สถิติแรงงานนอกระบบในประเทศไทย


ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ AEC แต่ก็ยังมีเรื่องแรงงานนอกระบบในปีที่ผ่านนั้นมากกว่าแรงงานที่ถูกระบบถึง 55.9 %จากจำนวนผู้มีงานทำ 38.3 ล้านคน ซึ่งแรงงานนอกระบบเหล่านี้ไม่ได้การรับการขึ้นทะเบียนรวมทั้งไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันสังคมจากการทำงาน โดยมีข้อสรุปดังต่อไปนี้

ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 38.3 ล้านคน โดยเป็นแรงงานนอกระบบถึง 21.4 ล้านคน หรือร้อยละ 55.9 % ซึ่งหาจำแนกตามเพศสภาพแล้ว พบว่าแรงงานนอกระบบมีเพศชายมีมากกว่าแรงงานหญิงถึง 54% โดยแรงงานนอกระบบจะการจายตัวอยู่ทั่วประเทศของไทยแต่จะทำงานมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 35%  เมื่อเทียบกับภาคกลางที่น้อยกว่าที่ 22.8%

สำหรับอาชีพที่ได้รับจ้างนั้นคือ แรงงานในภาคเกษตรกรรมที่มีมากถึง 56% และปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบจากแรงงานนอกคือการได้รับค่าตอบแทนต่ำ แต่ใช้แรงงานหนัก ถึงจะมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นแต่อัตราการเข้ามาทำงานแบบผิดกฎหมายในบ้านเราก็ไม่มีทีท่าจะลดลง เพราะว่าประเทศไทยเป็นแหล่งทำมาหากินที่ดี อุดมสมบูรณ์ หากว่าทำงานเก็บเงินก็สามารถนำเงินที่ได้กลับไปตั้งตัวที่ประเทศบ้านเกิดได้อย่างสบาย

ปัญหาแรงงานระบบในปัจจุบันนั้นยังไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง เพราะหากยังมีช่องทางในการเดินทางมา แรงงานเหล่านี้ก็จะยังลักลอบเข้ามาทำงานเช่นเดิม รวมทั้งมีนายจ้างที่เห็นแก่การจ่ายค่าแรงถูก จึงเกิดปัญหาการจ้างงานแบบไม่ถูกกฎหมายขึ้น การจะลดปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าของกิจการที่ต้องช่วยกันทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่เอารัดเอาเปรียบ หากต้องการแรงงานมาทำงานในธุรกิจ ควรจะนำแรงงานมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องเพื่อความสะใจและดำเนินธุรกิจต่อไปโดยไม่ต้องระแวดระวังในเรื่องผิดกฎหมายอีกต่อไป

By : ณัทธร ศุภสารัมภ์

อ้างอิง สำนักงานสถิติแห่งชาติ