9 เคล็ดลับการเจรจาแบบสามก๊ก
ศิลปะการโน้มน้าวในสามก๊กเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและสามารถนำไปใช้ได้จริง บางเคล็ดลับอาจจะต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคลร่วมด้วย ซึ่งหลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านหนังสือ “เจรจาขั้นเทพด้วยวาทะในสามก๊ก” แล้ว ผู้เขียนก็ได้ลิสต์เคล็ดลับการเจรจาแบบสามก๊กมาฝากกัน
- วางโครงการสนทนา เริ่มจากเราต้องรู้จักฝ่ายตรงข้ามให้กว้างและลึกเสียก่อน ประเมินความต้องการของเขา แล้วแพลนไว้ว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเจรจา เราควรเปิดประเด็นอย่างไร และตบประเด็นอย่างไร ให้เข้าที่เข้าทาง
- อ่านคนให้ออก อ่านสถานการณ์ให้ขาด
- แสดงให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ว่า เราเป็นพวกเดียวกัน
- อย่าอคติ อย่าเพิ่งตัดสินคนอื่น โดยเฉพาะจากความคิดของคนอื่น
- หนึ่งในหลักการเจรจาให้ได้ผลคือ หาความต้องการที่แท้จริงของอีกฝ่าย และพูดในสิ่งที่เขาต้องการ เช่น หาความต้องการที่แท้จริงของอีกฝ่ายให้เจอ พยายามสร้างประเด็นให้คู่สนทนาคล้อยตาม และนำเสนอให้เห็นว่าเราสามารถตอบสนองความต้องการของเขาได้ หากเขาเลือกที่จะทำตามข้อเสนอของเรา
- บ่อยครั้ง การเจรจาจำเป็นต้องใช้สถานการณ์ “กดดัน” เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ภายใต้เวลาที่จำกัด หรือต้องการบีบให้อีกฝ่ายปฎิบัติตามที่เราต้องการ
- ซุนวูกล่าวว่า “จริงคือลวง และลวงคือจริง” ฉะนั้น ต้องมีสติปัญญาในการไตร่ตรองกับสิ่งที่เข้ามา เพราะบางครั้ง เรื่องจริงที่เราเห็นอาจเป็นเรื่องจริงที่คนอื่นสร้างขึ้นมา
- ศึกษาและฝึกทักษะการพูด เพื่อให้ใช้คำได้อย่างสร้างสรรค์ และฝึกการเจรจาโน้มน้าวบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเคยชิน และทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
- นี่ไม่ใช่เคล็ดลับจากสามก๊ก แต่เพื่อผลลัพธ์ระยะยาว แนะนำให้ทำทุกอย่าง อย่างจริงใจ
ข้อมูลจาก : คุณเปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป
หนังสือ เจรจาขั้นเทพด้วยวาทะในสามก๊ก