แบรนด์ดี ต้องมี “เรื่องเล่า”…Brand Storytelling


ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า  ระบุถึงอุตสาหกรรมออกแบบดีไซน์ ในปัจจุบัน โดยระบุว่าเป็นยุคนี้ เป็นยุคของการแข่งขันที่ไร้พรมแดน การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จะต้องสร้างสินค้าที่มีเอกลักษณ์ จุดเด่นและมีความแตกต่างด้วยจึงจะมัดใจผู้บริโภคได้ การออกแบบจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพิ่มความโดดเด่น ดันยอดขาย ขยายโอกาสเติบโตสู่ตลาดโลก ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Thailand ภายใต้นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88-backdrop

 

พร้อมกันนี้ ยังได้เดินหน้าโครงการ Design Service Society หรือโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมการออกแบบไทย ร่วมกับ ผศ.ดร.โชคอนันต์ บุษราคัมภากร นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมธุรกิจด้วยกลยุทธ์การออกแบบ

 

ม.ล.คฑาทอง ให้ความหมายของคำว่า Design โดยบอกว่า ทุกวันนี้ คำนี้ถูกขยายออกไปมาก  จากการที่ตนได้ให้การสนับสนุนเรื่องของอุตสาหกรรมการออกแบบมาตลอด 20 ปี วันนี้ต้องบอกว่าจากเดิมที่ Design  รู้จัก หรือจำกัดแค่ในเรื่อง Product  หรือ Packaging หรือ Graphic แต่ขณะนี้ Design คือครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม ทั้ง กระบวนการ (Process)  รวมทั่วทุกกระบวนการผลิต การคิด การทำการตลาด การจัดการ ครอบคลุมทั้งหมดเลย ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของอุตสาหกรรมในบ้านเราว่าความต้องการขณะนี้ ต้องมีดีไซน์รวมอยู่ในทุกๆ กระบวนการ

แม้กระทั่ง โมเดล ( Model) ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตอนนี้ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกกันว่า Design Thinking  เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้การบริหารจัดการในองค์กร ซึ่งในส่วนนี้ควรเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐที่ต้องเข้ามาสนับสนุน ช่วยเหลือ และสมาคมที่เกี่ยวข้องด้านการออกแบบ หรือผู้ประกอบการเองก็ต้องเร่งพัฒนา ยกระดับคุณภาพมาตรฐานของธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้นด้วย ง่ายๆ คือเพิ่มจำนวนศูนย์ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการออกแบบให้เอสเอ็มอี ให้มีอย่างเพียงพอ

ม.ล.คฑาทอง  บอกด้วยว่า สมมุติว่าคุณจะเป็นดีไซเนอร์ มืออาชีพ คุณจะมีกระบวนการความคิด 30 ระดับ ตั้งแต่ Brain Strom ไปจนถึง Finish Product  แต่อุตสาหกรรมตอนนี้ใช้เพียงไม่กี่ระดับ คือรู้แค่ว่าออกแบบสวยหรือไม่สวย ซึ่งจริงๆ แล้วนักออกแบบต้องรู้ทุกๆ Process แล้วก็ต้องมีบทบาทในการถ่ายทอดกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการ

