KBANK – เทรนด์ของเทคโนโลยีตอนนี้ทำให้เกิดโอกาสมากมาย บางคนอาจมองว่าเป็นคู่แข่ง แต่ถ้าเราจับมือกันให้ดี ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางภูมิภาคของคน 230 ล้านคนได้ ซึ่งนี่คือจุดหมายที่เรามอง และติดตามดำเนินการอย่างใกล้ชิดอยู่ Paypal – ตอนนี้คนที่ทำ FinTech เกิดการจับมือกัน จากที่ต่างคนต่างอยู่ รวมตัวกันเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ เอาจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละคนมารวมกัน เพื่อแก้ปัญหา ส่วนคนที่กำลังจะเกิดใหม่ขอแค่มีไอเดียดี ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นมาได้ในยุคนี้ แบงก์ชาติเตรียมการยังไงในการออกกฎระเบียบมาเพื่อกำกับดูแลผู้บริโภค เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด แบงก์ชาติ – เราอยากให้นวัตกรรมเกิดก็จริง แต่เราต้องสมดุลให้ดี ถ้าไปเร็วเกินไปผู้บริโภคอาจตามไม่ทัน ระบบความปลอดภัยก็อาจจะยังไม่รองรับ ในการปรับตัวของธนาคารก็หนีไม่พ้นเทคโนโลยี ต้องมองการใช้งานทำยังไงให้มันง่าย ซึ่งเราก็มีคีย์เวิร์ด 4 ตัวไว้ให้คือ แข่งได้ เข้าถึง เชื่อมโยง ยั่งยืน ซึ่งเรามองแค่ว่าจะทำยังไงให้กฎระเบียบของเราไม่เป็นอุปสรรคต่อธนาคารพาณิชย์ แต่ในขณะเดียวกันก็คุ้มครองผู้บริโภคไปด้วย ธนาคารเตรียมกลยุทธ์ยังไงในการเข้ามาของ FinTech SCB – 50% ของ FinTech ตอนนี้เปลี่ยนจากการแข่งขันมาเป็นทำงานร่วมกันกับธนาคาร เพราะการแข่งขันกันเองมันไม่มีประโยชน์ เอาจุดแข็งธนาคารมาใช้ให้เป็น ทำวัฒนธรรมองค์กรให้เปิดรับกับ FinTech ทำงานร่วมกัน มองผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นตัวตั้ง และลูกค้าก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้งานเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลลัพธ์ก็จะเกิดไปในทางที่ดี จุดแข็งของธนาคารที่ FinTech ไม่สามารถแทนที่ได้ BBL – ความน่าเชื่อถือของธนาคารยังเป็นสิ่งสำคัญ และมีฐานข้อมูลลูกค้าที่เยอะ แต่จุดท้าทายก็คือ ระบบ เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ก็ไม่ง่ายนัก อาจต้องใช้เวลา ทำให้ FinTech จะได้เปรียบในเรื่องนี้ แต่จริง ๆ แล้วเราไม่ได้แข่งกันเอง เราช่วยกันทำยังไงให้ประเทศไทยแข็งแรงขึ้นมากกว่า และทำยังไงแบงก์ไทยถึงจะรุกไปยังตลาดที่ใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย Paypal – จริง ๆ FinTech ก็ไม่ได้เกิดมาเพื่อฆ่าอุตสาหกรรมแบงก์ แต่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้บริโภค หลายอย่างที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้บริโภคสะดวกขึ้น ดำเนินความสะดวกให้กับคน แต่ก่อนคนใช้งานจริง ๆ ยังน้อยเกินไป ทำให้คนพัฒนาระบบใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่ไม่รอด ตอนนี้ไทยเรากำลังเริ่มสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา และเริ่มออกไปต่างประเทศ เอารายได้กลับเข้าประเทศได้ ซึ่งนี่เป็นมุมมองที่เราคิดกันและอยากทำให้มันเกิดขึ้น ในอนาคตธนาคารพาณิชย์จะอยู่ร่วมกับ FinTech ยังไง กรุงศรี – เราเห็นข้อดีของการอยู่ร่วมกันและเอา FinTech เข้ามาใช้หลาย ๆ จุด ธนาคารมีลูกค้า ลูกค้ามีปัญหา ธนาคารไม่สามารถแก้ได้ทัน แต่ FinTech สามารถทำได้ ก็เอาโซลูชั่นของเค้ามาตอบโจทย์ได้ เราไม่เคยมอง FinTech เป็นคู่แข่ง เรามองว่าเค้าเข้ามาช่วยเราให้แข่งขันได้ดีขึ้นมากกว่า เพราะโซลูชั่นหลาย ๆ อย่างของ FinTech ทำให้เรากระชับ ทำได้ง่าย และใช้ต้นทุนที่ต่ำลง ตอนนี้ FinTech มาพร้อมกันหลายแบบ ทำให้พวกเราตื่นตัวและต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งจากการสัมมนาทั้งหมดก็จะเห็นได้ว่าการเข้ามาของ FinTech ไม่ได้ทำให้ธนาคารต่าง ๆ สั่นคลอนอย่างที่คิด เพราะทั้งคู่ก็ต่างมีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือการอยู่ร่วมกัน สนับสนุน ช่วยเหลือในการทำธุรกิจและพัฒนาประเทศ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าชาวไทย และทำคุณภาพชีวิตข

Mostview

“Butterbear” น้องหมีเนย เมื่อมาสคอตเป็นอะไรมากกว่าที่คุณคิด

“มาสคอต” ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักของคนมากขึ้น หลายแบรนด์จึงใช้วิธีนี้สร้างคาแรคเตอร์ให้กับมาสคอตขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่จดจำ

ถอดบทเรียน Robinhood ตั้งเริ่มทำธุรกิจขาดทุนทุกปี รวม 5.5 พันล้านบาท

“Robinhood” อีกหนึ่งแอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี ภายใต้การบริหารของเอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ที่ต้องโบกมือลา โดยจะหยุดให้บริการมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.2567 เป็นต้นไป โดยบริษัทได้บอกว่าพวกเขาทำภารกิจลุล่วงแล้วกับการช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็ก

ลาออกจากงาน 1 ปี เพื่อหาความสุขที่แท้จริง สุดท้ายได้แนวทางใช้ชีวิตไปจนเกษียณ

เชื่อว่าทุกคนอยากมีชีวิตตามสิ่งที่คิดไว้ แต่แน่นอนว่าด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทำให้เราไม่สามารถเป็นไปอย่างที่หวัง หรือไปถึงเป้าหมายตรงนั้นได้ช้าลง

ยอดจัดตั้งธุรกิจเดือน พ.ค.67 แรงต่อเนื่อง ตั้งใหม่ 7,499 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 21,887 ล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยสถิติจดทะเบียนตั้งใหม่ช่วงกลางไตรมาส 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 มียอดจัดตั้งใหม่ 7,499 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 14.84% จดทะเบียนเลิก 1,004 ราย น้อยลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

SmartSME Line