จับตา Brexit เมื่ออังกฤษโบกมือลาอียู


หลังจากการลงประชามติของสหราขอาณาจักรสำหรับการออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ด้วยคะแนน 51.9% ต่อ 48.1 % จนมีนักวิเคราะห์การเงิน และเศษรฐกิจทั่วโลกต่างออกมาเตือนถึงผลกระทบต่าง ที่ตามมาหลังจากออกจากสหภาพยุโรป จนกลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่ละเอียดอ่อนตามมา เนื่องจากตอนนี้ให้ยุโรปล้วนกังวลเรื่องปัญหาผู้อพยพจากสงครามในตะวันออกกลางมากกว่าเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ตามมา

 สหภาพยุโรปเป็นสมาชิกของตลาดร่วม (Single Market) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะการเคลื่อย้ายสินค้า เงินทุน และบริการในการนำเข้าและส่งออก ระหว่างประเทศสมาชิกที่ทำได้อย่างเสรี ปลอดกำแพงภาษี ดั่งเช่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน การที่สหราชอาณาจักไม่ได้เป็นสมาขิกในสหภาพยุโรปอีกต่อไปนั้นจะส่งผลต่อสิทธิพิเศษทางการค้าโดยตรง เนื่องจากสินค้าส่งออกของสหราขอาณาจักรเกินร้อยละ 50 ถูกเคลื่อนย้ายไปยังประเทศในอียู

จากสถาการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลโดยตรงให้สินค้า และบริการเหล่านั้นเจอกับกำแพงภาษ๊ หรือถูกำจัดการเข้าสู่ตลาดอียูได้จากมาตรการกีดกันทางการค้า อย่างที่ประเทศนอกสมาชิกสหภาพยุโรปเจอ และทำให้สหราชอาณาจักจะมีแค่ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เท่านั้นในการกำกับดูแลเรื่องการค้า

 สำหรับประเทศไทยผลกระทบจากการที่สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปนั้นอาจจะเห็นภาพไม่ขัดมากในระยะสั้น เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีความแข็งแกร่งในหลาย ด้าน แต่ในระยะยาวนั้นอาจส่งผลต่อการที่ไทยส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรปอย่างแน่นอน เนื่องจากตอนนี้อียูต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจจากสหราชอาณาจักร การที่สหราชอาณาจักรออกจากอียูจะส่งผลโดยตรงต่อภาวะทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปให้เสียความแข็งแกร่งแน่นอน

 นอกจากนี้ ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปยังสหาภาพยุโรปร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด หากบอกว่าการที่สหราขอาณาจักรออกจากอียูเป็นเรื่องไกลตัวก็คงไม่ใช่ ประเทศไทยเองอาจจะได้รับผลกระทบบ้างอยู่แล้ว ซึ่งอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการที่สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูยังไม่ใช่เรื่องง่าย อาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปี เป็นอย่างน้อย โดยในระยะ 2 นั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับเกมส์ทางการเมืองภายในประเทศและในยูโรโซนก็ตาม

By : กุลจิรา มุทขอนแก่น