ย้อนดูวิวัฒนาการของ “เงิน” จากอดีตสู่ปัจจุบัน


“เงิน” ถือเป็นสื่อกลางใช้ในเวลาซื้อ – ขายสินค้า ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาผู้คนในสมัยก่อนได้นำสิ่งของที่มีอยู่มาปรับใช้เป็นเงินสำหรับค้าขายระหว่างกัน แล้วแต่ก่อนเข้าใช้อะไรแทนเงินจนกว่าจะเป็นเหรียญและธนบัตรจนถึงทุกวันนี้ เรามาย้อนดูกันเลยครับ

ประกับ

%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a

ประกับทำด้วยดินเผา และประทับตราด้านเดียว ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในยามที่เกิดการขาดแคลนเบี้ย เนื่องจากเบี้ยจะมาจากพ่อค้าที่นำมาขายจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ของอินเดีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ซึ่งประกับมีราคาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับพ่อค้านำมาขายมากหรือน้อย

หอยเบี้ยกับชาวไทย

%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2

ในอดีตเราเคยใช้ “หอยเบี้ย” เป็นเงินตรา สำหรับหอยเบี้ยในประเทศไทยเริ่มปรากฏหลักฐานการใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นเวลายาวนานกว่า 700 ปีมาแล้ว โดยนำมาใช้เป็นเงินปลีกย่อยในการซื้อขาย และเลิกใช้ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่4

เงินกำไล

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%8d%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a5

เงินตราชนิดนี้ใช้กันในสมัยสุโขทัย แต่ก่อนมีลักษณะเป็นกำไลเงินเกลี้ยง ใช้กันเวลาซื้อขายแต่พัฒนารูปร่างไปเพื่อความสะดวกในการใช้ มีหลายขนาดต่างกันไปตามชนิดราคา มีรอยบาก และตราประทับลวดลายต่างๆ ไว้เพื่อบ่งบอกแหล่งที่มา

เงินวงแหวน

%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%99

เงินตรารูปร่างเหมือนแหวนพัฒนามาจากเงินกำไลของอาณาจักรสุโขทัย เพราะการค้าเฟื่องฟู ความต้องการใช้เงินตรามีเพิ่มมากขึ้นจึงมีการปรับขนาดเงินตราให้มีขนาดเล็กลง เหมาะสำหรับการพกพาแต่ยังคงรอยบาก และตราประทับไว้เช่นเดิม

เงินพดด้วงสมัยอาณาจักรสุโขทัย

%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%94%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b9%82%e0%b8%82%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a2

เงินพดด้วง เงินตราอันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทย พัฒนาสืบต่อมาจากเงินกำไล และเงินวงแหวน แต่มีรูปร่างเปลี่ยนไปเพื่อความสะดวกในการใช้สอย เริ่มใช้ในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยสุโขทัยลักษณะรูปร่างกลม ขาเงินทั้งสองขดงอ มีตราประทับและรอยบาก โดยถือเป็นต้นแบบเงินตราที่ใช้กันต่อมาในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เงินพดด้วงสมัยกรุงศรีอยุธยา

%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%94%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%ad

เงินพดด้วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงแรกรูปร่างคล้ายสมัยสุโขทัย แต่มีรอยบอกขนาดเล็กลง เรียกกันว่าตราเมล็ดข้าวสาร ตราจักร ด้านบนเป็นสัญลักษณ์ ตราด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาล

เงินพดด้วงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%94%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b4

เงินพดด้วยสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์มีรูปร่างอ้วนกลมเหมือนสมัยอยุธยาตอนปลาย มีรอยบากเป็นเมล็ดข้าวสาร มีตราจักรและตราประจำรัชกาล เมื่อการค้ากับต่างประเทศขยายตัวขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเปลี่ยนจากเงินพดด้วงเป็นเหรียญกษาปณ์กลมแบน และมีการยกเลิกเงินการใช้เงินพดด้วงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2447

เหรียญกลมแบน

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%8d%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%99-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%8a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%884

โรงกษาปณ์แห่งแรกของประเทศไทย ชื่อว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2401 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยเหรียญที่ผลิตด้วยเครื่องจักรแรงดันไอน้ำที่สั่งซื้อมาเป็นครั้งแรก คือ เหรียญเงินตราพระมหามงกุฎ – ข้างในวงจักร เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2403