รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
สภาพอากาศในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางวันมีทั้งอากาศร้อน ฝนตก หรืออากาศหนาว ร่างกายคนเรานั้นปรับสภาพตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งความเปลี่ยนแปลงกระทันหันของสภาพอากาศในแต่ละวันนั้นปัจจุบันแทบจะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ร่างกายของเราจะปรับสภาพตามอากาศไม่ทัน ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ตามมา ยิ่งช่วงนี้ใกล้หน้าหนาวเข้าไปทุกที วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องโรคยอดฮิตที่เกิดในช่วงฤดูหนาว
1.โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน
อาการของโรคไข้หวัด: มีไข้ ปวดศรีษะ น้ำมูกไหล จามโดยมีอาการคันคอเป็นอาการเด่น และอาจจะมี อาการหนาวสั่น
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่: รุนแรงกว่า คือ มีไข้สูง ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ปวดศรีษะและเวียนศรีษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ตาแดง ตาแฉะ
การป้องกันโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ : พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น และรับประทานยาตามใช้ยาที่ถูกต้องจากบุคลากรทางแพทย์
2.โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ เป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัดหรืออาจเกิดจากการติดเชื้อปอดบวมโดยตรง ติดต่อเข้าสู่ร่างกาย ทางจมูก ปาก และ ตา เชื้อเหล่านี้ปนอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอ จามออกมา หรือติดต่อโดยการใช้ภาชนะและสิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วย
อาการ : เบื้องต้น มีอาการไข้ ไอ คัดจมูก เสมหะมาก หายใจเร็วกว่าปกติ หอบเหนื่อย หากอาการรุนแรงขึ้น อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวจนเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้ โรคปอดบวมเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต การป้องกัน : ก็คือจะคล้ายกับโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โดยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวม ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นหมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาร่างกายให้อบอุ่น เวลาไอ จาม ควรปิดปากปิดจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัดเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค หมั่นสังเกตอาการ หากผิดปกติต้องรีบไปพบแพบทย์โดยด่วน
3.โรคหัด เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ๆ จากแค่การไอหรือจาม หรือหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไปมักเกิดการระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน
อาการ : คล้ายๆโรคคหวัด คือ จะมีไข้แล้วค่อยมีน้ำมูกไหล ไอแห้ง ตาปากจมูกแดง ในเด็กจะมีไข้สูงประมาณ 3-4 วัน และจึงจะมีผื่นแดง ๆ ขึ้นที่บริเวณหลังหู ลามไปใบหน้าและตามร่างกาย โดยผื่นจะค่อย ๆ โตขึ้นและมีสีเข้มขึ้น กลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ คือ เด็กเล็ก และเด็กวัยเรียน ช่วงอายุ 5-9 ขวบ สังเกตได้จากจะมีตุ่มใส ๆ ขึ้นในปาก ตรงกระพุ้งแก้มและฟันกรามบน ซึ่งจะเป็นตุ่มที่เกิดในเฉพาะโรคหัดเท่านั้น และจะขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง พอผื่นออกได้ประมาณ 2-3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ เพียงต้องระวังอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ปอดบวม อุจาระร่วง สมองอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ วิธีการรักษาคือ ทานยาลดไข้ รักษาตามอาการ และพาไปพบแพทย์ และไปตามนัดเสมอ ๆ เพื่อจะได้ติดตามและรักษาอย่างต่อเนื่อง
การป้องกัน : ควรหลีกเลี่ยงแหล่งที่มีเชื้อ หรือแหล่งที่มีผู้คนพลุกพล่าน สวมหน้ากากอนามัยทุกเครั้งเมื่อจำเป็นต้องไปฉีดวัคซีน หัด หัดเยอรมัน และคางทูม ซึ่งเด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนนี้อยู่แล้วเมื่ออายุ 9-12 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 6-7 ปี ล้างมือทุกครั้งเมื่อกลับมาบ้าน สังเกตอาการหากเกิดการสงสัยว่าเป็นหัดให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง
4.โรคสุกใส เป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง หรือสัมผัสถูกของใช้ เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน ที่เปื้อนตุ่มของคนที่เป็นสุกใสหรืองูสวัด หรือหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำเข้าไป ระยะฟักตัวในร่างกาย 10-20 วัน เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียนและในคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน
