ตลาดรถโดยสารเดือด!! Uber, Grab และ Taxi? เปิดศึกชิงชัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


iPrice

Ride-Hailing Application หรือ บริการรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่น แข่งกันเข้มข้น หวังครองตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Grab และ Uber ประกาศชิงส่วนแบ่งตลาดรถแท็กซี่สาธารณะ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตลาดดังกล่าว จะเติบโตมีมูลค่ากว่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Grab เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากให้บริการกว่า 4 ปีและ Grab พึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Softbank ในการพัฒนาธุรกิจเป็นมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐจึงทำให้เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวอยากมากในตลาด สำหรับคู่แข่งรายใหญ่อย่าง Uber ซึ่งพึ่งออกจากธุรกิจในประเทศจีนโดยการขายบริษัทให้กับ Didi ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Uber หันมาโฟกัสในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ซึ่ง Uber มีการเพิ่มกำลังในการพัฒนาระบบทั้งทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับการลุยตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม Ride-Hailing ในแถบนี้

โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบราคาการเดินทางที่ราคาถูกที่สุดระหว่าง Uber, Grab และแท็กซี่ตามท้องตลาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่าแต่ละประเภทของรถโดยสารมีราคาและวิธีการคำนวนราคาที่ต่างกันออกไปตามแต่ละประเทศ

infography

จาก Infographic ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเนื่องจากมีรถติดปานกลางในช่วงเวลาปกติ ผู้โดยสารจะใช้เวลาเฉลี่ย 25 นาที

สำหรับการเดินทาง 5 กิโลเมตรในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งราคาของ Uber คือ 74 บาท, Grab ราคา 77 บาท และแท็กซี่ราคา 103 บาท

สำหรับเส้นทางระยะยาว 20 กิโลเมตรจากใจกลางเมือง ผู้โดยสารจะใช้เวลาเฉลี่ย 40 นาที ซึ่ง Uber จะมีราคา 159 บาท, แท็กซี่ราคา 210 บาท และ Grab ราคา 216 บาท

อย่างไรก็ดี ขณะนี้ Application อย่าง Uber และ Grab ยังไม่ถูกกฏหมายในประเทศไทย ซึ่งคล้ายกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้ที่ให้บริการเหล่านี้ถือว่าผิดกฏหมายตาม พรบ รถยนต์ปี พ.ศ. 2522 แต่อย่างไรก็ตาม Uber และ Grab ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากรถให้บริการเหล่านี้ไม่เรื่องมาก ผู้โดยสารสามารถเลี่ยงปัญหารถแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารได้…