#amazonbeatstarbucks ตอน 2 : การเดินทางของกาแฟอเมซอน


 

S__9175148

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

 

 

 

 

 

 

ณ สถาบันฝึกอบรมธุรกิจน้ำมันของ ปตท. ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 22-23 กันยายน 2559

เรื่องราวต่อจากตอนที่ 1 แคมเปญการตลาดกาแฟดุเดือด #amazonbeatstarbucks Amazon โค่น Starbucks ตอนที่ 1 http://www.smartsme.tv/content/49408

ที่ผมได้พูดถึง โอกาสที่ผมได้รับเชิญจาก ปตท.และบริษัทในเครือไปบรรยายโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์ และสอนทำคลิปจากสมาร์ทโฟนขึ้นไปบนยูทูป โดยมีโจทย์และเป้าหมายของการฝึกอบรมในครั้งนี้ ด้วยการพาไปชมโรงงานคั่วกาแฟ Amazon ที่เพิ่งเปิดขึ้นใหม่ อยู่ด้านหน้าของสถานที่ฝึกอบรมไปนิดเดียวเท่านั้น

กาแฟ Amazon สัญชาติไทย ก่อตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546 ชื่อ Amazon ก็มาจากบราซิลที่เป็นแหล่งกำเนิดกาแฟชั้นดีระดับโลก แต่มาแปลงเป็นแบบกาแฟโบราณสไตล์ไทยทานกับนมข้นหวาน เมื่อ ปี พ.ศ.2558 ยอดขายเฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 240 แก้วต่อวัน มีเรื่องดราม่าแต่เป็นเรื่องจริง เมื่อตอนก่อตั้งขายได้วันละ 5 แก้ว ตอนแรกคิดว่าไปไม่รอด ตอนหลังปรับรสชาติ และเมนู ให้เป็นรสชาติคนไทย และเป็นพรีเมี่ยมเกรด มากขึ้น การปรับเปลี่ยนของกาแฟ Amazon ใช้สูตรการปรับเปลี่ยนรสชาติล้วนๆ ให้ถูกปากคนไทยกาแฟโบราณใส่นมขึ้นหวาน ใช้กาแฟอาราบิก้ากับโรบัสต้าผสมกัน ต้องติดหวานนิดนึง

Starbuck เป็นกาแฟทานกับนมสด สายพันธ์ุอาราบิก้า ร้อยเปอร์เซ็นต์ หอมละมุน เป็นคุณสมบัติของอาราบิก้า ถ้าเดินเข้าไปร้านกาแฟสตาร์บัคจะหอมไปทั้งร้าน แต่โรบัสต้าจะเข้มข้นกว่า อาราบิก้ามีคาเฟอีน 1 เปอร์เซ็นต์ โรบัสต้า สองเปอร์เซ็นต์ ฝรั่งจะชอบแบบกาแฟ สตาร์บัค เพราะชอบแบบอเมริกาโน่ร้อน

เดือน กรกฎาคม 2559 ยอดขายกาแฟ Amazon ปรับขึ้นเป็น 262 แก้วต่อวัน เมื่อลูกค้าผู้ดื่มมากขึ้น

เดือน เมษายน   2559 ปตท. ก็เปิดโรงคั่วกาแฟที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โรงคั่วลงทุนไป 450 ล้าน ได้ศูนย์ฝึกอบรม กับโรงคั่วกาแฟ เครื่องจักรราคา 100 กว่าล้าน ลงทุนศูนย์การเรียนรู้ไปอีก 50 ล้าน คือโรงหนัง และบริเวณด้านการสาธิตการชงกาแฟ ถ้าหากใครไปเที่ยวชมจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทันสมัยมากๆ

 

02

ศูนย์เรียนรู้กาแฟ เครื่องมือในการชงแบบต่างๆ

 

โรงคั่วกาแฟ Amazonกำลังการผลิต 2,700 ตันต่อปี โรงคั่วทำงาน 6 วัน หยุดพักซ่อมบำรุง 1 วัน เตรียมขยายเป็น 84 ไร่ จาก 37 ไร่ จะสร้างโรงงานเพิ่มอีก 3-4 โรง

