แนะอุตฯอาหาร 4.0 ต้องใช้ดิจิทัลเชื่อมโยง


แนะอุตฯอาหาร 4.0 ต้องใช้ดิจิทัลเชื่อมโยง

นักวิชาการ แนะนำผู้ประกอบการเตรียมพร้อมรับมืออุตสาหกรรม 4.0 โดยต้องทำความเข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงเทคโนโลยีดิจิทัล แบบเรียลไทม์ เพื่อรองรับระบบการผลิตในอนาคต

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถาบันฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะ เพื่ออุตสาหกรรมอาหารปี 2559 ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ ตามแผน อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อช่วยยกระดับผลิตผลคุณภาพ ให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนาอุตสาหกรรมเข้าสู่ 4.0 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ราว 3-5%  ขณะที่ต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรจะลดลง 10-40%  // การพยากรณ์การผลิตมีความแม่นยำมากขึ้นกว่า 85%  // ระยะเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเร็วขึ้น 20-50%  // ต้นทุนในการถือครองสต็อคสินค้า  ลดลง 20-50%  // ประสิทธิภาพแรงงานทักษะเพิ่มขึ้น 45-55%  // อัตราการหยุดทำงานของเครื่องจักรลดลง 30-50%  // และต้นทุนในการประกันคุณภาพลดลง 10-20%

ทางด้าน ดร.กมลพรรณ แสงมหาชัย ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการพลังงานและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ก็คือ การทำให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัล หรือแม้กระทั่งทำให้ตัวสินค้าเอง // ขับเคลื่อน เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัล ในรูปแบบ “Internet of Things”  โดยคาดกันว่า ในปี 2568  // Internet of Things ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมทุกประเภททั่วโลก จะมีมูลค่าสูงถึง 1.2 – 3.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  โดย 60% จะอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และอีก 40% จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

ส่วนในอาเซียนจะมีการนำ Internet of things และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อ ซึ่งจะสามารถทำกำไรให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ราว 2.5 – 4.5 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากสามารถนำข้อมูลที่เป็นความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าแบบเรียลไทม์มาวิเคราะห์ และวางแผนการผลิตให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม การจะนำอุตสาหกรรมอาหารของไทยเข้าสู่ยุค 4.0 นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ  ขณะที่โรงงานก็ต้องมีพลังงานไฟฟ้าสำรองอย่างเพียงพอ เพราะหากมีปัญหาไฟฟ้ากระตุก หรือดับ ก็จะกลายเป็นอุปสรรคทันที

นอกจากนี้ ยังต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะไอซีที และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง // ให้ครอบคลุม เพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  // โรงงานต้องมีการจัดการศูนย์ข้อมูล ประมวลผล // วิเคราะห์ // และมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการออกแบบโรงงาน // การใช้เครื่องจักร // และระบบการผลิตต่อไป