แนะเล่าเรื่อง บอกที่มา สร้างมูลค่าเพิ่ม

…..คือถ้า อาม่า ท่านหนึ่ง เอาถุงพลาสติกมา บอกให้ช่วยพัฒนาถุงให้หน่อย ก่อนหน้านี้นักออกแบบอาจจะบอกอาม่าว่าต้องเปลี่ยนสีแบบนี้  ใช้วัสดุแบบนี้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว คนที่จะออกแบบต้องถามให้ลึกลงไปว่า สิ่งที่จะให้ออกแบบมีกระบวนการอย่างไร  ตลาดยังไง ขายใครบ้าง ต้องมีข้อมูล แล้วจึงนำดีไซน์เข้าไปช่วยพัฒนาให้เค้า ถามว่าถ้าผู้ประกอบการอยากโกอินเตอร์ ทำอย่างไร? มันเป็นโจทย์ที่ยาก เวลาเราไปต่างประเทศเราจะเสพย์วัฒนธรรมที่ประเทศนั้นๆ เพียงช่วงสั้นๆ ไม่ลึกซึ้ง แต่ในทางกลับกัน หากเราอยากให้ต่างชาติเข้ามาเสพย์วัฒนธรรมของบ้านเรา เราขายสินค้าในชีวิตประจำวันทำอย่างไรจะให้มันเป็นสากล เราอาจจะต้องเริ่มทำตลาดในเชิงท่องเที่ยว ให้คนซื้อกลับในแบบสินค้าที่ระลึกก่อน แล้วค่อยๆ ให้สิ่งเหล่านั้นซึมซับเข้าไปในการใช้ชีวิต เราอาจจะต้องเพิ่มความขลัง ให้สินค้าเราเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ต้องเก็บไว้อย่างดี ใส่ประวัติศาสตร์ (History) เข้าไป เหมือนที่ญี่ปุ่นทำ คนญี่ปุ่น ถ้าเราไม่เข้าใจเราจะไม่อิน แต่เค้าเลือกจะใส่เรื่องราว (Story) วัฒนธรรม วิถีแห่งเซนเข้าไปในทุกๆ สิ่ง นี่คือสิ่งที่ทำให้เราซื้อ และเราเลือกบริโภคสินค้าญี่ปุ่น เพราะเรารู้จักเรื่องราวที่มา ที่ไปของเค้า เหมือนคนที่รู้จักกัน นี่จึงเป็นสิ่งที่บอกว่า การใส่เรื่องราว สร้าง Story ให้สินค้าจำเป็นอย่างยิ่ง

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8

ให้แบรนด์ เล่าเรื่องราว (Story)

การที่เราเป็นผู้บริโภค  แบรนด์จะมีการเล่าเรื่องราว (Story) ไม่มากก็น้อย  ยกตัวอย่างแบรนด์นาฬิกา เค้าจะบอกว่าสินค้าเค้าไม่มีการใช้เครื่องจักรทำเลย เป็นงานแฮนด์เมดแบบ 100%  ทำไม่เค้าจึงบอกเรา เพราะเค้ารู้ว่าเรื่องราวแบบนี้คนจะชอบ  เค้าจึงย้ำความเป็นแฮนด์เมดเข้าไปในสินค้า  ทำให้คนยอมจ่าย จ่ายค่าคุณค่า ค่า Story หรืออย่างกรณีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเค้าเข้ามาเพื่อเสพย์วัฒนธรรมของเรา แต่เรายังใช้ประโยชน์เรื่องนี้น้อย ในสายตาคนไทย  นักท่องเที่ยวเข้ามาเรายิ้มแย้ม เราเทคแคร์ทุกอย่างเพราะเป็นวัฒนธรรมไทย แต่ในสายตาต่างชาติเราคือที่เดียวในโลกที่มีวัฒนธรรมแบบนี้ แต่เรายังบริหารเรื่องนี้ไม่เป็น ทำการตลาดในเรื่องจิตใจบริการของคนไทย ยังไม่เต็มที่

“คุณป้าท่านหนึ่งทอผ้า 1 ผืนกว่าจะได้มาใช้เวลาเป็นเดือนๆ แต่เราไม่มีความสามารถจะเล่าเรื่องราวของคุณป้าท่านนี้ได้ ซึ่งถ้าเป็นต่างชาติ เค้าอาจจะคิดมูลค่าผ้าผืนนี้หลักล้าน เพราะเค้าจะเล่าว่ากว่าจะได้มายากลำบากยังไง นี่คือการเพิ่มมูลค่า ใส่เรื่องราวให้มีคุณค่า…”

เราเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านการเกษตร เรามีคลัสเตอร์การเกษตรที่ทิ้งไม่ได้ แต่เรามีอุตสาหกรรมที่นำมาดึง หรือเสริมการนำรายได้เข้าประเทศได้ ประเทศที่พัฒนาแล้วอาจไม่ต้องผลิตอะไรเลย เค้าขายอากาศ ขายคลาวด์ เค้าขายวัฒนธรรม ขายหนัง โดยที่ไม่ต้องผลิตอะไรเลย ทุกวันนี้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย อาจจะมีบทบาทน้อยหรือทำรายได้เข้าประเทศไม่ถึง 10% จะทำยังไงให้มันพัฒนา

อย่างน้อยที่สุดสามารถนำการออกแบบ มาเป็นส่วนเสริม นำสิ่งที่มีอยู่แล้ว  หรือสิ่งที่ริเริ่มขึ้นมาใหม่  ใส่เรื่องราวเข้าไป สร้างคุณค่า แล้วสิ่งนั้นก็จะเพิ่มมูลค่า….