“เวียดนาม” ภาคส่งออกน่าห่วง ท่ามกลางภาวะแข่งขันสูงใน AEC


การเกิดขึ้นของ AEC ในภูมิภาคอาเซียนนั้น ก่อให้เกิดการค้าและการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกด้วยกัน

มาพูดถึงเวียดนาม หนึ่งในสมาชิก AEC เมื่อปีทีแล้ว 2016 เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านมีปริมาณที่ลดลง คืออยู่ที่ 17.4 พันล้านเหรียญเท่านั้น ลดลงมาจากถึง 4.8% จากปี 2015

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการส่งออกของเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก AEC นั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณที่ลดน้อยถอยลงอย่างน่าใจหาย คือในปี 2014 ส่งออกลดลง 9.27 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2015 ส่งออกลดลง 9.26 พันล้านดอลลาร์ และในปี 2016 ส่งออกแค่ 8.08 พันล้านดอลลาร์

สินค้าเกษตรเวียดนามได้รับผลกระทบมากที่สุด จาก 1.61 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015 ลดลงเหลือ 1.15 พันล้านดอลลาร์ในปี 2016 เลยทีเดียว

“ความจริงแล้วก็คือว่า กิจกรรมทางการค้าในอาเซียนทั้งหมดลดน้อยลง ก็เลยส่งผลให้ภาคการส่งออกเวียดนามลดน้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง” นี่คือคำกล่าวของ Mr. Luong Hoang Thai หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์พหุภาคี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามที่เปิดเผยต่อสื่อมวลชน

ภาคการส่งออกที่ถดถอยลงนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะกับเวียดนามเท่านั้น แต่ประเทศอื่น ๆ ก็เจอปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

เมื่อมองถึงภาพรวมของ AEC ในความจริงแล้ว วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง AEC ไม่ใช่แค่ต้องการเกิดการค้าที่มากขึ้นภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต้องการดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติจากทั่วโลกให้หอบเม็ดเงินมาลงทุนในอาเซียนด้วย

การเกิดขึ้นของ AEC ก็ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของเวียดนาม ที่จะได้บูรณาการการค้าของตนให้เติบโตอีกขึ้น โดยมี 10 ประเทศที่มีจำนวนประชากรรวมกันมากถึง 640 ล้านคน

นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจอาเซียน ได้พูดถึงเวียดนามไว้ว่า “เวียดนามยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเข้ามาเป็นหนึ่งสมาชิก AEC ได้อย่างเต็มที่นักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน” เขาได้ยกตัวอย่างประเทศไทยไว้ว่า “ดูอย่างประเทศไทย ที่ผู้ประกอบการอย่างบิ๊กซีกับเมโทรได้ควบรวมกิจการ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าเข้าด้วยกันแล้ว เป็นต้น”

จึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า เวียดนามจะบูรณาการทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้อย่างไร ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นของกลุ่มทุนต่างชาติ และประเทศสมาชิกในอาเซียนด้วยกันเอง

 

 

 

 

 

ชายเล็ก บดินทร์