รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและศิลปวัฒนธรรม คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะนิยมเลี้ยงสุนัข แมว นก ปลาสวยงาม และก็สัตว์หายากบางชนิด ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า สัตว์เลี้ยงมีผลทางจิตใจต่อเจ้าของมาก เพราะจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดภาวะความเครียด
ที่สำคัญความน่ารักของพวกมันจะทำให้เจ้าของมีความสุข ซึ่งเรามักจะเห็นว่า บางคนเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงในบ้าน โดยหารู้ไม่ว่าสัตว์เลี้ยงสามารถนำเชื้อโรคจากสัตว์มาสู่คนได้ บางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดร.ปิยนันท์ กล่าวต่อว่า โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ตรวจพบได้บ่อยในปัจจุบันมีอยู่ 3 โรค คือ
(1.) โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส “เรบีส์” โรคพิษสุนัขบ้ามีอาการ 2 รูปแบบ คือ แบบดุร้าย และแบบเซื่องซึม สามารถติดต่อโรคได้จากน้ำลายสัตว์ที่เป็นบ้า เช่น โดนสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วน อาการในคนจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าเราสงสัยว่าจะถูกสัตว์ที่เป็นบ้ากัด ควรรีบทำความสะอาดบาดแผล ด้วยสบู่และล้างออกด้วยน้ำสะอาด และแต้มเบตาดีน จากนั้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที อาการเบื้องต้นในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีไข้ต่ำๆ ต่อไปจะมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกกัด มีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง มีภาวะการกลืนลำบาก แม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลากลืน เพราะการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน และสุดท้ายอาจมีอาการชัก เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิต เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการพาสัตว์เลี้ยงของเราไปทำวัคซีนพิษสุนัขบ้ากับสัตวแพทย์ และควรทำการฉีดกระตุ้นซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
(2.) โรคพยาธิ ส่วนใหญ่สัตว์เลี้ยงสามารถติดพยาธิได้จากแม่สู่ลูกยกตัวอย่างเช่น พยาธิปากขอ และพยาธิไส้เดือน สัตว์เลี้ยงที่ติดพยาธิบางครั้งอาจจะไม่แสดงอาการ สำหรับพยาธิปากขอ อาการที่พบได้บ่อยคือ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นสีดำ เหงือกซีด และมีภาวะโลหิตจางร่วม เป็นต้น คนเลี้ยงสามารถติดพยาธิปากขอได้ถ้าสัตว์เลี้ยงของเรามีพยาธิ และไปถ่ายตามสนามหญ้า ในอุจจาระที่มีไข่พยาธิ ซึ่งเมื่อมีอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสมไข่พยาธิจะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ ซึ่งสามารถติดสัตว์เลี้ยง และคนได้ ดังนั้นเราควรนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพ และทำการถ่ายพยาธิพร้อมกันกับการทำวัคซีน จะช่วยลดการเกิดโรคได้
(3.) เชื้อรา (Ringworm) ซึ่งโรคนี้มักพบในแมว จะมี ขนร่วง เป็นวงๆ และมีสะเก็ด ในแมวมักพบการติดเชื้อแบบทั่วตัว หรือเป็นตัวกักเก็บโรคแบบไม่แสดงอาการทางคลินิกใดๆได้ เจ้าของสามารถติดเชื้อราได้จากการอุ้มหรือสัมผัสกับแมวโดยตรงได้ ถ้ามีลักษณะของโรคผิวหนังเกิดขึ้น กับสัตว์เลี้ยงของเรา ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที วิธีการป้องกัน และสังเกตการณ์ติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน ที่ทุกบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงสามารถปฏิบัติได้ คือ
1.นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน
2.ถ่ายพยาธิตามกำหนด
3.ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่สัตว์เลี้ยงอยู่ให้ถูกสุขลักษณะ
4.ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงขึ้นมาบนเตียงหรือที่นอน
5.หากสัมผัสหรือจับสัตว์เลี้ยงให้ล้างมือทุกครั้ง
ส่วนสัญญาณเตือนว่า เรากำลังติดเชื้อโรคจากสัตว์เลี้ยงให้สังเกตอาการง่ายๆ คือ หากมีอาการคันตามผิวหนังมีผื่นแดง และน้ำมูกไหลง่าย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ที่สำคัญเราควรทำความเข้าใจกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยสามารถปรึกษากับสัตวแพทย์จะได้รักษาได้อย่างถูกวิธี