โรงงานมีศูนย์กระจายสินค้า ไปเก็บไว้ที่ปากเกร็ด เพื่อไปรวมกับสินค้าชนิดอื่น ตอนนี้จะนำมาสร้างรวมไปที่เดียวกันที่วังน้อยจะเสร็จในปี 2562

พร้อมกันนี้เตรียมทำโรงงานเบอเกอรี่ด้วย เพื่อเพิ่มยอดขาย และเตรียมทำโรงงานแก้วเพื่อไม่ต้องไปสั่งซื้อจากที่อื่น และมีแผนเตรียมทำ โรงงาน ชา โกโก้ นมสด นมข้นหวาน ตรา Amazon กาแฟสูตรที่ออกจากโรงคั่วมีสูตรเดียว แต่สิ่งที่แตกต่างคือเมนู บางร้านอาจไม่เหมือนถ้าเป็นของ ปตท. คุมได้ แต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์ไปอาจไม่ตรงกับสูตร

กระบวนการ เริ่มตั้งแต่จัดเมล็ดกาแฟดิบ ต้องหาวัตถุดิบ คั่วได้ 1700 ตัน ต้องหา 3500 ตัน อาราบิก้า 2500 โรบัสต้า 1000 ได้จากโครงการหลวง 200 ตัน โครงการหลวงทำได้ปีละ 400 ตัน เป็นกาแฟอราบิก้า ช่วงสงกรานต์ 2559 คำสั่งซื้อวันละ 25 ตันช่วงห้าวัน โรงคั่วต้องสู้กับผู้ดื่มที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

หลังจากที่ผู้เขียนเยี่ยมชมโรงงานคั่วกาแฟ Amazon ประจักษ์รู้ด้วยตัวเองเลยว่า กาแฟหนึ่งแก้วที่เราซื้อดื่มกันนั้นกว่าจะได้มานั้นยากแสนลำบากตั้งแต่การปลูก การคั่ว การอบรมผู้ชงบาริสต้า การชง ผู้เขียนอยากถามความทรงจำท่านผู้อ่านว่าเคยดื่มกาแฟสดกันตั้งแต่เมื่อไหร่

03

ภาพสัญลักษณ์ใหญ่ โครงสร้างของกาแฟ บนกำแพง

ขณะที่กำลังเขียนและพิมพ์งาน ผู้เขียนเกิดอากาศอยากดื่มกาแฟขึ้นมา มีความคิดแวบนึงขึ้นมาว่า เคยดื่มกาแฟสดในชีวิตครั้งแรกเมื่อไหร่ ผมคิดว่าผมเคยดื่มกาแฟสดครั้งแรกน่าจะต้นปี พ.ศ.2533

เป็นเวลา 26 ปีผ่านมาแล้ว สมัยก่อนการบินไทย เส้นทางเชียงใหม่ – กรุงเทพ ไฟล์เช้าจะเสิร์ฟอาหารอุ่นร้อนเป็นออมเล็ตไข่คนกับไส้กรอก อุ่นทานกันร้อนๆ ทานกับขนมปังเนย ผลไม้ เมื่อทานใกล้เสร็จพนักงานบริการจะถามว่า กาแฟ ชา ไหม ผมก็ขอกาแฟครับ นั่นเป็นครั้งแรกที่ชิมกาแฟบนเครื่องบินเมื่อดื่มแล้วนึกในใจว่า ทำไมกาแฟบนเครื่องบินถึงหอมอร่อยอย่างนั้น รสชาติแปลกไม่เหมือนกับกาแฟผงที่ชงดื่มเองใส่น้ำร้อนที่บ้าน กาแฟ 1 ช้อน น้ำตาล1 ช้อน คอฟฟี่เมต 1 ช้อน

หลังจากที่คิดถึงกาแฟคราใดก็คิดถึงแต่กาแฟของการบินไทย ที่ จ.เชียงใหม่บ้านเกิดของผม เวลานั้นไมีมีกาแฟสดขายคิดเองว่าถ้าอยากจะดื่มกาแฟรสชาติแบบการบินไทยต้องขึ้นเครื่องบินเท่านั้น

