จากผลไม้ธรรมดาๆ สู่การแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้หลายเท่าตัว


ไขเคล็ดลับความสำเร็จ บริษัท กรีนเดย์ โกลบอล จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผักผลไม้แปรรูปเพื่อสุขภาพ ที่นำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต คือการทอดในสูญญากาศ และการทำแห้งเยือกแข็ง ทำให้สินค้ามีความกรอบ ไม่อมน้ำมัน อีกทั้งยังไม่มีสารเติมแต่งหรือสารกันบูดใด ๆ จึงเป็นอาหารว่างสำหรับผู้รักสุขภาพอย่างแท้จริง และยังเป็นสินค้าที่ทำรายได้ส่งออกไปจำหน่าย 30 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย

ประวัติการทำธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนประสบความสำเร็จ

หลังจากจบวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหาร เริ่มต้นจากมาต่อยอดธุรกิจที่บ้าน โดยเริ่มจาก Vacuum Frying โดยช่วง 2 ปีแรก มีปัญหาในกระบวนการผลิต เทคนิคในการผลิตมากมาย แปรรูปแล้วยังไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร และสินค้ายังไม่มี package ที่ดีพอ concept สินค้ายังไม่ชัดเจนมีคู่แข่งหลักๆจากเวียดนามที่มีต้นทุนถูกกว่าเกินครึ่งจึงปรับ concept สินค้าและกระบวนการผลิตใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนมาใช้น้ำมันรำข้าว ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปอีก แต่เราเน้นจับตลาดที่ชัดเจนขึ้น มีกำลังซื้อและปรับ package ให้ดู premium มากขึ้น ขายราคาได้สูงขึ้น ตั้งแต่นั้นมายอดขายก็เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาและอุปสรรคที่ต้องเจอมีเกือบทุกวัน แต่มีแนวคิดที่ว่าธุรกิจจะโตได้ต้อง focus กับโอกาสมากกว่าการ focus ที่ปัญหา Focus ที่จุดแข็ง มากกว่าจุดอ่อน แต่ต้องดูว่าปัญหาหรือจุดอ่อนอันไหนที่เป็นอุปสรรคในการเติบโตหรือทำให้องค์กรไปต่อไม่ได้ และแก้ไขปัญหานั้นๆไป และสร้าง mindset ในการแก้ไขปัญหาเป็นทีมเเละสร้าง Culture ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางบริษัทเเละไอเดียในการจัดการกับโอกาสเเละอุปสรรค เน้นการเเก้ไขปัญหาให้กับลูกค้ามากกว่า ปัญหาของลูกค้าคือโอกาสของเรา เเต่ปัญหาของเราไม่ใช่โอกาสของเรา

เคล็ดลับของธุรกิจที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

  1. สร้างธุรกิจจากฐานพีระมิดคือ คุณภาพของสินค้าและบริการ ก่อนที่จะไปเน้นเรื่องการตลาด
  2. สร้างองค์กรไม่ใช่สร้าง brand เพราะองค์กรที่แข็งแรง model ธุรกิจที่ดีก็จะสร้าง brand ในระยะยาวได้เอง
  3. ไม่ทำสินค้าซ้ำใคร แต่มองช่องว่างทางการตลาดแล้วพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ ลูกค้าต้องการ แต่ยังไม่ค่อยมีคนทำ
  4. สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร สร้างธุรกิจที่คนเลียนแบบได้ยาก
  5. เน้นพัฒนาทีมงาน เพราะองค์กรจะโตไม่ได้จากคนเดียว
  6. เน้น TBD (Technology, Business Model, Design) ต้องพัฒนาควบคู่ไปทุกข้อ