ธปท.กระตุ้น ธนาคารสังเกต-อายัดเงินก่อการร้าย
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียน เพื่อให้ธนาคารของรัฐรองรับมาตรฐานบัญชีเดียว พร้อมกับแยกบัญชีโครงการรัฐ รวมทั้งขอความร่วมมือในการอายัดเงินทุนต้องสงสัยว่า จะมาจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย
นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือ แบงก์รัฐทุกแห่ง ให้เตรียมความพร้อม ทั้งในด้านนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และระบบงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาล ในเรื่องการส่งเสริมบัญชีเล่มเดียว รวมท้งการยกเว้น และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาไป เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559
โดยในราชกิจจาฯ ได้ระบุให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับดูแลให้สถาบันการเงินในการใช้บัญชีเดียว และงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากร ในการยื่นภาษีเงินได้ เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงิน และขออนุมัติสิน เชื่อกับสถาบันการเงินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
ดังนั้น ธนาคารรัฐจึงต้องแยกบัญชีโครงการของรัฐ // ออกมาให้ชัดเจนตามโครงการต่างๆ ของรัฐ // หรือตามนโยบายรัฐ // หรือเป็นโครงการที่ธนาคารรัฐนั้นๆ พิจารณาปล่อยกู้เอง // โดยต้องแยกออกจากกันให้โปร่งใส จากเดิมที่เป็นเพียงการขอความร่วมมือด้วยปากเปล่า
อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ จะช่วยให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น พร้อมๆ กับจะสามารถรับรู้วงเงินความเสียหายที่แบงก์รัฐจะได้รับ // จากการดำเนินโครงการในลักษณะที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาล // ซึ่งก็จะทำให้การจ่ายเงินชดเชยจากรัฐไปยังธนาคารนั้นๆ ชัดเจนขึ้นว่า รัฐจะต้องจ่ายชดเชยในจำนวนเท่าใด
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังได้ออกหนังสือถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่ง // ให้ความร่วมมือดำเนินการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายที่ 2253 ค.ศ. 2015 และ 2255 ค.ศ. 2015 ที่เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องจากความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย อันเป็นผลมาจากผลการก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ จะช่วยให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น พร้อมๆ กับจะสามารถรับรู้วงเงินความเสียหายที่แบงก์รัฐจะได้รับ // จากการดำเนินโครงการในลักษณะที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาล // ซึ่งก็จะทำให้การจ่ายเงินชดเชยจากรัฐไปยังธนาคารนั้นๆ ชัดเจนขึ้นว่า รัฐจะต้องจ่ายชดเชยในจำนวนเท่าใด
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังได้ออกหนังสือถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่ง // ให้ความร่วมมือดำเนินการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายที่ 2253 ค.ศ. 2015 และ 2255 ค.ศ. 2015 ที่เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องจากความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย อันเป็นผลมาจากผลการก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา
และการที่ประเทศไทย เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ จึงต้องดำเนินการตามมติสหประชาชาติ โดยเฉพาะการอายัดทรัพย์สิน // ทุน // เงินทุน และทรัพยากรทางเศรษฐกิจของบุคคล คณะบุคคล การดำเนินการและองค์ภาวะต่างๆ รวมถึงทรัพยากรทางการเงินที่ได้มาจากทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การครอบครองและควบคุม ทั้งทางตรงและทางอ้อมของบุคคลเหล่านี้
รวมทั้งของบุคคลที่ดำเนินการแทน หรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการอายัดในทันที ไม่ว่า ทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของบุคคลคนร่วมสัญชาติ หรือบุคคลภายในอาณาเขตของรัฐสมาชิก และประเทศไทย ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงต้องแจ้งย้ำให้สถาบันการเงิน ให้ความร่วมมือดำเนินการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด