(ไทยแลนด์ 4.0 : EP.1 ) การปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยจาก 1 ถึง 4


สำหรับ SMEs ที่ยังไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนธุรกิจตนเองไปอย่างไรในยุค 4.0 เพื่อให้ธุรกิจก้าวไปอย่างเติบโตและงอกงาม ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างที่ต้องเร่งศึกษา

  1. Thailand 1.0 การพัฒนาประเทศบนฐานรายได้ภาคเกษตรกรรมและหัตถกรรมเป็นหลัก ใช้จุดแข็งของ ประเทศคือทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก แต่ประชากรมีรายได้ค่อนข้างต่ำ
  2. Thailand 2.0 การพัฒนาประเทศโดยเน้นอุตสาหกรรมเบา เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูก มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นยุคอุตสาหกรรม (Industrialization) ทำให้ยกระดับรายได้ประชากรมาเป็นรายได้ปานกลาง
  3. Thailand 3.0 การพัฒนาประเทศโดยใช้อุตสาหกรรมหนักเป็นตัวขับเคลื่อน เรงรัดการผลิตเพื่อเป็นการสงเสริมการสงออก เน้นการลงทุนและการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุคนี้เป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ประเทศไทยได้เผชิญกับดักและยังไม่สามารถก้าวข้ามทั้ง 3 กับดัก คือ 1. กับดักประเทศรายได้ปานกลาง 2. กับดักความเหลื่อมล้ำ 3. กับดักความไม่สมดุล
  4. Thailand 4.0 เนื่องจากการที่ประเทศไทยเผชิญกับกับดักในช่วงการพัฒนาประเทศ Thailand 3.0 รัฐบาลจึงได้ประกาศยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy)” เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ ซึ่งจะเป็นโมเดลเศรษฐกิจแบบ ทำน้อย ได้มาก

กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร?

  • ไทยแลนด์ 4.0 เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
  • เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

Thailand 4.0 จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจยังไงบ้าง?

  • เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
  • เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา ไปสู่การเป็นSmart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
  • เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ High Value Services
  • เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญสูง

Thailand 4.0 จึงเป็นการพัฒนาเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย การแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายในเชิงชีวภาพและความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม ให้เป็นความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น “5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 เพื่อสร้างความั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งภายในปี 2032

คลิกอ่านหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

(ไทยแลนด์ 4.0 : EP.2 ) ผลักดันอุตสาหกรรม 5 กลุ่มสู่ New Startup

(ไทยแลนด์ 4.0 : EP.3 ) ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ

(ไทยแลนด์ 4.0 : EP.4 ) ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารไม่ควรมองข้าม

(ไทยแลนด์ 4.0 : EP.5 ) ผลกระทบ ความท้าทาย และความเสี่ยงในอนาคต