อาการ : จะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารเล็กน้อยในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นพร้อมๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือหลังจากมีไข้ไปแล้ว 1 วัน เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบ ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างในและมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลักจากนั้น 2-4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลำตัว แผ่นหลัง ทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางคนมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อยลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางคนไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริมได้ เนื่องจากตุ่มของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกทีละชุด ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้น จึงพบว่าบางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส
การป้องกัน : โดยทั่วไปเหมือนกับโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคหัด ปัจจุบันมีวัคซีน ป้องกันโรคสุกใสใช้แล้ว แต่ราคาค่อนข้างแพงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ดูแลเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก ครูอนุบาลหรือชั้นประถม เป็นต้น อาจรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้ได้
5.โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูกน้ำลายของผุ้ป่วย ติดต่อโดยการ ไอ จาม หรือ หายใจรดกัน เช่นเดียวกับไข้หวัดหรือไข้หัด โดยมีระยะฟักตัวในร่างกาย 14-21 วัน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
อาการ : โดยจะมีอาการไข้ และออกผื่นคล้ายหัด แต่ไม่มีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด ลักษณะสำคัญคือ ‘ผื่น’ มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นเม็ดละเอียดสีแดงมองเห็นเป็นปื้น ๆ หรือ จุด ๆ กระจัดกระจาย ขึ้นที่ใบหน้าก่อน จากนั้นลุกลามแผ่กระจายมาตามหน้าอก ลำตัว แขนขา จนกระทั่งทั่วร่างกายอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น และจะหายไปภายใน 3 วัน ไร้ร่องรอยเหมือนไม่เคยมีมาก่อน ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่สังเกตได้คือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหู ซึ่งมักเกิดขึ้นมาก่อนมีผื่นประมาณ 1 อาทิตย์อย่างไรก็ตาม หัดเยอรมันจัดว่าเป็นโรคที่อันตรายต่อเด็กทารกในครรภ์มารดา หากไวรัสหัดเยอรมันเกิดขึ้นในมารดาขณะตั้งครรภ์ต่ำกว่า 3 เดือน ทารกมีโอกาสพิการสูง ทารกที่เกิดมามีโอกาส ตาบอด หูหนวก หัวใจพิการ และที่สำคัญ สมองพิการ ปัญญาอ่อน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
การป้องกัน : โรคหัดเยอรมันป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้กับคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันเท่านั้นและหากบังเอิญสตรีคนใดไปฉัดวัคซีนป้องกันโรคนี้ในขณะตั้งครรภ์ ก็ไม่ต้องวิตกกังวัลเพราะเท่าที่มีรายงานมา ไม่มีทารกใดที่พิการด้วยวัคซีนนี้
6.โรคอุจจาระร่วง มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อได้โดยการดื่มน้ำหรือกินอาหาร ที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป นอกจากนี้อาจมีการติดต่อทางน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยได้ด้วย
อาการ: อุจจาระเป็นน้ำ หรือถ่ายเหลวบ่อยครั้ง ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคล้ายไข้หวัด ก่อนถ่ายเหลว โดยทั่วไปไม่รุนแรงแต่เด็กบางคนอาจจะมีอาการขาดน้ำรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเด็กที่ป่วยเป็นโรคอุจาระร่วงจะมี น้ำหนักลดลง และการเจริญเติมโตหยุดชะงัก
การป้องกัน : ให้อาหารเหลวแก่เด็ก เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด รวมทั้งน้ำนมแม่ แต่สำหรับเด็กที่ดื่มนมผสม ควรผสมนมให้เจือจางลงครึ่งนึงจนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าเด็กยังถ่ายบ่อย ควรผสมเกลือแร่ให้เด็กดื่มทีละน้อยๆแต่บ่อย ๆ พร้อมทั้งให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาการจะกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 8-12 ชั่วโมง ถ้ารักษาเองแล้วไม่ดีขึ้นให้รีบพาไปพบแพทย์ ผุ้ที่ดูแลเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเตรียมอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ 5 ข้อควรทำ เพื่อป้องกันโรค -ทำร่างกายให้อบอุ่นเสมอ -ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ -รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบหมู่ -รักษาความสะอาดด้วยการหมั่นล้างมือ ให้สะอาดเป็นประจำ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5 วิธีนี้จะช่วยป้องกันร่างกายของเราได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ส่วนอาการและการป้องกันโรคต่างที่มักจะมากับการเปลี่ยนแปลงของอากศในช่วงหน้าหนาวนี้
ขอขอบคุณวารสารสรรพากร ฉบับที่ 54 เดือนพฤศจิกายน 2559