กว่าจะเป็นไม้ขีดไฟ ต้องผ่านกรรมวิธีอะไร ทำความเข้าใจใน 5 นาที (คลิป)


ไม้ขีดไฟ อุปกรณ์ที่ใช้จุดไฟที่มีกันอยู่ทุกครัวเรือนในอดีตก่อนจะเริ่มถูกบดบังความสำคัญของกาลเวลาด้วยการเกิดขึ้นของไฟแช็กในปัจจุบัน แต่ถึงแม้ความนิยมจะลดน้อยลงไป แต่สิ่งเหล่านีก็ยังคงอยู่ แม้จะเริ่มเห็นเบาบางลงไป และด้วยความสงสัยต่อก้านไม้เล็กๆที่สร้างความสว่างไสวในอดีตต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง How Its Made จึงได้ถ่ายทอดขั้นตอนเหล่านั้นมาให้ได้ดูกัน กว่าจะเป็น ไม้ขีด 1 ก้าน (กับอีกหลายก้าน) ก่อนจะมารวมร่างกันอยู่ในกล่อง

เริ่มต้นจากก้านไม้ขีดไฟมักนิยมทำจาก ไม้มะยมป่า ,ไม้มะกอก,ไม้อ้อยช้าง และไม้ปออกแตก ซึ่งก้านไม้ขีดที่ดีควรมีความหนาประมาณ 2.5 มิลลิเมตร โดยมีขั้นตอนการทำจะเริ่มจากจุ่มก้านไม้ลงในพาราฟินเพื่อทำให้ลุกติดไฟได้ดี แล้วจุ่มปลายด้านหนึ่งในส่วนผสมซึ่งประกอบด้วยกำมะถันที่ทำให้เกิดเปลวไฟและโปแตสเซียมคลอเรตให้ออกซิเจน

ส่วนกล่องใส่ไม้ขีดจะฉาบฟอสฟอรัสแดงไว้ที่ข้างกล่อง และเมื่อนำไม้ขีดไฟมากระทบกับข้างกล่อง ฟอสฟอรัสแดงจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ก่อให้เกิดการเสียดสีให้เกิดความร้อนและเปลวไฟขึ้น

สำหรับไม้ขีดไฟถูกค้นคว้าและนำมาใช้ครั้งแรก โดยจอห์น วอล์คเกอร์ นักเคมีชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2370 หรือเกือบ 200 ปีก่อน กระทั่งการทำไม้ขีดไฟถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นมาต่อเนื่องมาสู่ในประเทศไทย และถูกใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีให้เห็น