รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
วิธีออมเงินนั้นก็มีมากมายหลายแบบ แต่ขึ้นอยู่กับเราว่าจะรู้จักนำไปปรับใช้ให้เข้ากับการเงินได้อย่างไร ดังนั้นเรามีวิธีดีๆ มาฝากกัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถเก็บเงินได้มากขึ้น ออมเงินอย่างเห็นผล และมีเงินเพิ่มพูนมากขึ้น ดังต่อไปนี้
1. บวกเงินเพิ่มเป็น 10 % ไม่ว่าเราจะซื้อหรือจ่ายอะไรมาให้เราบวกเพิ่มไปอีก 10 % ของสิ่งที่เราซื้อหรือจ่ายไป ไม่ว่าจะมีราคาเท่าไหร่ก็ตาม จากนั้นก็นำเงินส่วนนั้นมาเก็บออมเอาไว้ เช่น หากเราซื้อของใช้ภายในบ้านในราคา 1000 บาท ก็ให้เราบวกเพิ่มไปอีก 100 บาท ก็จะรวมค่าของใช้ภายในบ้านทั้งสิ้น 1100 บาท จากนั้นก็นำเงิน 100 บาทไปเก็บออมไว้ โดยไม่ต้องนำออกมาใช้เพื่อที่จะได้มีเงินเหลือเก็บในยามที่เดือดร้อน วิธีนี้จะเป็นการเตือนตัวเองไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. ลบลงเป็น 10 % วิธีการลบ 10 % ก็คือเมื่อเรามีรายรับเข้ามา ให้เราหักออก 10 % ไม่ว่าจะเป็นเงินที่เข้ามาด้วยสาเหตุใดก็ตาม จากนั้น ก็นำเงินส่วนนั้นไปเก็บไว้ในบัญชีและไม่ต้องนำออกมาใช้อีก เช่นคุณขายของได้กำไรมา 500 บาท จากนั้นเราก็หักเอาไว้ 50 บาท อาจจะหยอดกระปุกออมสินที่เราไม่ได้ใช้เก็บไว้ เมื่อทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เราก็จะมีเงินเก็บได้มากทีเดียว ให้คิดซะว่าเงินส่วนนี้ เก็บไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า
3. เก็บให้เท่ากันเป็นประจำทุกวัน เริ่มแรก เราต้องคิดว่าเราจะใช้เงินวันล่ะเท่าไร ซึ่งเราอาจจะเอาจำนวนรายรับของเราที่ตัดเอาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ออกไปจากนั้นก็คิดหารดูว่าวันหนึ่งเราใช้เงินเท่าไหร่ แล้วคิดเอาไว้ว่า
เราจะเก็บเงินเท่าไรดี เช่น หากเรามีรายได้เดือนละ 15000 บาท จากนั้นก็นำไปหาร 300 ก็จะได้ 50 นั่นเอง ก็หมายความว่าเดือนหนึ่งเราควรเก็บเงินได้วันละประมาณ 50 บาทนั่นเอง หากเราทำแบบนี้เป็นประจำทุกวันและทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เรามีเงินออมที่เพิ่มพูนมากขึ้น และมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยที่ไม่ต้องเดือดร้อนลูกหลานในอนาคตข้างหน้า