เมื่อเข้ามาทำงานในกรุงเทพ พ.ศ. 2540 จำได้ว่าไปเดินซื้อร้านหนังสือที่ร้านดอกหญ้า แถวอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เห็นมีกาแฟขายก็ลองสั่งกาแฟมาทานก็ทำให้รู้ว่านั่นคือกาแฟสดมีขายทั่วไปไม่ใช่มีแต่บนเครื่องบินการบินไทย เวลานั้นผมยังเป็นพวกบ้านนอกเข้ากรุงยังไม่ค่อยรู้อะไรมากแต่ผมเองก็ยังจำไม่ได้ว่าเคยดื่มกาแฟสตาร์บัคแก้วแรกที่ไหนตั้งแต่เมื่อไหร่

ผมเคยดื่มสตาร์บัคในต่างประเทศแถว Port Washington ใกล้กับ Roslyn New York สนนราคา 4-5 เหรียญราคาใกล้เคียงกับในเมืองไทย เคยดื่มที่ไต้หวันใกล้สำนักงานใหญ่ ASUS บรรยากาศร้านสวยมากใกล้กับทะเล เคยดื่มที่ญี่ปุ่นในห้าง Aeon ใกล้สนามบินนาริตะ สนนราคาก็พอๆ กันทั้งโลก รสชาติได้มาตรฐานเพราะผมสั่งแต่อเมริกาโน่ กาแฟดำอย่างเดียว แต่ถ้าสำหรับผมแล้ว สตาร์บัคที่วิวสวยที่ผมชอบที่สุดในเมืองไทยอยู่ที่ สตาร์บัค ท่ามหาราช ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องตรงข้ามคนละฝั่งกับโรงพยาบาลศิริรราช

02

Amazon Inspiring Campus ศูนย์การเรียนรู้กาแฟ เข้าเยี่ยมชมได้

ธุรกิจกาแฟนั้นยิ่งใหญ่มาก ถ้าใครทำประสบความสำเร็จก็จะครองใจเขา เมื่อกลายเป็นลูกค้าก็จะเป็นไปจนตลอดชีวิต เพราะกาแฟสำหรับผู้ดื่มแล้วต้องดื่มเกือบทุกวัน ไม่มีวันไหนที่จะไม่ค่อยดื่ม

 

02

เครื่องชงกาแฟขึ้นอยู่กับราคาและคุณภาพ

เครื่องชงกาแฟขึ้นอยู่กับ ราคาและคุณภาพ ผมเคยซื้อเครื่องทำกาแฟจากสตาร์บัคแบบเอากาแฟจุ่มน้ำร้อน ราคาเครื่องละ 1 พันกว่าบาท และซื้อกาแฟบดแยกมาต่างหาก มาต้มน้ำร้อนชงเองดื่มตอนเช้าไม่อร่อยเหมือนที่ร้านเลย ก็เป็นเพราะว่าเครื่องชงกาแฟที่ร้านราคาเครื่องละเป็นแสน รสชาติเทียบกันไม่ได้ ก็เลยเปลี่ยนความคิดว่าไม่ซื้อกาแฟบดมาทำเองแล้ว ถ้าอยากทานกาแฟสดเช้าๆ เดินไปซื้อกาแฟสดอะเมริกาโน่ ที่ 7-11 แก้วละ 25 บาท ชงจากเครื่องชงราคาเป็นแสนเหมือนกันครับ แต่เทียบรสชาติแล้วสู้กับ Amazon และ Starbucks ไม่ได้เลยครับ ของแพงไม่มีในโลกครับ ขึ้นอยู่กับราคาจริงๆ

02

ข้อความตามทางเดินในการเยี่ยมชมโรงงานคั่วกาแฟ

สำหรับผู้สนใจเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ เที่ยวชมโรงคั่วกาแฟเปิดเป็นโรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้กาแฟเข้าเยี่ยมเที่ยวชมได้ครับ ขอบอกว่าคิวเที่ยวเยี่ยมชมทดลองงานยาวมากครับ

กาแฟ Amazon สัญชาติไทยกำลังเติบโตไปอย่างก้าวหน้า ขอเอาใจช่วย Amazon กาแฟสัญชาติได้ให้ธุรกิจเติบโตกระฉ่อนโลกไปเลยครับ