รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
จากข้อมูลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พบว่ากลุ่มประชาชนตัวอย่างร้อยละ 60 มีความเชื่อว่าการรับประทานไข่ ทำให้แผลปูดและเป็นแผลเป็น โดยเรื่องนี้นายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อเท็จจริงว่า หัวใจสำคัญของการดูแลบาดแผลทุกชนิดไม่ว่าแผลถลอก แผลเล็ก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกและแผลผ่าตัด มี 2 ประการคือ 1.การรักษาความสะอาดแผล ป้องกันการติดเชื้อโรค และ2.การบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยสารอาหารที่ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นได้แก่
1.โปรตีน ซึ่งมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ รวมถึงถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น โปรตีนจะช่วยสร้างเนื้อเยื่อทำให้เซลล์แต่ละเซลล์ ประสานยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน
2. วิตามินซี ซึ่งมีมากในผลไม้สดทุกชนิดพบมากในฝรั่ง มะละกอ ส้มต่างๆ และยังพบในผักเช่นบร็อคโคลี่ พริกหวานสีแดง วิตามินซีจะทำหน้าที่สร้างผนังของเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยมีความแข็งแรงและไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ และยังช่วยในการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้นและ
3.ธาตุสังกะสี ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ตับ ถั่วเหลือง ช่วยให้เซลล์จับกับวิตามินกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น ดังนั้นไข่จึงไม่ใช่อาหารแสลงหรืออาหารต้องห้ามอย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใด ส่วนแผลเป็นที่ปูดโต ไม่ได้เกี่ยวกับการกินไข่แต่อย่างไร แต่เป็นธรรมชาติของเนื้อหนังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกัน
โดยกรม สบส.ได้ให้ อสม.ให้ความรู้ประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆ ผ่านทางหอกระจายข่าวต่อไป อย่างไรก็ตามในการดูแลบาดแผลทั่วไป ขอแนะนำให้ประชาชนทำความสะอาดแผลทุกวัน หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรกหรือเปียกน้ำเพราะอาจทําให้แผลเกิดการอักเสบได้ และควรสังเกตลักษณะบาดแผล หากแผลบวม แดง ร้อน สีของบาดแผลเปลี่ยนไป มีหนอง ควรรีบไปพบ อสม.หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดูแลรักษาต่อไป