รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
1.เฝ้าหน้าจอ เคาท์ดาวน์หน้าโทรทัศน์
กลุ่มบุคคลนี้ในช่วงเวลาเทศกาลปีใหม่ พวกเขาเลือกที่จะไม่ออกไปไหน แต่เลือกที่จะอยู่กับบ้านหรือที่พักอาศัยมากกว่าจะออกไปเฉลิมฉลองกับผู้คนแต่อย่างใด อย่าคิดว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่มีความรู้สึก หรือมีโลกส่วนตัวสูงนะครับ เพราะบางทีก็อาจมีเหตุผลที่เลือกทำเช่นนั้น ไม่ว่าเป็น การไม่ชอบคนเยอะๆ เพราะมันดูวุ่นวาย อึดอัดยังไงไม่รู้ อีกทั้งช่วงเทศกาลปีใหม่ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวคนย่อมเยอะเป็นธรรมดา เหมือน “แย่งกันกิน แย่งกันเที่ยว” แล้วจะปล่อยให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ลำบากทำไม ปล่อยให้ผ่านช่วงเทศกาลนี้ไปก่อนแล้วค่อยไปเที่ยวไม่ดีกว่าหรอ
2.กินเลี้ยง สังสรรค์
เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ กลุ่มบุคคลนี้จะรวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อกินเลี้ยงสังสรรค์กันไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ร้านอาหาร เรียกได้ว่าสนุกสนานกันอย่างเต็มที่ อาหาร เครื่องดื่มพร้อมสรรพ เพราะไม่มีช่วงเวลาไหนที่จะเจอหน้าคนที่เรารู้จัก คุ้นเคย ได้เท่าช่วงเวลานี้อีกแล้ว
3.สวดมนต์ข้ามปี
อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ ถือว่าได้รับความนิยมจากใครหลายคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยตามวัดวาอารามทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดจะคลาคลั่งไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาร่วมสวดมนต์ข้ามปีเพื่อเสริมศิริมงคลแก่ชีวิต ส่งผลให้พบเจอกับเรื่องดี ๆตลอดทั้งปี เป็นการทำบุญให้กับชีวิตทั้งทางกาย จิต และปัญญา
4.อยู่ตามสถานที่ท่องเที่ยว
ช่วงเทศกาลปีใหม่ หยุดยาวแบบนี้หนีไม่พ้นที่จะเดินทางออกต่างจังหวัดมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยเฉพาะ “ดอย” เพื่อสัมผัสกับอากาศหนาวเพียงไม่กี่องศา หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่คนที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯหรือจากจังหวัดบ้านเกิดมาทำงานที่ที่ ๆหนึ่ง เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่แบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าการเดินทางกลับจังหวัดบ้านเกิดเพื่อได้เจอหน้าคนในครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รักของพวกเขา
เทศกาลปีใหม่เป็นเทศกาลแห่งความสุขนะครับ ใครจะมีกิจกรรมอะไรก็ขอให้ดำเนินการอยู่บนสติ ไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นนะครับ มีความสุขมากๆ นะครับ สวัสดีปีใหม่ครับ