คุณพิเชฐ ธรรมวิภาค รอง ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยในรายการตอบโจทย์SME ในงาน Smart SME Expo 2016 ว่า ปัจจุบัน ธนาคารออมสินมีโปรดักส์ 4 ตัวเพื่อ SME ไทย 1.สินเชื่อเพื่อกลุ่ม Start Up ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี และต้องจัดตั้งบริษัทไม่เกิน 3ปี วงเงินกู้ ไม่เกิน 10 ล้านบาท ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ดอกเบี้ย2ปีแรก 3.99% และปีที่ 3-10 ดอกเบี้ยจะเป็นไปตามธนาคารกำหนด MLR+ ไม่เกิน 3.5% ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกิจแต่ละประเภท 2.สินเชื่อพัฒนาธุรกิจไทย เพื่อนิติบุคคลที่จดทะเบียน จำนวนกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ดอกเบี้ย 4.99% 3.สินเชื่อSME ดีเวอร์ เหมาะกับธุรกิจทั่วๆไปหรือรายย่อย วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาไม่เกิน 12 ปี ดอกเบี้ย 4.99% ในปีแรก ส่วนปีที่ 2 ขึ้นไป MLR+ 0.25% ตลอดอายุสัญญา และ4.สินเชื่อเพื่อธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล(บัญชีสีขาว) คือธุรกิจนิติบุคคลที่ลงบัญชีเดียวกับกรมสรรพากร วงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี ดอกเบี้ย 4.99% แต่หากยังไม่อยู่ระหว่างการปรับปรุงจะคิดดอกเบี้ย 5.99% ซึ่งสินเชื่อเพื่อกลุ่ม Start Upและสินเชื่อ SME ดีเวอร์ ได้รับความน่าสนใจมากที่สุด
ส่วนประเด็นการขอสินเชื่อของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเหตุใดทำไมขอสินเชื่อยาก นั่นคือ 1.ไม่มีตลาดมารองรับ 2.ระบบบัญชีไม่ชัดเจนและ 3.บริหารจัดการ ซึ่งยังเป็นระบบครอบครัว ดังนั้นต้องทำระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน
คุณมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารมีภารกิจสำคัญคือการพัฒนา SME และร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ และบทบาทที่เน้นมากของธนาคารคือต้องไม่เกิน 15 ล้านบาท และหากกูไม่เกิน 5 ล้านบาทไม่ต้องใช้หลักประกัน สามารถขอให้ บสย.ค้ำประกันได้ และล่าสุดที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติสินเชื่อ 2 กลุ่ม คือ1.กลุ่ม SME Start Up ที่นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ เมาะกับผู้ริเริ่มธุรกิจไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลา 5 ปี ดอกเบี้ย 4% ใน 3 ปีแรก ส่วน 2ปี หลังเป็น MLR และ2.กลุ่มที่ส่งออกไปสู่ AEC และขยายการเติบโตกิจการ ดอกเบี้ย 4% รวมถึงยังมีสินเชื่อบัญชีเดียว หากมีการยื่นตามกำหนดกับกรมสรรพากร ยื่นงบการเงินกับกรมสรรพากร 2ปีขึ้นไป ได้ 5 เท่าของกำไรก่อนภาษี และนำหลักฐานมาขอกู้กับธนาคาร จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน และได้ดอกเบี้ยปีแรก 5% ปลอดเงินต้น 5 เดือน ระยะเวลากู้ 5 ปี สูงสุด 15 ล้านบาท หรือเรียกว่าสินเชื่อ55555 รวมถึงดอกเบี้ย บุคคลธรรมดากับบัญชีเดียวมีความแตกต่างกัน 4.125 เพื่อสนองตอบนโยบายว่าหากทำตามกฎระเบียบของรัฐจะมีต้นทุนที่ถูกลง นอกจากนี้ SME ที่อยู่ในบัญชีดำ ก็สามารถใช้กองทุนพลิกฟื้นธุรกิจได้จาก สสว.ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ท่านได้เสริมถึง พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจที่สามารถใช้ได้กับธุรกิจประเภทรับเหมา จากกรณีสิทธิเรียกร้อง ด้วยการนำเอาเอกสารการรับเหมาและการโอนสิทธิ์ให้ธนาคารนำมาแสดงกับธนาคาร SME Development Bank แต่ต้องมาขอวงเงินไว้ก่อนกับทางธนาคาร
คุณพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า กลุ่มแรกที่ธนาคารสนับสนุนคือ SME ที่พร้อมจะขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ ทั้งการกู้เงินเพื่อการส่งออก และการรับประกันการส่งออก ซึ่งความแตกต่างจากทุกธนาคารคือเรื่องของการรับประกันการส่งออก ในกรณีที่ผู้ซื้อต่างประเทศยังไม่ชำระเงิน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งทางธนาคารได้มีโปรแกรมพิเศษชื่อว่า SME Instant สามารถรับประกันได้ทันที ด้วยวิธีการคือมาสมัครข้อมูล และติดต่อผู้ซื้อว่าเป็นใคร รวมถึงรายการเอกสารของสินค้าและการส่งสินค้าออกไปจริงๆ ทางธนาคารก็จะรับประกันให้วงเงินคือ 1 ล้านบาทต่อรายการในการส่งออก และในครั้งแรกของการส่งออก ธนาคารจะค้ำประกันต่อรายการ 5 แสนบาท ตามมูลค่าที่ส่งออก โดยเสียค่าบริการรับประกันเพียงแค่ 3,000 บาทเท่านั้น รวมถึงยังมีดอกเบี้ย 3.99% สำหรับกิจการที่เติบโตก้าวกระโดดสู่ต่างประเทศจากการทดลองตลาดนั้น ซึ่งหากวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาทไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่ใช้บุคคลค้ำได้ เพียงแค่ต้องมีตลาดที่ชัดเจนให้ธนาคารทราบ นอกจากนั้น หากมีโครงการลงทุนต่างประเทศ ทางธนาคารจะร่วมสนับสนุนวิเคราะห์ตลาดและให้สินเชื่อให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศด้วย