ความต่างของร้านอาหารแบบบริการตัวเอง 3 ประเภท


  1. Fast Food หรือ QSR (Quick Service Restaurant)

ร้านอาหารที่บริการเร็ว บริการสั่งอาหารและจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์เท่านั้น เช่น แมคโดนัลด์. เคเอฟซี

ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน คือ ลูกค้าดูเมนูบอร์ดเหนือหัว สั่งอาหารและรับอาหาร ที่เคาน์เตอร์เดียวกัน  ร้านอาหารประเภทนี้จะมีการบริหารจัดการแบบหนึ่งที่คล้ายกันหมดจึงบริหารง่ายทุกคนทำต่อได้ทั้งยังลงทุนในด้านวัตถุดิบน้อยเพราะเป็นเมนูที่ตายตัวไม่ยุงและซับซ้อน

  1. Half Service

การสั่งอาหารที่โต๊ะและไปจ่ายเงินที่แคชเชียร์ ซึ่งลักษณะนี้จะพบได้ในแบรนด์อย่าง สเวนเซนส์, ยาโยอิ

ภาพรวมก็คือ Table Service ซึ่งทั้งนี้รวมถึงการสั่งอาหารที่โต๊ะและการจ่ายเงินที่โต๊ะ ก็จะเป็นลักษณะเดียวกัน จะเรียกการให้บริการแบบนี้ว่า Full Service ท่านสังเกตเห็นไหมว่า มันมีรูปแบบการจัดการที่ช่วยลดพนักงานดูแลโต๊ะลงได้ ทั้งยังเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่อิสระ คล่องตัวแบบกลุ่ม millennials aged (อายุ 19 – 35 ปี) เป็นอย่างยิ่ง

  1. Self service

รูปแบบเหมือนร้านบุฟเฟต์ ที่ลูกค้าจะบริการตัวเองด้วยการตัก,เติมและกลับมานั่งทานที่โต๊ะ

ลักษณะการให้บริการแบบนี้คล้ายกับการไปรับประทานในโรงอาหาร เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็เช่นร้านกาแฟ อินเตอร์แบรนด์อย่าง สตาร์บัคส์, โอปองแปง หรือร้านบุฟเฟต์อย่างชาบูชิ