รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
บัญญัติ 4 ประการ เตรียมตัวเมื่อต้องพูดในที่ชุมชน สำหรับทักษะหนึ่งของการสื่อสารที่จำเป็นก็คือ การพูด เพราะการพูดเป็นวิธีการสื่อสารที่ทำให้ผู้รับสารได้ทราบอย่างรวดเร็วมากที่สุดกว่าวิธีอื่น หากคนเราสื่อสารกันเพียงลักษณะท่าทางโดยไม่มีการบอกกล่าวผ่านการพูดแล้ว เชื่อว่าการรับสารย่อมผิดเพี้ยนไป อย่างไรก็ตามมีการส่งสารโดยการพูดในสถานที่หนึ่งที่มักจะทำให้ผู้ส่งสารมีอาการประหม่า ตื่นเต้น และไม่ประสบความสำเร็จในการส่งสาร สถานที่นั้นก็คือสถานที่ที่มีผู้ฟังเยอะ ๆ นั่นเอง จะเตรียมตัวอย่างไรดีเมื่อวันหนึ่งเราอาจได้รับหน้าที่เป็นผู้ส่งสารในที่ชุมชน จะส่งสารอย่างไรที่ทำให้ผู้ฟังมีความสนใจในสารที่เราจะพูด วันนี้มีเคล็ดลับดีดีเมื่อต้องพูดในที่ชุมชนมาฝากกันค่ะ
เตรียมข้อมูล สิ่งแรกที่เราควรเตรียมก็คือ ข้อมูลเนื้อหาที่เราจะพูด เราจะเตรียมโครงสร้างในการพูดอย่างไร ทั้งเริ่มต้น ส่วนกลางในเนื้อหาและการสรุปจบ การเลือกตัวอย่างในการประกอบคำพูด การใช้เครื่องมือประกอบระหว่างการพูด การใช้คำคม คำเตือนใจ ต่าง ๆ ประกอบการพูดในแต่ละช่วง เป็นการเตรียมข้อมูลในเนื้อหาให้แน่น ๆ เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาพูดเราจะได้นึกทันว่าจะต้องพูดเนื้อหาตอนไหน อย่างไร
วิเคราะห์ผู้ฟัง เราควรวิเคราะห์ด้วยว่าผู้ฟังในที่ชุมชนที่จะฟังเราพูดนั้นคือใคร เพศไหน และอยู่ในวัยใด มีพื้นฐานความรู้การศึกษาในระดับใด อ่านใจผู้ฟังว่าเขาต้องการอะไร ชอบอะไร เมื่อเราได้วิเคราะห์ผู้ฟังอย่างถี่ถ้วนแล้วจะทำให้เราสามารถเตรียมการพูดให้ตรงกับใจของผู้ฟัง ซึ่งหากเราจับจุดความต้องการของผู้ฟังได้จะช่วยทำให้การพูดส่งสารต่อผู้ฟังประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
มีความเชื่อมั่นในตนเอง หลาย ๆ คนที่เตรียมตัวมาดีทุกอย่าง ทั้งเนื้อหา วิธีการพูด ความรู้ที่จะยกตัวอย่างประกอบ แต่ !! ลืมพกความมั่นใจ ลืมพกความเชื่อมั่นในตนเองตามมาด้วยนั้น เมื่อถึงเวลาพูดในสถานที่ชุมชนแล้วสิ่งที่เตรียมมาทุกอย่างที่เป็นข้อมูลกลับไม่ได้รับการส่งสารที่ดีเท่าที่ควร เพราะคำพูดที่พูดไปจะขาดพลัง พูดไม่หมด มีอาการสั่นและหลงลืมไปหมด ผลจากการขาดความเชื่อมั่นในตนเองเหล่านี้จะทำให้การพูดในวันนั้นไม่ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นผู้พูดทุกคนควรจะก้าวข้ามผ่านความกลัว และพูดในสิ่งที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ กระซิบกับตัวเองเบา ๆ ว่าเราพูดได้ดีจริง ๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นคำพูดที่จะช่วยกระตุ้นสร้างความเชื่อมั่นให้กับเราได้
ภาษาท่าทางและน้ำเสียง มีงานวิจัยที่บ่งบอกเกี่ยวกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างชัดเจนว่า ภาษาท่าทาง น้ำเสียงมีผลต่อความสนใจของผู้ฟังเป็นอย่างมากเกือบร้อยเปอร์เซนต์เลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งที่ควรเตรียมตัวก็คือ การฝึกฝนทางด้านการใช้ทักษะภาษาท่าทาง รวมถึงการใช้น้ำเสียง เพื่อดึงดูดผู้ฟังให้มีความสนใจในเนื้อหาที่เราจะพูดให้มากที่สุด
คงจะได้คำตอบแล้วนะคะ กับคำถามที่ว่า จะเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องพูดในที่ชุมชน เคล็ดลับทุกข้อที่กล่าวมาทั้งหมดหากใครได้นำไปศึกษา ฝึกปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนการพูดทุกครั้งแล้ว เชื่อว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการพูด เป็นที่สนใจสำหรับผู้ฟังในทุกเรื่องที่จะพูดอย่างแน่นอนค่ะ