ปตท.เล็งลงทุนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City


ปตท.เล็งลงทุนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City

นายสราวุธ เบญจกุล ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย ว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เสนอผลการศึกษาและแผนลงทุนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ตั้งเป้าพัฒนาพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.รอบสถานีรถไฟทางคู่รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงใน 10 จังหวัด โดยสอดคล้องกับแนวคิดบอร์ดที่ต้องการหารายได้พื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟมาเสริมรายได้จากการเดินรถ มีโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแล้วโดยเฉพาะในญี่ปุ่น ลงทุนรวม 362,843 ล้านบาท

ประกอบด้วย

1. “ย่านพหลโยธิน” เนื้อที่ 2,300 ไร่ เป็นชุมทางรถไฟฟ้า โดยพัฒนาเป็นเมืองใหม่ ย่านธุรกิจการค้า ลงทุน 52,361 ล้านบาท

2.”เทศบาลตำบลเชียงรากน้อย” อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟสายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) และรถไฟความเร็วสูง มีศักยภาพพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรย่านธุรกิจ การค้า บริการ และย่านที่อยู่อาศัยทันสมัย เงินลงทุน 44,474 ล้านบาท

3.”เทศบาลนครแหลมฉบัง” จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ในเขตแหลมฉบังเมืองใหม่ มีแนวคิดพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแรงงานนานาชาติ ลงทุน 30,464 ล้านบาท

4.”เทศบาลนครภูเก็ต” เน้นพัฒนาให้เป็นย่านการวิจัยและพัฒนา และย่านธุรกิจการเงินที่สำคัญฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ลงทุน 36,188 ล้านบาท

5.”เทศบาลนครเชียงใหม่” เน้นเป็นย่านพาณิชย์และสำนักงานรองรับการท่องเที่ยว ย่านการวิจัยและพัฒนารองรับแนวคิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล และย่านที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ลงทุน 43,185 ล้านบาท

6.”เทศบาลตำบลเด่นชัย” จังหวัดแพร่ พัฒนาให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร รองรับการเดินทางและการท่องเที่ยว ลงทุน 18,654 ล้านบาท

7.”เทศบาลเมืองหนองคาย” เน้นรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและการค้าชายแดน ลงทุน 37,799 ล้านบาท 8.”เทศบาลนครขอนแก่น” ทำเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน-เมืองศูนย์กลางภาคอีสาน ลงทุน 44,019 ล้านบาท 9.”เทศบาลเมืองแก่งคอย” พัฒนาเป็นย่านโลจิสติกส์ เพราะเป็นจุดตัดรถไฟสายอีสานกับตะวันออก ลงทุน 21,047 ล้านบาท

  1. “เทศบาลเมืองคลองหลวง” จังหวัดปทุมธานี พัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยรถไฟ ลงทุน 34,652 ล้านบาท ทั้งนี้ ปตท.ย่านพหลโยธินมีศักยภาพที่จะเริ่มพัฒนาก่อน ต่อด้วยเชียงรากน้อย แหลมฉบัง ภูเก็ต คลองหลวง เชียงใหม่ เด่นชัย ขอนแก่น หนองคาย และแก่งคอย ตามลำดับ โดยจะพัฒนาในระยะเวลา 5-15 ปี