หัวใจของผู้ประกอบการ : ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์


คนที่จะเป็นผู้ประกอบการได้ ต้องมีสามสิ่งนี้ คือ

  1. แรงบันดาลใจ
  2. มีไอเดียดีๆ

และ3.  มีความมุ่งมั่น

เมื่อก่อนเราเชื่อกันว่า คนที่มีคุณสมบัติสามข้อนี้ ถ้าลงมือทำธุรกิจของตนเอง ก็จะประสบความสำเร็จกันได้ทุกคนแต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการหน้าใหม่ในปัจจุบันก็ล้วนแล้วแต่มีไฟ มีไอเดีย แบบนี้กันทั้งนั้น บางคนเก็บเงิน สะสมความรู้ แล้วผันตัวมาเป็น SME บางคนจับมือ สร้างทีม นำไอเดียมาเป็น Start up แต่จากข้อมูล

ผู้ประกอบการ 100 ราย มีเพียง 30ราย เท่านั้น ที่สามารถนำพาธุรกิจไปรอดอีก 70ราย ของนักล่าฝันจะปิดกิจการตัวเองลงภายในสองถึงสามปี แม้เขาเหล่านั้นจะมีไอเดียดี ๆ มีความมุ่งมั่น แต่ก็มักไม่รอด

อะไรคือ สาเหตุสำคัญ อะไรคือความแตกต่างระหว่างผู้ที่รอด และผู้ที่ต้องเลิก ?????????

คุณ เจิด หนึ่งในพนักงานดีเด่นของบริษัทขนาดกลางแห่งหนึ่ง เรียนจบ หลักสูตรบริหารธุรกิจ MBA และ มีความฝันว่า “สักวัน ฉันจะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง” ดังนั้น ระหว่างที่ทำงาน เขาก็มองหาโอกาส ที่จะเริ่มธุรกิจ ของตนเองอยู่เสมอ เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ช่วยให้เขา มีมุมมองที่กว้าง เขาได้ไอเดียมากมาย หาความรู้ ในการเริ่มธุรกิจของตนเอง และมาสรุปตรงที่  ธุรกิจร้านกาแฟ เขาเห็นร้านกาแฟหลายร้านในหลายประเทศที่แม้จะไม่ได้เป็นเฟรนไชน์ดังๆ อย่างสตาร์บัค แต่ถ้ามีทำเลดีๆ มีสไตล์ของตนเองแต่งร้านสวยๆ ก็จะมีคนนั่ง และประสบความสำเร็จได้ เขาคิดว่า ร้านกาแฟ น่าจะเป็นธุรกิจที่เหมาะกับตัวเขามากน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเป็นผู้ประกอบการได้เพราะเขามีเพื่อนมาก และเป็นจังหวะพอดี ที่มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ ทำให้เขามีโอกาสได้พื้นที่ดีในราคาค่าเช่าที่ไม่สูง เขาคิดว่าถ้ากิจการรุ่งโรจน์  เขาอาจลาออก มาทำงานนี้เต็มตัว แล้วจะขยายกิจการสร้าง Brand ของตนเอง นั่นคือความฝันของเขา

แล้วเขาก็เริ่มลงมือเขาหาทำเล ศึกษาเรื่องของการทำร้านกาแฟเครื่องทำกาแฟ และการชงกาแฟ อย่างจริงจัง

แล้วเขาก็ลงทุนเปิดร้านกาแฟ ออกแบบสวย ทันสมัย จ้างพนักงานประจำ และใช้ความรู้ ด้าน การตลาดที่เขาเรียนมา เพื่อพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ บริการรวมทั้งการออกแบบร้านและสื่อต่างๆ ส่วนตัวเขาเองก็เข้าร้านทุกวันหยุด  และหลังเลิกงาน แต่เรื่องมันไม่ง่ายอย่างที่เขาคิด เขาเจอปัญหาต่างๆมากมาย เพื่อนๆที่มากันเยอะในช่วงเปิดร้านใหม่ๆ เริ่มน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป ร้านสะดวกซื้อใกล้ๆ มาเปิดขายกาแฟสดราคาต่ำมาก

