“ธุรกิจขนส่ง” กับหนทางการค้าอีกยาวไกล


ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า เป็นธุรกิจที่ให้บริการดำเนินการขนส่ง โดยมีการแบ่งตามลักษณะสินค้าที่ทำการขนส่งไม่ว่าจะเป็น การขนส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม วัตถุอันตราย สินค้าเฉพาะ ซึ่งมีการครอบคลุมให้บริการขนส่งไปตามจุดหมายปลายทางต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากบริการหลักที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีบริการเสริมสำหรับธุรกิจประเภทนี้อีก คือ การบริการด้านบรรจุภัณฑ์,บริการด้านคลังสินค้า,บริการให้คำปรึกษาด้านการขนส่ง และบริการดำเนินพิธีการศุลกากร(ในกรณีขนส่งสินค้าข้ามแดน)

จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2558 แบ่งตามพื้นที่ มีจำนวนนิติบุคคล จำนวน 10,619 ราย และมีทุนจดทะเบียนจำนวน 101,150 ล้านบาท โดยนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด คิดเป็นร้อยละ 99 ของจำนวนนิติบุคคลทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 96 ขอมูลค่าทุนจดทะเบียนทั้งหมด

อีกทั้ง ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร มีจำนวนนิติบุคคลจัดตั้ง 101 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากเดือนเดียวกันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร ส่วนใหญ่ คือ SMEs ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99 ของผู้ประกอบการทั้งหมด และเมื่อพิจารณาจากรายได้ พบว่า SMEs มีสัดส่วนร้อยละ 76 ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่สัดส่วนรายได้ร้อยละ 24 เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงเมื่อเปรียบเทียบถึงศักยภาพในการทำกำไรพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะมีอัตรากำไรสุทธิที่สุงกว่าธุรกิจ SMEs ซึ่งแนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีความผันผวน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 เดือน ของปี 2558 (เมษายน – สิงหาคม) พบว่าจำนวนการจัดตั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ หากมองในเรื่องทำเลที่ตั้ง พบว่า ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร มีพื้นที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 62 ของจำนวนนิติบุคคลทั้งหมด  และคิดเป็นร้อยละ 76 ของมูลค่าทุนจดทะเบียนทั้งหมด

มุมมองผู้ประกอบการโลจิสติกส์

คุณชวลิต สุวิทย์ศักดานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทนิ่มซี่เส็ง ขนส่ง 1988 จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจขนส่งและขนถ่านสินค้าอยู่ในสถานะที่ดี มีการเติบโตเรื่อยมา เป็นไปในทิศทางที่ดีมาตลอด การขนถ่ายสินค้ามีมูลค่าเป็นพันล้านต่อปี แต่ถ้ารวมด้านเอ็กเพรสและบริการอื่นๆทั่วประเทศ มีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท หลักการง่ายๆสำหรับธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้าที่ไหนมีคน มีเศรษฐกิจที่ คนก็ต้องกินต้องใช้ เมื่อมีการต้องกินต้องใช้ ก็ต้องมีการขนส่ง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงในแต่ละส่วนเป็นทอดๆตามกันมา ซึ่งเส้นทางการขนถ่ายสินค้าจะขยายไปตามสถานที่ แหล่งเศรษฐกิจเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ไม่ส่งผลกระทบกับธุรกิจขนส่งสินค้า เนื่องจากมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น ลาซาดา ส่วนใหญ่จะให้บริการขายสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ แต่ธุรกิจขนส่งสินค้า จะขนส่งสินค้าเกี่ยวกับการเกษตรตามฤดูกาลปลูกเป็นส่วนใหญ่ เช่น ข้าวโพด ลำไย เป็นต้น และมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรากหญ้าทั้งหมด

คุณชวลิต กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการต้องมีการบริการ รวมทั้งระบบต่างๆว่าตรงใจกับลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะดูจากการจัดการในการขนส่งสินค้า มีระบบโลจิสติกส์ที่ดี คอยสนับสนุน และสามารถตรวจสอบสถานการณ์เดินทาของสินค้าได้ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าให้หันมาใช้บริการ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคตนมองว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการขนส่งและขนถ่ายสินค้า มีความต้องการในการลดต้นทุนค่าขนส่ง อีกทั้งมีความคุ้มค่าในการขนส่งสินค้าในแต่ละครั้ง

ทั้งนี้ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตขึ้นตามมูลค่าการส่งออกและการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบด้านการเข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคโดยตรง ซึ่งเป็นตัวเร่งทำให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้น โดยในปี 2558 คาดว่าผู้ประกอบการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจในช่วงต้นปีจะประสบปัญหา แต่ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

By : อนิรุทธิ์ จารึกธรรม