จากเดิมการกู้เงินธนาคารมาทำธุรกิจต้องใช้บ้านหรือที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่วันนี้มีกฎหมายฉบับใหม่เปิดช่องให้การขอสินเชื่อง่ายขึ้น และใครบ้างได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 4 ก.ค. 59 ถือเป็นวันแรกของการบังคับใช้ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 อย่างเป็นทางการ และถือเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของธุรกิจไทยที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาใช้ในการต่อยอดธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยคาดว่าในปีนี้จะมีสถาบันการเงินทยอยนำผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) และกลุ่มธุรกิจ Startup เข้ามาสู่ระบบการจดทะเบียนกว่า 3 แสนราย ซึ่งจะทำให้ SMEs และ Startup มีเงินทุนไปใช้เพื่อขยายธุรกิจ
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบมากขึ้น เพราะมีทางเลือกสำหรับการนำหลักประกันที่จะมาใช้ค้ำประกันสินเชื่อกับธนาคาร ซึ่ง SMEs ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากกฎหมายฉบับนี้มี 2 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ (Startup) โดยส่วนใหญ่จะไม่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะนำมาใช้เป็นหลักประกัน และกลุ่มผู้ประกอบการที่กำลังจะขยายธุรกิจ ที่มักจะประสบปัญหาหลักประกันที่มีอยู่ไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อเพิ่ม
M70-201 >> PCM >> MB2-704 >> EX0-117 >> 9A0-142 >> 500-260 >> EX200 >> 9L0-521 >> 70-470 >> 070-342 >> CCA-500 >> A00-260 >> 412-79 >> EX0-112 >> 70-463 >> OG0-092 >> CQE >> OMG-OCUP-100 >> 070-346 >> C_TSCM42_65 >> N10-006 >> A00-240 >> GPEN >> 640-916 >> MB6-869 >> C9510-317 >> 70-243 >> M2090-744 >> ITILF2011 >> 101-400 >> 1Z1-535 >> 1Z0-457 >> 700-270 >> 820-422 >> JN0-360 >> C2090-311 >> A00-211 >> C9560-505 >> 210-260 >> C_TBIT44_73 >> 070-412 >> C2180-401 >> 1Z0-511 640-911 9L0-066 BH0-006 ADM-211 642-887 70-347 GD0-110 2V0-620 1Z0-117
สำหรับทรัพย์สินที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกัน เช่น กิจการ สิทธิเรียกร้อง สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่สถาบันการเงินสามารถขยายการให้สินเชื่อแก่ SMEs และกลุ่ม Startup ได้มากขึ้นในต้นทุนที่ต่ำลง เพราะลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากกฎหมายมีรูปแบบการดำเนินงานที่รวดเร็วเป็นธรรม
นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังได้สร้างให้เกิดอาชีพใหม่ในวงการธุรกิจไทย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีผู้บังคับหลักประกันมาจากคนที่ทำอาชีพและมีความรู้ความชำนาญด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐกิจศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สิน โดยผู้บังคับหลักประกันจะเข้ามาทำหน้าที่กรณีนำกิจการมาเป็นหลักประกัน ซึ่งขณะนี้ได้อบรมไปแล้ว 2 รุ่นๆ ละ 100 ราย
ในส่วนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เตรียมความพร้อมรองรับการบังคับใช้กฎหมาย โดยได้ปรับโครงสร้างมีองค์กรที่ดูแลโดยเฉพาะ มีการออกกฎหมายลำดับรอง 13 ฉบับ เพื่อรองรับการปฏิบัติงาน เช่น กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนและให้ประชาชนตรวจดูข้อมูล และยังได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการจดทะเบียนออนไลน์ ซึ่งสถาบันการเงินสามารถยื่นจดทะเบียนหลักประกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา : Thaiquote