ขณะที่สถานการณ์ของโลกที่โดนัลด์ ทรัมป์ ทำทุกวิถีทางเพื่อหยุดยั้งไม่ให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลก แต่ก็ไม่ได้ชะลอการเติบโตในโลกดิจิทัลแต่อย่างใด ดูตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนอย่าง “อาลีบาบา” ที่มองเป้าหมายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นยุคทองของตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยแจ๊ค หม่า และทีมงานของเขาเข้าซื้อกิจการ “Lazada” ซึ่งเป็นผู้นำมาร์เก็ตเพลสในภูมิภาค
การที่ Alibaba เข้าซื้อกิจการ Lazada ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ เพราะว่ามีผลกระทบทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาดิจิทัล การขนส่ง การเงิน การประกันภัย แม้กระทั่งการรักษาพยาบาล
ย้อนหลังไปปี 2016
ในปี 2016 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายในตลาดอีคอมเมิร์ซ ดังต่อไปนี้
- ทั้งการที่ Lazada ถูกซื้อกิจการโดย Alibaba
- Zalora ที่ตัดสินใจขายให้กับกลุ่มเซนทรัล กรุ๊ปของไทย
- Singpost ต้องพบกับความสูญเสียเมื่อ CEO,COO และ CFO พร้อมใจกันลาออก หลังมีประเด็นอื้อฉาวในการดูแลกิจการ
- Ascend ของ iTruemart ปิดตัวลงในฟิลิปปินส์หลังเปิดตัวได้เพียงไม่กี่เดือน หลังเป็นบริษัทรายแรกจากไทยที่เข้ามาทำธุรกิจ
- Rakuten ผู้นำอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ถอนตัวจากอาเซียน และขายธุรกิจกลับไปยังเจ้าของเดิม
- Bilna ของอินโดนีเซียถูกควบรวมกลายเป็น Orami โดยเน้นเนื้อเกี่ยวกับผู้หญิง
ด้าน แจ๊ค หม่า แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซว่า หากในปี 2016 คือการเรียกน้ำย่อย ปี 2017ก็คืออาหารจานหลักในตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียน ด้วยมูลค่าถึง 238 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นปีที่น่าสนใจ
อะไรจะเกิดขึ้นในปี 2017
ยักษ์หลับตื่นขึ้นมา : Alibaba เข้ามามีบทบาทมากขึ้นหลังซื้อกิจการ Lazada
เรื่องราวเป็นที่พูดถึงในช่วงปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น Alibaba ใช้เงิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าซื้อ Lazada การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ Alibaba จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งและมีบทบาทสำคัญในตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียนภายในปีนี้ ด้วยระบบ โปรแกรม แพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินธุรกิจมายาวนานจะช่วยสร้างโอกาสในระบบเศรษฐกิจ การบริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบเต็มรูปแบบ
ระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงกัน
ระบบโลจิสติกส์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ยิ่งถ้าสามารถจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ยิ่งเป็นเรื่องดีสำหรับธุรกิจ การเข้ามามีบทบาทของ Alibaba ที่มีเครือข่าย Cainiao แพลตฟอร์มรวบรวมผู้จำหน่าย ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้
นอกจากนี้ Alibaba พร้อมที่จะเริ่มนำ Alipay และ Ant Financial รวมถึงระบบโลจิสติกส์ที่ใช้ในจีนเข้าใช้ในอาเซียน
ความสำคัญของการเสริซ์หาผลิตภัณฑ์
น้อยคนจะรู้ว่ายักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba และ Amazon ไม่ใช่เพียงคู่แข่งโดยตรงของพวกเขา แต่ยังมีรายอื่นๆ เช่น JD และ Wal-Mart รวมอยู่ด้วย
การค้นหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งผ่าน keyword และเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซโดยตรง ซึ่ง Alibaba และ Amazon ให้ความสำคัญกับการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต ผลสำรวจในสหรัฐ พบว่า ร้อยละ 55 ผู้คนจะเริ่มค้นหาสินค้าผ่านทาง Amazon เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 44 ในปี 2015 ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพราะว่าการค้นหาผลิตภัณฑ์คือหนึ่งในการสร้างรายได้ที่มีค่าใช้จ่ายต่อคลิ๊ก
ยังมีแนวโน้ม E-Commerce 2017 ใน AEC อีกหลายประเด็นที่จะนำมาเล่ากัน โปรดติดตามได้ในบทความหน้า เร็วๆนี้ครับ