“อะไรไม่รู้” : PaRaMiTa … สะกิดต่อมคิด


บทความนี้ไม่ได้เสนอทางออก แค่แวะมาบอกให้คิด

ยุคเปลี่ยน โลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน ทุกสิ่งอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว … เป็นประโยคคุ้นหู คุ้น จนชาชิน ย้อนหลังไปประมาณ 20 ปี โลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน เปลี่ยนจริง ๆ เครื่องพิมพ์ดีดป๊อกแป๊ก กลายเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ไม่ช้านานเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  กล้องฟิล์มกลายเป็นกล้องดิจิตอล ไม่ช้าไม่นาน มือถือส่ง SMS ก็กลายเป็น BB ชั่วครู่เดียว กลายเป็น Line เป็น Messenger และอีกหลายสิ่ง ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เปลี่ยนเพื่อ Serve Need ผู้บริโภค … ผู้บริโภคมีแต่ได้กับได้ (ในกรณีมีกำลังจ่าย ) แต่ผู้ประกอบการหากไม่ปรับตัว หรือหลงตัวว่าของเดิมเจ๋ง ไม่ยอมเปลี่ยน สุดท้ายก็ต้องบ๊ายบาย เหมือนฟิล์มสีโกดัก  Nokia ที่เคยเป็นผู้นำ ก็กลายเป็นผู้ตาม  IBM ไม่เชื่อว่าทุกบ้านจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ ตามโลกไม่ทันก็ต้องยกกิจการให้คนอื่นบริหาร และอีกหลายสิ่งอย่าง ถ้าเปิดใจ ไม่ปฏิเสธความจริง ก็จะเห็น

ได้รับบทความนี้จากพี่ที่ทำงานคนหนึ่งส่งมาให้ในกรุ๊ปไลน์ อ่านไปถึงตอนท้าย ระบุเครดิตของ เพื่อนกลุ่ม MBA 12 : ธรรมศาสตร์ … ถึงแม้ว่าข้อเขียนนี้จะดูเหมือนข้อคิดเห็น แต่ถ้าใคร่ครวญอย่างดี มันคือข้อคิดเห็นที่เป็นจริง … และเครดิตระดับประเทศจากธรรมศาสตร์ …. คู่ควรนักที่จะใคร่ครวญ … เลือกข้อความมาบางส่วน ดังนี้