ลูกค้าบางคนนั่งนานบางคนใช้พื้นที่ร้านเป็นที่กวดวิชาไปเลยก็มี พนักงานมาไม่ตรงเวลา และสารพัดปัญหา

ซึ่งเป็นปัญหาที่ ไม่มีในตำรา แต่เขาก็ อดทน แก้ไข พยายามเรียนรู้ รวมทั้งปรึกษาผู้มีประสบการณ์ เขาไม่ท้อแท้ แต่ในที่สุดหลังจากนั้น สองปีเขาก็ต้องปิดร้าน เรื่องราวแบบนี้ มีมากครับประมาณ 7 ใน10 ของร้านกาแฟที่เปิดมาก็เป็นแบบนี้

เราลองมาดูอีกเรื่อง เหตุเกิดที่จังหวัดเดียวกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน คุณ”ลี อายุ จือปา” ชาวเขาที่ไม่มีสัญชาติ เพราะพ่อแม่อพยพมาเรื่อยๆ จากเมืองจีน สู่พม่า และสุดท้ายมาตั้งรกรากที่ ดอยแม่สลอง เขาเพิ่งได้สัญชาติไทย ตอนอายุ15 แต่เป็นคนที่โชคดี เพราะที่บ้านสนับสนุนให้เรียนหนังสือ เมื่อเรียนจบชั้นประถมจึงได้ตามพระมาเรียนต่อมัธยม ที่โรงเรียนวัด จังหวัดลำพูนและเขากลายเป็นเด็กคนแรกของหมู่บ้านที่ เรียนจบปริญญาตรี เรียกได้ว่า ฮือฮากันไปทั้งหมู่บ้านครับที่หมู่บ้านของเขาปลูกกาแฟ ขาย เมล็ดกาแฟ ส่งเขาเรียนจนจบเมื่อจบมาเขาจึงนึกถึงคนที่อยู่บนดอย ทุกคนที่ให้กำลังใจเขานึกถึง พ่อแม่ที่ให้โอกาสเขา เขาอยากมีส่วนช่วย ให้น้องๆบนดอยได้มีโอกาสเรียนในเมืองเหมือนอย่างที่เขามีโอกาสเขาอยากให้น้องๆได้มีโอกาสทำงาน ดีๆอย่างที่เขาเห็นเขาอยากให้ คนในหมู่บ้านเขามีความเป็นอยู่ดีกว่าเดิม เขาจึงเริ่มธุรกิจ ด้วยการเปิดร้านขายเมล็ดกาแฟ ถึงแม้เขาไม่ได้เรียนจบมาทางบริหาร ความรู้ทางธุรกิจ ก็มีไม่มาก แต่เขาก็พยายามหาความรู้ด้วยตนเองเขาเริ่มต้นจากการบรรจุ เมล็ดกาแฟขาย กาแฟของเขา  ชื่อ อาข่า อาม่า อาข่าคือชนเผ่าซึ่งเป็น ญาติพี่น้องของเขา ส่วนอาม่า คือ แม่ โลโก้ก็ทำง่ายๆเป็นรูป แม่ ของเขา

2016-05-25_15-26-27

เริ่มต้น ก็ล้มลุกคลุกคลาน ขายได้น้อยมาก แต่เขาก็ใช้วิธีอดออม คือกินน้อยๆ  ทำงานเองเยอะๆ งานต่างๆ จึงมักทำเองเขาเล่าให้ฟังว่า “ใหม่ๆผมเดินแจกให้คนลองชิม เขายังไม่ชิมกันเลย” ขายเมล็ดกาแฟได้ แทบไม่พอ ค่าอยู่ค่ากินของตนเอง แล้วเขาก็ไปเรียนชงกาแฟ เพื่อเอาความรู้มาเปิดร้าน

