เกาะกระแส Super Tuesday ก่อนโค้งสุดท้ายผู้เข้าชิงเก้าอี้ทำเนียบขาว


ใกล้เข้ามาเต็มทีกับการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาที่ทั่วโลกต่างจับตามอง สำหรับระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ มีความซับซ้อน แม้แต่ชาวอเมริกันบางรายยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ได้กำหนดผู้มีคุณสมบัติในการสมัครเข้าชิงประธานาธิบดีไว้ว่า ต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป สัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ไม่น้อยกว่า 14  ปี และไม่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย

ในสหรัฐฯ นั้น จะมีการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวแทนพรรคก่อนลงเลือกตั้ง 3 วิธี โดยจะใช้รูปแบบใดก็ได้ในรูปแบบนี้ ประกอบด้วย

  1. การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ (Primary)
  2. การประชุมย่อยของสมาชิกพรรคแต่ละระดับ เพื่อเสนอความคิดเห็น (Caucus)
  3. การประชุมใหญ่ของพรรในแต่มลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงที่สุดเป็นตัวแทน (State – Covention)

จากนั้นเมื่อได้ตัวแทน (Delegates) จะเป็นการเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) เมื่อเหลือตัวแทนใน 1 คนต่อพรรค แต่ถ้าหากว่าในพรรคสามารถผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า First Ballot Victory

Super Tuesday

 รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ยังระบุอีกว่า การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกำหนดให้วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของปีมีการเลือกตั้ง เท่ากับว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้จะตรงกับวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559 (ไม่ใช่วันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน แต่ต้องเป็นวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน)

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป มีสัญชาติอเมริกัน และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ โดยทางสหรัฐฯ ม่มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้โดยอัตโนมัติแบบบ้านเรา ดังนั้น ประชาชนจะต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง โดยจะลงทะเบียนในพื้นที่ที่ตนพำนักอยู่ หากย้ายที่อยู่ใหม่ต้องลงทะเบียนใหม่

นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Popular vote กับ Electoral vote โดยประชาชนจะทำการเลือกผู้แทนของประชาชน (Popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (Electoral vote) อีกขั้นตอน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ จะเป็นในลักษณะโดยอ้อม ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ Electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตน ที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐฯ

แต่ละพรรคจะเสนอชื่อผู้แทนมาเท่ากับจำนวน Electoral vote ของแต่ละรัฐ เช่นรัฐเพนซิลวาเนีย มี Electoral vote 21 เสียง เดโมแครตต้องแต่งตั้งผู้แทนของตนมา 21 คน ส่วนรีพับลิก็แต่งตั้งมาอีก 21 คน จากนั้นให้คนในรัฐนั้นลงคะแนน สมมติเดโมแครตชนะ Popular vote ผู้แทนของเดโมแครตทั้ง 21 คนจึงเป็นตัวแทนของรัฐ กติกาที่ว่าหากผู้ชนะได้ไปทั้งหมดเรียกว่า winner-take-all

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา จุดพีคที่สุดจึงอยู่ในมลรัฐที่มีจำนวนผู้แทนการเลือกตั้งมาก จนกลายเป็นเป้าหมายการหาเสียงที่สำคัญที่สุดช่วง โดยเฉพาะการลุ้นในโค้งสุดท้ายของ Electoral vote ซึ่งคนที่ชนะ Popular vote ก็อาจไม่ได้เป็นประธานาธิบดีมาแล้วก็มีเช่นกันในอดีต

By : กุลจิรา มุทขอนแก่น