(22 กุมภาพันธ์ 60) ภายในงานเปิดตัวหนังสือ
“การตลาดยุคสร้างสรรค์ 4.0 CREATIVE AGE MARKETING” โดย ดร.สมฤดี ศรีจรรยา ณ C ASEAN ในช่วงแรก
ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ (ยืนตรงกลาง)
ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ / อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขึ้นบรรยายดังนี้
เพราะการศึกษาเรียนรู้คือหัวใจของการพัฒนาตนเองไปสู่ความยั่งยืนของชีวิตและประเทศชาติ อย่างที่เราเห็นได้ในสิงคโปร์กับฟินแลนด์ที่จะถูกจัดอันดับเรื่องดีๆเป็นอันดับต้นๆของโลกเสมอ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าสองประเทศนี้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก สองประเทศนี้จะเน้นย้ำว่าการศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งการศึกษาของเขาที่ว่า เป็นการศึกษาอีกรูปแบบซึ่งต่างจากการศึกษาในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง การศึกษาของเขาไม่ได้เรียนรู้ข้อมูลโดยตรงของหลักวิชาจากอาจารย์ เเต่เป็นการศึกษาที่สามารถเรียนรู้และหาข้อมูลได้นอกห้องเรียน เพราะข้อมูลที่อาจารย์เคยให้ตั้งแต่ประถม, มัธยม, มหาวิทยาลัย กลายเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปในเวลาไม่นาน การศึกษาที่เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาหาความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา การศึกษาอย่างแท้จริงจึงเป็นการศึกษาที่เรียนรู้ว่า “จะเรียนรู้กันอย่างไร” เป็นเรื่องของการ How to lern? เราต้องเรียนรู้ว่าเราจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร? ยกตัวอย่างการศึกษาที่ฟินแลนด์ ชั้นประถมและชั้นมัธยมจะไม่ได้เรียนว่า เราจะผลิตอย่างไร ไม่ได้เรียนว่าจะส่งต่อผลิตภัณฑ์นั้นอย่างไร ไม่ได้เรียนว่าจะทำการตลาดอย่างไร แต่ให้เรียนรู้จากกรณีศึกษาเช่นว่า ถ้าจะทำร้านอาหาร นักเรียนจะคิดอะไรออกได้บ้าง ก็อาจจะคิดถึงเรื่องการผลิต คิดถึงเรื่องกระบวนการ เรื่องการสื่อสาร การตลาดหรือคุณภาพ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้กับของจริง เป็นเรื่องที่สอนวิธีคิดให้แก้ไขปัญหา เมื่อเจออะไรก็สามารถผ่านไปได้
ปัจจุบันมีคนพูดถึงคำว่า 4.0 เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจาก Industrial 4.0 ในประเทศเยอรมัน นั่นเพราะเขามองเห็นแล้วว่าอุตสาหกรรมที่จะพัฒนาต่อไปได้ต้องเป็นอุตสาหกรรม 4.0
อุตสาหกรรม 1.0 นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังเครื่องจักรไอน้ำ
อุตสาหกรรม 2.0 ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วย Mass Production
อุตสาหกรรม 3.0 เริ่มนำเรื่องของ IT และระบบ Automation เข้ามาขับเคลื่อน
อุตสาหกรรม 4.0 เคล้าส์ ชวาป ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร WEF (World Economic Forum) ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Fourth Industrial Revolution การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และบอกว่าอุตสาหกรรม 4.0 นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่องโยงระหว่างเรื่อง Physics, Digital, Biology เข้าด้วยกัน เป็นอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ก้าวหน้าไปอีกยุคหนึ่ง “ซึ่งทั่วโลกไฝ่ฝันที่จะไปถึง”
อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ ได้เขียนหนังสือ The Third Wave : ถอดรหัสคลื่นลูกที่สาม ซึ่งในขณะนั้นเรามาถึงแค่คลื่นลูกที่สาม โดยบอกว่าคลื่นลูกแรกเป็นการปฏิวัติเกษตรกรรม คลื่นลูกที่สองเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมและคลื่นลูกที่สามเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีสาระสนเทศ และทำนายว่าคลื่นลูกที่สี่จะเป็นการรวมเรื่องดิจิทัลเข้ากับเรื่องอื่นๆ ซึ่งคนที่เขียนเรื่อง Digital Economy คนแรกก็ได้เขียนเกี่ยวกับบทบาทของดิจิทัลและทำนายว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าโลกจะเป็นอย่างไร ซึ่งเขียนไว้ในปี 1995 และเกือบทั้งหมดได้เป็นไปตามที่เขาทำนายไว้
ทั้ง อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์และคนที่เขียนเรื่อง Digital Economy คนแรกเราเรียกเขาว่านักอนาคต นักอนาคตไม่ได้ใช้ตำราเดียวกับโหราศาสตร์ แต่เป็นนักคิดที่มองบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยก็ได้นำคำว่า 4.0 มาเป็นไทยแลนด์ 4.0 ก็จะมองถึงวิสัยทัศน์ในระดับการเป็น 4.0 คือทั้งระดับดิจิทัล ฟิสิกส์และชีวะวิทยาจะต้องเชื่อมโยงกัน และการที่ เคล้าส์ ชวาป ได้พูดใน World Economic Forum ครั้งล่าสุดว่าในยุค 4.0 มนุษย์จะเป็นศูนย์กลาง เป็นยุคที่เราจะต้องทำให้ข้อมูลและเทคโนโลยีทั้งหลายเป็นของคน ทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นเรื่องของการ by the People & for the People ซึ่ง Marketing 4.0 ก็จะมาในทิศทางนี้เช่นเดียวกัน
Marketing 1.0 เป็นเรื่องของการยึดถือ Product เป็นศูนย์กลาง ทุกอย่างจะเน้นไปว่าสินค้านั้นดีอย่างไร
Marketing 2.0 เป็นเรื่องของ Consumer หรือผู้บริโภค เน้นความสำคัญว่าลูกค้าจะได้รับอะไรจากสินค้าชิ้นนี้ โดยไปสัมผัสกับอารมณ์ของคนว่าจะพึงพอใจในสินค้าอย่างไร
Marketing 3.0 จะไปไกลกว่าเรื่องของอารมณ์ เพราะเน้นไปที่เรื่องของจิตวิญญาณ (Spiritual Marketing) โดยจะเน้นให้เห็นว่า องค์กร, โปรดัคหรือบริการสามารถเชื่อมโยงไปถึงความคิดและจิตวิญญาณ ให้เห็นว่าจิตวิญญาณที่แท้จริงจะต้องนำไปสู่ประโยชน์ของสังคมและมนุษยชาติอย่างไรและอยู่บนพื้นฐานของ Tripple P คือ Profit-People-Planet อย่างไรบ้าง
ส่วน Marketing 4.0 นั้น ถ้าอยากรู้ว่าจะเป็นยังไง สามามารถหาคำตอบได้ในหนังสือ “การตลาดยุคสร้างสรรค์ 4.0 CREATIVE AGE MARKETING” เขียนโดย ดร.สมฤดี ศรีจรรยา