ร้านกาแฟ  อาข่า อามา จึงเริ่มขึ้นที่ เชียงใหม่ เมื่อหกปีที่แล้วตอนที่เปิดใหม่ๆ ก็ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักแต่ความอดทนเขาสูงครับ เขาต้อนรับลูกค้าเอง ชงกาแฟเอง และยังไปสอนการปลูกกาแฟรูปแบบใหม่ ให้คนบนดอยด้วยตนเองเขาเล่าให้ฟังว่า “เดิมชาวอาข่า ปลูกกาแฟคุณภาพไม่ค่อยดี ขายได้ราคาตำ่”

เขาก็นำความรู้ไปบอก ไปช่วย จากครอบครัวหนึ่งก็ขยายเป็นหลายครอบครัวชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอาข่าก็ดีขึ้น ร้านกาแฟ อาข่า อาม่า หลังจากอดทน อดรอมาปีนึง คนก็เริ่มบอกต่อ โซเชียลมีเดียเริ่มพูดถึง และ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จมากๆคือ กาแฟ อาข่า อาม่า ไปได้รับรางวัลที่ ลอนดอน เมล็ดกาแฟก็ขายดีขึ้น ร้านกาแฟก็มีคนมามากขึ้น

เขาเริ่ม ขยายกิจการ ช่วยเหลือได้หลายครอบครัวรับน้องๆ มาช่วยงานที่ร้าน และเรียนต่อในเมืองตอนนี้อาข่า อาม่า กลายเป็น แบรนด์ที่มีคนรู้จักแล้ว

นอกจากมีร้านหลายสาขาแล้วยังมี ครอบครัวผู้ร่วมผลิต  โรงคั่ว โรงสี โรงเก็บกาแฟ  ห้องฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ มีการสอนทุกเรื่อง และพร้อมสนับสนุนให้วัยรุ่นที่จะกลายมาเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ อย่างเช่นที่เขาได้ทำมา ร้านกาแฟคุณเจิด อยู่ได้สองปีกว่า แต่อาข่า อาม่า นับวันก็ยิ่งรุ่งเรือง ความแตกต่าง คืออะไร

คุณ Simon Sinek   นักเขียนเรื่องการบริหารและการเป็นผู้นำ เคยพูดถึงความแตกต่างนี้ บนเวทีTED Talk ครับ  เขาบอกว่า คนที่ จะสำเร็จแตกต่างจากคนทั่วไป ตรงที่ เขารู้ว่า ทำไมเขาจึงทำมัน

เขาทำมันเพราะอะไร  แล้วเขาก็ถ่ายทอดสิ่งนั้นออกมา จากความรู้สึกของเขา ว่า “ทำไม” เขาจึงทำมันขึ้นมานั่นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้คนเข้าใจและร่วมสนับสนุนเขา นั่นทำให้เขาสามารถนำพา ธุรกิจต่อไป เพราะ มันมาจาก ความรู้สึกข้างใน

คนทั่วไปพูดถึงสินค้า ว่าดีอย่างไร แต่ผู้นำที่มี พลังภายใน จะพูดถึงความฝัน แรงบันดาลใจ    ที่ สร้างมันขึ้นมา เขาเชื่อว่า “คนไม่ได้ซื้อของที่คุณทำ เขาซื้อเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ถ้าคุณพูดถึงสิ่งที่คุณเชื่อ คุณจะดึงดูดคนที่เขาเชื่อในสิ่งเดียวกับคุณ “คุณเจิด พูดถึงทำเล  เมล็ดกาแฟ ราคา และการตกแต่ง

เขาฝันจะมีธุรกิจของตนเองแต่่ คุณ ลี อายู จือปา พูดถึง พี่น้อง พ่อแม่ และครอบครัว บนดอย เขาฝันจะให้ อาข่าอามา ช่วยเหลือผู้คนมากมายบนดอย

วันนี้ คุณมีแรงบันดาลใจพอที่จะเริ่ม ประกอบธุรกิจ รึยัง?