พงศ์พีระ ชวาลาธวัช
ส่วนตัวของผมเองเคยผ่านประสบการณ์ทำงานทั้งข้างในองค์กรและทำงานร่วมกับองค์กรข้ามชาติ องค์กรใหญ่ จนไปถึง SME และ Startup วันนี้เลยอยากมาเล่าให้ฟังว่าจังหวะในการทำงานในองค์กรต่าง ๆ ที่ผมพูดมานั้นจะว่าเหมือนก็เหมือนกัน จะว่าต่างก็ต่างกันครับ องค์ประกอบมันเยอะ คงตีกรอบไม่ได้ว่า ใหญ่ดีกว่าหรือเล็กดีกว่า เพราะองค์กรเล็กบางองค์กรกลับมีความ Dynamic ที่สูงกว่าองค์กรใหญ่ที่อาจจะเคลื่อนไหวช้า แต่ก็มีองค์ใหญ่บางองค์กรที่เคลื่อนไหวเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ถ้าพูดถึงเรื่ององค์ประกอบด้านการเจริญเติบโตอย่างเร็วในระดับ 30% – 200% ต่อปี เนี่ยครับ เราคงต้องยกให้กับ Startup เพราะมันเป็นเรื่องที่โดดเด่นมากของ Startup เขาที่องค์กรใหญ่ ๆ สามารถเรียนรู้และเอาไปปรับใช้ในองค์กรได้ ซึ่งเรื่องของความเร็วในการพัฒนาบริษัทเนี่ยแหละครับที่เราจะมาคุยกันวันนี้ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้ Startup พัฒนาองค์กรได้เร็วแบบนี้
- Lean Startup Concept
ถ้าพูดถึง Lean Startup เราก็คงจะพูดถึง Steve Blank และ Eric Ries ผู้ซึ่งน่าจะพูดเรื่อง LEAN Startup ได้หนาหูมากที่สุด ซึ่ง Lean Startup นั้นคือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อที่จะหาองค์ความรู้ในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แผนธุรกิจ, โมเดลธุรกิจ, พัฒนาสินค้า, พัฒนากระบวนการการทำงาน, หรือแม้แต่กระทั่งพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กร
ในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาที่เรียกว่า LEAN นั้นประกอบไปด้วยการ Validate และค้นหาปัญหาและความไม่มีประสิทธิภาพของตัวตลาด เมื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงของตลาด ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการสร้างสินค้า,กระบวนการหรือบริการนั้น ๆ ออกมาให้ ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเรามาใช้ จากนั้นก็วัดความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการนั้น ๆ จากนั้น Startup จะเรียนรู้กับมันอย่างเป็นระบบ มีการจดข้อเรียนรู้มาเพื่อนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการปล่อยให้เรื่องนั้นเกิดอาการที่เรียกว่า “เตะถ่วง” ซึ่งแน่นอนครับว่ามันถ่วงความเจริญขององค์กรจริง ๆ เชื่อไหมครับว่า
- Startup Fast Iteration
Startup เราจะไม่ชิลไปกับสิ่งที่เราล้มเหลวน่ะครับ ถึงแม้เราทำดีอยู่แล้ว เราก็ยังไม่ชิลเพราะเรารู้ว่าความมั่นคงนั้นบางครั้งก็เป็นความเสี่ยงในการเจริญเติบโตขององค์กร Startup ตัวอย่างในการทำ Fast Iteration นั้นเช่น Angry Birds ไงครับที่เล่น ๆ กัน ทราบไหมครับว่ากว่าจะมาเป็น Angry Birds นั้นผู้พัฒนานั้นทำแล้วล้มเหลวกันมาถึง 51 ครั้งกว่าจะมีทุกวันนี้ แน่นอนครับว่าโดนแล้วก็โดนเลยและดังเร็วด้วยนั้นก็เพราะการทำ Fast Iteration นั้นเอง ล้มแล้วรีบลุกปลุกหัวใจพัฒนาต่อให้เร็ว และเรียนรู้ไปกับมัน
- Startup Sharing Economy
ตัวอย่างที่ง่ายกับผู้เขียนและ เข้าใจง่ายสำหรับผู้อ่านคือ Uber นั้นเองครับ นั้นคือ Sharing Economy concept นั้นเอง Uber เป็นบริษัทที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรที่เป็นรถหรอกครับ แต่เค้าให้คนทั่วไปที่มีรถเข้ามาเสนอบริการในระบบของ Uber โดย Uber เป็นเสมือนผู้ให้โฆษณาและสร้างระบบให้ยั่งยืนและเติบโตเร็วไปด้วยกันกับผู้บริการการขับรถโดยสาร ซึ่งทำให้ Uber เติบโตเร็วมากเพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนในทรัพย์สินเช่น รถยนต์ แต่ใช้วิธีหยิบยืมสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมอยู่แล้ว นำมาทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากประสิทธิภาพนี้ก็ทำให้ Startup นั้นเติบโตเร็วตามไปด้วย
3 ข้อนี้น่าจะเป็นข้อใหญ่ ๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นจิตวิญญาณของ Startup ที่ทำให้ Startup นั้นสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดีและทำให้องค์กรนั้นก้าวกระโดดได้มากขึ้น แต่ในรายละเอียดระดับลงมือทำนั้นยังมีรายละเอียดที่ต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนในองค์กรพอสมควรเลยยังไงก็มาลองทักทายทางเพจ Thai Startup Cafe ผมกันได้น่ะครับ
www.facebook.com/thaistartupcafe
www.thaistartupcafe.com