อุปสรรค 10 ประการที่ผู้ประกอบการใหม่มักหลีกไม่พ้น


หากคุณมีความฝันที่จะเป็น ผู้ประกอบการ การสร้างบริษัทโดยเริ่มจากศูนย์นั้นไม่ใช่งานที่ง่ายเลย ไม่แปลกที่เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายต้องมีสิ่งที่ทำผิดพลาดอยู่ตลอด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการใหม่ต้องพบกับอุปสรรคในเส้นทางธุรกิจ และความล้มเหลวบ่อยครั้งทำให้ตระหนักว่าทุกเวลาทุกนาทีนั้นคือต้นทุน และต่อไปนี้คือ ข้อผิดพลาด 10 ประการ ที่ผู้ประกอบการใหม่มักจะทำเมื่อเริ่มตั้งบริษัท 1. ต้นทุนการดำเนินการไม่สะท้อนความจริง มันยากมากที่จะสร้างธุรกิจด้วยตัวคนเดียว  จริงอยู่ที่ว่า ธุรกิจบางอย่าง เช่น ธุรกิจ PR ประชาสัมพันธ์ Tธุรกิจรับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือ ธุรกิจการให้คำปรึกษา เป็นต้น มีความต้องการเงินทุนเริ่มต้นไม่มาก หรือบางธุรกิจต้องการเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคิดในเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาด้วย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายบุคลากร อาทิเช่น ค่าจ้างผู้ช่วยผู้จัดการ ตัวแทนขาย หรือพนักงานระดับต่างๆ หรือแม้กระทั่ง เงินเดือนของตัวผู้ประกอบการเอง หากไม่คิดให้รอบคอบ และสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง อาจจะนำมาซึ่งเหตุการณ์ “ต้นทุนหาย กำไรหด” ได้ 2. หาคนพูดคุยปรึกษาให้มากเข้าไว้ ดีแน่ถ้าจะมีที่ปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ก่อตั้งบริษัทและดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จมาแล้วในธุรกิจด้านเดียวกับคุณแต่แน่นอนว่ายิ่งมีความเห็นจากผู้คนมากมายก็จะทำให้คุณตัดสินใจได้ช้า แล้วคุณจะไม่ได้เริ่มต้นสักทีคำตอบคือ รวมทีมที่ปรึกษาที่เข้มแข็งและนัดปรึกษาพูดคุยอาจจะสองสัปดาห์ต่อครั้ง หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง และในแต่ละวันคุณก็ดำเนินงานของคุณไป 3. ให้เวลากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากเกินไป ไม่เหลือเวลาไปขายของ มันยากที่จะสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่โดยไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่  ผู้ประกอบการที่ใช้เวลามากมายในการคิดค้นอาจจะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งที่มีองค์การการขายที่เข้มแข็ง  เราเรียกก้าวที่พลาดนี้ว่า “ทุ่งแห่งฝัน”ของผู้ประกอบการ ถ้าคุณสร้างมัน พวกเขาจะขายมัน ถ้าคุณไม่ทุ่มเทให้กับการขาย คุณก็จะขาดสภาพคล่องและหมดพลังก่อนที่ผลิตภัณฑ์ของคุณจะประสบความสำเร็จในท้องตลาด 4.เจาะจงตลาดเป้าหมายที่เล็กเกินไป มันดูน่าดึงดูดที่จะทำตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market) แต่การเติบโตของบริษัทจะไปถึงข้อจำกัดอย่างรวดเร็วถ้าคุณเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เล็กเกินไป ให้นึกถึงทีมนักบาสเกตบอลโรงเรียนมัธยมที่ฝันอยากเล่นให้ NBA เพราะว่ามีเพียง 30 ทีม และแต่ละทีมจ้างผู้เล่นแค่จำนวนหนึ่งเท่านั้น โอกาสที่ลูกชายของคุณที่กลายเป็น ไมเคิล จอร์แดน คนต่อไปนั้นมีน้อยนิด  ทางออกคือ ถ้าบริษัทของคุณยังเป็นบริษัทเล็กๆ ก็เลือกตลาดที่ใหญ่ขึ้นสักหน่อย ให้โอกาสตัวเองได้กินพายชิ้นเล็กๆ สักชิ้น 5. เข้าสู่ตลาดโดยไม่มีผู้ช่วยการจัดจำหน่าย มันง่ายที่จะเข้าสู่ตลาดถ้าเรามีเครือข่ายของนายหน้า, โบรกเกอร์, ตัวแทนผู้ผลิต และตัวแทนขายอยู่แล้ว ก็สามารถขายสินค้าของคุณผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายได้เลย แฟชั่น อาหาร สื่อ และอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ ทำงานในลักษณะนี้ แต่กลุ่มอื่นอาจจะไม่ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมธุรกิจประชาสัมพันธ์ สตูดิโอโยคะ และบริษัทดูแลสัตว์เลี้ยงมักต้องต่อสู้เพื่ออยู่รอด ขึ้นลงอยู่ระหว่างความเฟื่องฟูกับความซบเซา ทางออกคือ ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นธุรกิจ ให้มองหาผู้สนับสนุนที่มีศักยภาพที่จะหนุนเสริมเส้นทางธุรกิจของคุณไว้ก่อนเลย 6. จ่ายมากเกินไปเพื่อให้ได้ลูกค้า

