ลักษณะของพนักงาน โดยทั่วไป ก็อาจจะแบ่ง เป็น 4 ประเภท ดังนี้
- หัวไว ใจสู้
- รอดู ท่าที
- เบิ่งตา ลังเล
- หันเห หัวดื้อ
ประเภท ที่ 1 หัวไว ใจสู้
มีรูปแบบ การเรียนรู้ โดยทั่วไป จาก 3 ลักษณะ คือ
- การเรียนรู้ จากสถาบันการศึกษา (Study)
- การเรียนรู้ จากผู้อื่น (Listen)
- การเรียนรู้ ด้วยตนเอง (Learn)
การเรียนรู้ ด้วยตนเอง (บัณฑิต = ผู้มีปัญญา) ส่วนมาก ได้มาจาก
การอ่าน, การฟัง, การสังเกต, การถาม, การคิด และ การลงมือทำงาน “จริง”
เริ่มต้น จาก
- การได้ยิน ได้ฟัง = ข่าว (News)
- News + เพิ่ม การตรวจสอบ ข้อเท็จจริง (Fact) -> จะได้เป็น ข้อมูล (Data)
- Data + เพิ่ม การจัดการ (Organize), การจัดแบ่ง ประเภท (Classify), การจัดแบ่ง หมวดหมู่ (Grouping), การจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล (Relation) -> จะได้เป็น แนวโน้ม (Trend), อัตราการเติบโต (Growth ), ข่าวสาร (Information) ในการจัดทำ รายงาน (Report) หรือ การตั้งสมมุติฐาน (Assumption)
- Information + เพิ่ม การวิเคราะห์ (Analyze) เชิงลึก (Insight) เพื่อหาสาเหตุ (Cause), รูปแบบ (Pattern), -> จะได้เป็น ทางเลือก (Alternative) ในการแก้ปัญหา หรือ ความรู้ (Knowledge) ในการจัดทำ แผนงาน หรือ ข้อเสนอ (Proposal, Recommendation) เพื่อหาคำตอบ ให้กับปัญหา (Answer Question, Output)
- Knowledge + การลงมือปฏิบัติจริง (Implement), ประสานงาน กับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง (Integrated), สร้างคุณค่าใหม่ (Synergy) -> จะได้เป็น องค์ความรู้ (Holistic Learning), ภูมิปัญญา (Wisdom) ในการสร้างคุณค่าใหม่ (Value) ยอดขาย (Benefit) และกำไร (Result)
ความแตกต่าง ระหว่าง รายงาน (Report) – แผนงาน (Recommendation) – กำไร (Result)
Report คือ การรายงาน ว่า พบปัญหา (Question) อะไร แล้ว … (จบ)… เดือนหน้า จะมา รายงานใหม่ (อีกครั้ง)
Recommendation คือ แผนงาน หรือ ข้อเสนอ (Proposal) เพื่อ แก้ปัญหา … ขออนุมัติ งบประมาณ เดือนหน้า จะมา บอกว่า ถูก หรือไม่
Result คือ ผลลัพธ์ที่อยากได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Solution) … เดือนหน้า จะมา บอกว่า ผล เป็นที่น่าพอใจ หรือไม่ และ แผนงานขั้นต่อไป ที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นอย่างไร
โดยใช้ เครื่องมือ (5G = 5 จริง)
หลักการ การแก้ปัญหา ขั้นต้น ของญี่ปุ่น
- Genba = สถานที่ จริง เพราะ ข้อมูล ที่จำเป็น ล้วน อยู่ที่หน้างาน
- Genbutsu = งาน จริง มีถึง 6 มิติ ที่สามารถ ตรวจสอบได้
- Genjitsu = สถานการณ์ จริง เพราะ บางปัญหา เกิดขึ้นเพียง เสี้ยว วินาที เท่านั้น
- Genri = ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จริง เพราะ อาศัย การทดลอง เพื่อพิสูจน์ว่า หลักทฤษฏี ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- Gensoku = เงื่อนไขประกอบ จริง ไม่ใช่ คิด วิเคราะห์ เห็น ความสัมพันธ์ เพียงปัจจัยเดียว
By : มนต์ชัย