คุณประสงค์ นิลบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยในรายการตอบโจทย์ SME ว่า ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีความร่วมมือกับญี่ปุ่น ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ตั้งชื่อว่า โต๊ะญี่ปุ่น (Japan Desk) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล โดยรัฐบาลจะส่งคนญี่ปุ่นประมาณ 2 คน ต่อ1ปี เข้ามานั่งทำงานประจำในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยผู้ประกอบการไทยสามารถขอรับความรู้หรือโอกาสในการทำธุรกิจที่ญี่ปุ่นได้ รวมถึงการประสานงานระหว่าง 2 ประเทศในการเจรจาการค้าได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น อาทิ องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ที่มีการทำงานในลักษณะเหมือน สสว.ของไทย เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือกับญี่ปุ่นนี้ยังคงเป็นความร่วมมือมากกว่าประเทศอื่นๆถึงร้อยละ 40 ถือว่าเป็นอันดับ1 เนื่องจากไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับญี่ปุ่นเสมอมา และไทยยังมี infrastructure ที่ดีในเขตภูมิภาคนี้ และกระจายไปสู่ภูมิภาคแถบนี้ได้ และยังมีความเชื่อมั่นต่อองค์ความรู้ของคนไทย ญี่ปุ่นจึงได้จัดทำโครงการ Thailand Plus One เพื่อให้ไทยเป็นฐานสำคัญของญี่ปุ่นในอาเซียน นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ได้มีการลงนาม MOU ร่วมกัน 14 จังหวัด กับอีก 3 เมืองใหญ่ของญี่ปุ่น คือเมืองโตเกียวสนใจที่จะร่วมทำงานการวิจัยกับบ้านเรา เมืองคาวาซากิในจังหวัดคานากาว่าที่เก่งเรื่องสิ่งแวดล้อม (Eco Town) โดยจะผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา และฟูกูโอกะ มีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารและชิ้นส่วนยายนต์ ซึ่งปัจจุบันมีการแปรรูปอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้น และมีความร่วมมือกับบริษัท สีฟ้าเบเกอรี่ ของไทย ในการทำฟูดส์อินดัสตรี้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างมาก โดยความร่วมมือในครั้งนี้ในช่วงแรกจะเน้นให้ญี่ปุ่นเข้ามาซื้ออาหารและสินค้าของไทย ตามมาด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ด้วยกัน หลังจากนั้นจะเป็นการร่วมทุนกันระหว่างผู้ประกอบการทั้ง 2 ประเทศ รวมถึงเมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา กรมได้จัดงาน Business Matching ทำให้เกิดความร่วมมือในการจับคู่ธุรกิจมากขึ้น อาทิ อุปกรณ์ไล่นก โดยญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย
นอกจากนี้ ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่แทนกรมที่คอยให้ความรู้และความช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกภูมิภาค ผ่าน ศูนย์ Business Service Center (BSC) โดยจัดตั้ง 11 ศูนย์ภาค ซึ่งภาค 1 ตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ศูนย์ภาค 2 ตั้งที่ จ.พิษณุโลก ศูนย์ภาค 3 ตั้งอยู่ที่ จ.พิจิตร ศูนย์ภาค 4 ตั้งอยู่ จ.อุดรธานี ศูนย์ภาค 5 ตั้งอยู่ จ.ขอนแก่น ศูนย์ภาค 6 ตั้งอยู่ จ.นครราชสีมา ศูนย์ภาค 7 ตั้งอยู่ จ.อุบลราชธานี ศูนย์ภาค 8 ตั้งอยู่ จ.สุพรรณบุรี ศูนย์ภาค 9 ตั้งอยู่ จ.ชลบุรี ศูนย์ภาค 10 ตั้งอยู่ จ.สุราษฎร์ธานี และศูนย์ภาค 11 ตั้งอยู่ จ.สงขลา และ จ.ลำปาง กรมยังได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา(ศูนย์เซรามิก) เป็นศูนย์พิเศษของกรม ส่วนในกรุงเทพตั้งอยู่ที่ พระราม 6 และ กล้วยน้ำไท รวมเป็น 14 ศูนย์ โดยศูนย์ BSC อาจจะไม่มีที่ปรึกษากระจายได้ทุกศูนย์ กรมจึงได้ทำในลักษณะ VDO Conference รวมถึงยังจัดทำ E-Service ต่างๆ อาทิ E-Consult, E-information เป็นต้น โดยจะเก็บไว้ในอินเตอร์เน็ตให้ผู้ประกอบเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลาที่สนใจ โดยจะเปิดตัวในเร็วๆนี้