การจ่ายเงินค่าโฆษณาอาจนำลูกค้ามาให้มากมาย แต่มันเป็นกลยุทธ์ที่ต้องแลกด้วยเงินจำนวนมาก และกลายเป็นการสูญเสียถ้าไม่ได้ลูกค้าที่มีคุณภาพพอ การลงโฆษณาในนิตยสารหรือเว็บไซต์ต้องใช้เงินจำนวนมาก ถ้าเราจ่ายเงิน 15000 บาท สำหรับค่าโฆษณา เพื่อให้ได้ลูกค้าที่จ่ายเงิน 600 บาทต่อเดือนแล้วก็ยกเลิกใบสมัครในตอนปลายปี ย่อมเป็นการเทเงินโฆษณาทิ้งลงท่อทางแก้คือ ทดสอบ ตรวจสอบ และทดสอบอีกครั้ง ถ้าคุณทำการทดสอบมากพอที่จะแน่ใจว่าจะสามารถทำเงินจากการขายผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้ ดีกว่าจะจ่ายเงินทำการโฆษณาเพื่อให้ได้ลูกค้ามาก่อน

7. ระดมทุนน้อยเกินไป ผู้ประกอบการใหม่หลายคนคิดว่าจำนวนเงินทุนที่ต้งการเพียงเพื่อเอามาเช่าพื้นที ซื้ออุปกรณ์ สต็อกสินค้า แล้วก็รอลูกค้าเดินเข้ามาซื้ออะไรกันนะที่พวกเขาลืมไป ใช่สิ แล้วเงินสำหรับจ่ายเงินเดือน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องจ่ายไปจนกว่าบริษัทจะได้กำไรถ้าคุณไม่ได้ทำบริษัทประเภทที่ทุกๆ คนทำงานแบบอาบเหงื่อต่างน้ำ คุณต้องระดมทุนเพียงพอก่อนที่รายได้จากการขายของคุณจะสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายและสร้างกระแสเงินสดที่เป็นบวกทางออก คำนวณค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อนที่คุณจะเริ่มต้นธุรกิจ 8. ระดมทุนมากไป เชื่อหรือไม่ว่า ระดมทุนมากไปก็เป็นปัญหาเช่นกันบริษัทที่มีทุนมากเกินไปมีแนวโน้มที่จะเทอะทะ จ้างคนมากเกินไป เสียต้นทุนไปกับงานเทรดโชว์ ปาร์ตี้ หน้าโฆษณา และเรื่องจุกจิกอื่นๆ เมื่อเงินถูกจ่ายออกไป และนักลงทุนหมดความอดทน (ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เมื่อ Dot Com ล่มสลาย) ผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายก็อาจจะต้องปิดตัวลง เพราะฉะนั้นจำไว้ว่าไม่ว่าคุณจะระดมทุนได้มากแค่ไหน ก็ต้องเก็บไว้บ้างสำหรับวันที่อาจมีปัญหา 9. ไม่มีแผนธุรกิจ แผนธุรกิจเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กๆ จนถึงบริษัทมหาชน อย่างไรก็ตามรูปแบบของแผนธุรกิจ อาจจะแตกต่างกันไป ผู้ประกอบการใหม่ที่ต้องการเงินทุนเพื่อการเติบโตและคาดว่าใช้เวลามากกว่า 1 ปีกว่าจะได้กำไร ควรจะวางแผนว่าใช้เวลาและเงินเท่าไหร่จึงจะไปถึงเป้าหมายนั่นหมายถึงการคิดให้ครอบคลุมปัจจัยหลักสำคัญ ๆ และสร้างโมเดล 3 ปี ในการขาย การสร้างผลกำไร และประมาณการกระแสเงินสด นอกจากเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์สินค้าและบริการแล้ว คุณต้องใช้มันสมองอันสร้างสรรค์ของคุณสร้างแผนธุรกิจที่สามารถพยากรณ์และกำหนดเป้าหมายสำหรับการเติบโตและความสำเร็จทางธุรกิจได้ 10. คิดให้มาก ขณะที่ผู้ประกอบการจำนวนมากมักตัดสินใจแบบไปตายเอาดาบหน้า ไม่มีการเตรียมตัว ในขณะเดียวกันบางจำพวกก็กลัวที่จะลั่นไก จนกว่าจะแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าแผนจะสำเร็จความจริงคือ แผนธุรกิจไม่ใช่ลูกแก้ววิเศษที่จะพยากรณ์อนาคต พอถึงจุดหนึ่งคุณก็ต้องตัดสินใจที่จะก้าวออกไปและวางใจในโชคชะตา

ทั้งๆ ที่มีหนังสือและบทความมากมายเกี่ยวกับผู้ประกอบการ แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้เสมอที่การเริ่มต้นธุรกิจจะเกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง แค่พยายามหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดใหญ่ๆ ที่จะทำให้บริษัทของคุณไม่สามารถกลับมาสู้ต่อไปได้ก็พอ

ที่มา : www.thinkbusinessplan.com