คุณสุเมธ เลอสุมิตรกุล สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้เปิดเผยในรายการตอบโจทย์ SME ว่า เริ่มแรกของการก่อตั้งสมาคมนั้น เริ่มต้นด้วยการเป็นชมรมเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหน้าที่ของสมาคมคือการให้ความรู้กับสมาชิกที่เข้าไปจดทะเบียนหลักทรัพย์ MAI เรียบร้อยแล้ว และในแต่ละเดือนจะมีการเชื่อมความสัมพันธ์ ข้อแนะนำ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพราะแต่ท่านที่เป็นสมาชิกเริ่มต้นจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัทมหาชน และเป็น CEO ปัจจุบันมีสมาชิก 127 บริษัท
โดยผลดีการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้น คือสามารถสร้างงานให้คนไทยเป็นจำนวนมาก มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มีตราสารเพิ่มมากขึ้น โดยได้แบ่งเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจาก SME ที่สนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งนั่นก็ทำให้พบธุรกิจที่แตกต่าง เช่น โชว์ห่วย คลินิกหมอฟัน โรงเรียนสอนนักบิน เป็นต้น ทั้งนี้ คุณสุเมธยังได้ให้คำแนะนำว่าบริษัทที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้นต้องเปลี่ยน MY SET ตัวเองใหม่ จากการเป็นเถ้าแก่ให้เป็น CEO และมีธรรมมาภิบาล รวมถึงต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ การลงทุนใน SET นั้นต้องใช้เวลาในการพิจารณาหลายเรื่องหลายแง่มุมที่ต้องศึกษาเนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนmai จะสามารถวิเคราะห์ได้ง่ายกว่า ลงทุนง่ายกว่า มูลค่าไม่สูง
ทางด้านคุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai ได้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศมีความเชื่อมโยงกันมาก โดยในประเทศไทยซบเซาติดต่อกันมาหลายปี ซึ่งถือว่าผู้ประกอบการไทยเก่งมากที่ยังสามารถยืนหยัดได้ ส่วนปัจจัยต่างประเทศยังคงมีความเสี่ยงหลายปัจจัย ทั้งในยุโรปที่มีปัญหาสะสมมานาน ทั้งกรีซ และอังกฤษ และอเมริกาในการขึ้นดอกเบี้ยและตลาดในประเทศจีน เป็นต้น ทั้งนี้ ในจำนวน 127 บริษัท สามารถสร้างยอดขายได้120,000 กว่าล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเป็นอย่างดี ที่ทำให้ 127 บริษัททำงานเชื่อมโยงกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ การลงทุนใน Set เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเติบโตก้าวกระโดดยาก แต่ mai สามารถเติบโตก้าวกระโดดได้ ผลตอบแทนได้มากกว่า แต่มีความเสี่ยงกว่าเนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก และได้จัดทำ Company Snapshot โดยให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เขียนคล้ายๆบทวิเคราะห์เองขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนได้วิเคราะห์ต่อเอง โดยได้กำหนดแพลตฟอร์มขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยขณะนี้มีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ 80 บริษัท และจะทำการขยายอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ สำหรับโครงการประชารัฐของภาครัฐและเอกชนที่เป็นรายใหญ่ รายเล็ก ถือว่าเป็นมิติใหม่ของประเทศไทย ซึ่งในมุมที่ตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวข้องคือ การปรับธุรกิจเพื่อสามารถเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ได้ และการสนับสนุนเงินทุนให้ SME และ Start Up คือ venture capital และคลาวน์ฟันดิ้ง ที่เป็นการระดมทุนผ่านใช้เทคโนโลยี ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับ 2 กลุ่มนี้
นอกจากนี้ หากผู้ประกอบการที่ต้องการนำธุรกิจเข้าสู่mai มีหลักเกณฑ์ 2 แบบ คือ เกณฑ์ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาทเป็นต้นไป / มีผลการดำเนินงาน 2 ปีขึ้นไป / มีผลกำไร ส่วนเกณฑ์คุณภาพเหมือนกับตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังได้จัดทำหนังสือ IPO Case Study 10 ราย เพื่อเป็นแนวทาง เทคนิคต่างๆในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์