นายแบงก์ใหญ่บอกว่า โลกการเงินวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จาก “เทคโน โลยี”
ไม่ใช่แค่ “ดิจิทอล แบงกิ้ง” แต่ยังไปไกลกว่านั้น … ถามว่า คือ อะไร ?
นายแบงก์ทุกคนตอบ เหมือนกันก็คือ “ไม่รู้”
ความน่ากลัวของสงคราม ครั้งนี้ก็คือ เขาไม่รู้ว่ากำลังสู้อยู่กับอะไร ?
คู่แข่งของเขาไม่ใช่แบงก์ด้วยกันแล้ว … แต่เป็น อะไร ก็ไม่รู้ ?
โลกเทคโนโลยีได้พา “คู่แข่ง” ใหม่ ๆ เข้ามา
คิดเล่น ๆ ว่าถ้า วันหนึ่ง โอเปอเรเตอร์มือถือแปลงกายเป็น “แบงก์”
ธุรกรรมการเงินทั้งหมดไม่ต้องผ่านแบงก์ ใช้บัตรเติมเงินแทน  … หรือ อะไรก็ไม่รู้ ? … น่ากลัว มาก !
และไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมการเงินเท่านั้นตอนนี้แทบทุกธุรกิจก็กำลังเผชิญกับคู่แข่งรายเดียวกัน !… ชื่อว่า”อะไร ก็ไม่รู้” ?
เอเยนซี่โฆษณาที่เคยมีรายได้ที่แน่นอนจากการทำหนังโฆษณาและการวางสื่อยุคเก่าอย่างโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
ตอนนี้ก็เจอ “สื่อ ยุคใหม่” อย่างโซเชียลมีเดีย การวางโฆษณาในสื่อก็ยากขึ้นกว่าเดิม
โทรทัศน์ที่เคยเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดตอนนี้ก็เริ่มเจอปัญหาเรื่องจำนวนคนดูที่อยู่หน้าจอ โทรทัศน์น้อยลง
คนรุ่นใหม่เริ่มหนีไปดูในยูทูบแทน … จะดู เมื่อไร ก็ได้
หนังสือพิมพ์และนิตยสารก็เจอปัญหาคล้ายกัน
คน เสพสื่อจากกระดาษ น้อยลง … ไปเสพสื่อจาก “หน้าจอ” มือถือและแท็บเลตมากขึ้น
ธุรกิจ ค้าปลีก ตอนนี้ ก็มี ปัญหา … จากเดิมที่คนซื้อของตามศูนย์การค้า
ตอนนี้ก็เริ่มซื้อผ่านออนไลน์ มากขึ้น “บายพาส”จาก”ผู้ซื้อ” ไปสู่ “ผู้ขาย” เลย … ไม่ต้องผ่าน คนกลาง
ค่า GP ที่เคยเป็นรายได้หลักของห้างอาจต้องเปลี่ยน ไป
โลกวันนี้เปลี่ยนไปแล้ว และยังเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ (ไม่เคยนิ่ง และเปลี่ยนเร็วด้วย )
ในอดีต คนที่ เริ่มต้น ก่อน คือ คนที่ ได้เปรียบ … เพราะมีฐานที่มั่นและฐานลูกค้าเหนือกว่ารายใหม่
แต่วันนี้บางทีคนที่โชคดี คือคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ เพราะสามารถเดินตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้เลยโดยไม่มีภาระ
ในขณะที่คนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วกลไกธุรกิจของเขายังเป็น รูปแบบ เดิม ๆ
การปรับ โครงสร้าง ไม่ใช่ เรื่องง่าย เหมือนกับการต่อเติมบ้านเก่ากับสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเปล่า
วันนี้คนที่เริ่มต้นก่อนอาจไม่ใช่คนที่ได้เปรียบ
กลายเป็นว่ายิ่งเริ่มต้นก่อนนานเท่าไรยิ่งปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงยากเท่านั้น … (ทั้งโครงสร้างวิธิคิด และโครงสร้างธุรกิจแบบเดิม อาจแงะยาก)
ภาระข้างหลังเยอะมาก
เพราะคู่แข่งใหม่ ในวันนี้ ชัด  … คือ อะไร ก็ไม่รู้ ? (แต่สิ่งที่รู้คือ เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก แบงก์อาจใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคนทั้งหมดภายในเวลาไม่นานนี้ รถยนต์ใช้น้ำมันอาจแทบไม่มีอีกแล้วในอีก 15-20  ปีข้างหน้า เพราะ Tesla รถยี่ห้อใหม่ใช้คอมพิวเตอร์แทนน้ำมัน  โทรทัศน์อาจไม่ต้องมีอีกแล้วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยนแปลงเร็วมาก)

(พนักงาน ลูกจ้างปรับตัวไม่ทันหรือไม่ยอมปรับตัว … จะทำอย่างไรเมื่อหุ่นยนต์เข้ามาแทนคน
ธุรกิจน้ำมันจะเป็นอย่างไรเมื่อมีรถยนต์คอมพิวเตอร์ดาษดื่น
วิทยุโทรทัศน์จะอยู่ ณ จุดไหน เมื่อสมาร์ทโฟน จะกลายเป็นซุปเปอร์สมาร์ท
แล้วโลกจะเปลี่ยนเร็วอีกแค่ไหน เมื่อผันผ่านไปถึงยุค 5G 6G 7G >>>)

น่าคิดจริง ๆ !

PaRaMiTa … สะกิดต่อมคิด