6 ธุรกิจฟินเทคน่าจับตามองในเอเชีย


หากพูดถึงฟินเทค อาจกล่าวได้มาได้ว่าเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง กำลังก้าวเดินอย่างแข็งแรงในเอเชีย จากรายงานของ Fintech ในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2016 โดย KPMG พบว่าการระดมทุนของบริษัทต่างๆกับบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในเอเชียมีเพิ่มมากขึ้นถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าในสหรัฐฯที่มีการระดมเพียง 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มีการตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนข้อเสนอระดมทุนในเอเชียมีน้อยกว่าในสหรัฐฯและยุโรป (เอเชีย 35,สหรัฐฯ 96 และ ยุโรป 38) และมีเรื่องที่น่าสนใจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะตั้งแต่สิงคโปร์ตัดสินใจสนับสนุนธุรกิจ “ฟินเทค” ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการประกาศเมื่อกลางปีเกี่ยวกับการสร้างกฎระเบียบ sandbox  ให้กับบริษัทที่เริ่มต้นทำฟินเทคได้เสนอไอเดียของพวกเขา และเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน APIs สำหรับนักพัฒนาและผู้สร้างแอพพลิเคชั่นได้เข้ามาใช้บริการ

โดยในปี 2016 มี 6 บริษัทที่ทำธุรกิจฟินเทคน่าจับตามอง ซึ่งพวกเขาคือ Startup ที่มีไอเดียยอดเยี่ยมหรือเป็นปีที่ดีสำหรับพวกเขา อีกทั้งยังทำหน้าที่แสดงให้เห็นถึงวิธีแก้ปัญหาของ “ฟินเทค” ในแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป

  1. Alpaca (ญี่ปุ่น)

Alpaca เกิดจาก Yoshi Yokokawa CEOของบริษัทที่นำประสบการณ์ในตลาดการเงินและมีความต้องการสร้างธุรกิจของตัวเองหลังจากเขาลาออกจากงานที่ Lehman Brothers โดยเขาได้สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการจดจำภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งเมื่อพวกเขาขายผลิตภัณฑ์ให้กับ Kyocera บริษัท อิเล็กทรอนิกส์ Alpaca ก็หันมาใช้เทคโนโลยีในการซื้อขายผ่านผลิตภัณฑ์ทั้ง AlpacaScan และ AlpacaAlgo ซึ่งสามารถช่วยในการตัดสินใจซื้อโดยการมอนิเตอร์ข้อมูลทางการเงิน และสร้างอัลกอรึทึ่มของคุณเอง

ในญี่ปุ่นตลาดฟินเทคมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Alpaca เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาทางการเงินในประเทศ ที่ยังขาดความรู้ทางการเงิน

  1. BankBazaar (อินเดีย)

BankBazaar เป็นที่รวบรวมข้อมูลสำหรับการกู้ยืมเงิน, เครดิต การ์ด และประกันภัย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากกว่า 30 พาร์ตเนอร์ โดยในอินเดียมีลูกค้าใช้บริการกว่า 5 ล้านคน และมีบริการอยู่ 1,336 เมือง อีกทั้ง ล่าสุดในปีนี้ BankBazaar มีการขยายตลาดออกมาตั้งสำนักงานสิงคโปร์ สำหรับ BankBazaar สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับธุรกิจขนาดเล็กหรือบุคคลที่มีการปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการเงิน

  1. Coins (ฟิลิปปินส์)

Coins ใช้เทคโนโลยี blockchain ในการส่งเงิน (สำหรับค่าใช้จ่าย), ชำระเงิน และ โมบาย เครดิต ซึ่งบริการ e-wallet ช่วยให้คนในฟิลิปปินส์และไทยถ่ายโอนและเก็บเงินในร้านค้าพาร์ทเนอร์ขนาดเล็ก

เมื่อเร็วๆนี้ Coins ประกาศความร่วมมือกับ Stellar สนับสนุนเปิดระเบียบการทางการเงิน โดยจะอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งเงินไปฟิลิปปินส์ผ่าน Stellar จากระบบ e-wallet ซึ่งอาจนำมาสู่การทำธุรกรรมทางการเงินที่มากขึ้นในฟิลิปปินส์

  1. Dianrong (จีน)

Dianrong ก่อตั้งในปี 2012 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ยืมเงินจากคอมมูนิตี้ที่สร้างขึ้นมา ในลักษณะ P2P โดยมีผู้ใช้งาน 300,000 คน และมีสำนักงานถึง 26 แห่งในจีน อย่างไรก็ตาม ตลาดสินเชื่อ P2P ในจีนอยู่ภายใต้โครงการ Ponzi ที่เกิดการทุจริต และมีข้อจำกัดต่างๆ ดังนั้น Dianrong ต้องสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใช้ เพื่อเรียกคืนภาพของบริษัท P2P ที่ให้กู้ยืมเงินในประเทศ โดย Soul Htite CEO ของบริษัท หวังว่า Dianrong จะเป็นผู้นำภายในอีก 2 ปีข้างหน้า

  1. MC Payment (สิงคโปร์)

MC Payment ก่อตั้งในปี 2005 เป็นหนึ่งในบริษัทฟินเทคที่เก่าแก่ที่สุดในสิงคโปร์ โดยเริ่มต้นธุรกิจจากการทดลองพัฒนาการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และยังได้สร้างแอพพลิเคชั่น ระบบ Point-of-Sales และ Non-cash Payment

ล่าสุด MC Payment ได้ระดมทุนเดินหน้ารุกเข้าสู่เมืองไทย เพื่อขยายตลาด โดยนำบริการต่างๆเข้ามา ตลอดจนการมองหาโอกาสเข้าซื้อกิจการและการลงทุนอื่นๆด้วยเช่นกัน

Anthony Koh CEO และผู่ก่อตั้ง MC Payment รู้สึกว่าการเริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีศักยภาพ จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาว

  1. Omise (ไทย)

Omise คือผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ เริ่มก่อตั้งในปี 2013 ในลักษณะของบริษัทอีคอมเมิร์ซ แต่หลังจากพวกเขาต้องพบกับความล้มเหลวที่จะมองหาระบบการชำระเงินที่น่าพอใจ พวกเขาจึงปรับตัวเองออกไปจากระบบอีคอมเมิร์ซ

โดยในเดือนกรกฎาคม Omise ได้ระดมทุนผ่าน series B ได้ถึง 17.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนึ่งครั้งที่ใหญ่ที่สุดใน series B สำหรับบริษัทฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้