GI 4.0 (EP.1) ผลลัพธ์มหาศาลในการยกระดับสินค้า “จีไอ”


GI (Geographical Indication) คือสินค้าอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งทางด้านของแหล่งที่มา, คุณภาพและชื่อเสียงของสินค้า “จีไอ” มีความแตกต่างจากสินค้าทั่วไปทั้งทางด้านรูปแบบและรสชาตินั่นเพราะเป็นผลผลิตที่เกิดจากท้องถิ่นนั้นเท่านั้น เช่น สัปปะรดภูเก็ต, ทุเรียนนนท์, ร่มบ่อสร้าง, ไข่เค็มไชยยา, ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ ฯลฯ “จีไอ” จึงเปรียบเสมือน “แบรนด์ของท้องถิ่นนั้นๆที่สามารถการันตีได้ถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า”

นอกจากนี้ “จีไอ” ยังเป็นโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ โครงการ 1 จังหวัด 1 “จีไอ” โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้วางแผนให้ปี 2560 ทุกจังหวัดจะต้องมีสินค้าในท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ชนิดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า จีไอ

ปัจจุบันสินค้า “จีไอ” ในประเทศไทยมีอยู่กว่า 100 รายการ แต่สินค้าไทยที่ขึ้นทะเบียนไว้มีเพียง 75 รายการเท่านั้น ซึ่งมีประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนามและกัมพูชา ได้เข้ามาจดทะเบียน “จีไอ” ในบ้านเรา ส่วนไทยเองก็ได้นำสินค้า “จีไอ” เข้าไปจดทะเบียนไว้ที่เวียดนามและอินโดนีเซียแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อการแสดงความเป็นเจ้าของในแง่ของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

SMEs จะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการขึ้นทะเบียน “จีไอ”?

  • คุ้มครอง ชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียน
  • สร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชนเพิ่มความสามัคคีเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
  • เพิ่มมูลค่าให้สินค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่เข้มแข็ง
  • สนับสนุน การท่องเที่ยวชุมชนและผู้ผลิตอย่างยั่งยืน
  • ดูแลรักษา มาตรฐานของสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • สร้างความเชื่อมั่น ในแหล่งที่มาของคุณภาพและตัวสินค้าให้กับผู้ซื้อ

ยกระดับ “จีไอ” ได้ผลลัพธ์มหาศาล

เพราะสินค้า “จีไอ” เป็นสินค้าที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านคุณภาพ,ชื่อเสียงและความต้องการของตลาดอยู่แล้ว แต่ถ้า SMEs สามารถเพิ่มผลผลิตและมาตรฐานให้สินค้าบวกกับกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง เช่น การสร้างร้านค้าออนไลน์, การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของดีไซด์หรือแพคเกจจิ้งให้ตอบรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน สินค้า “จีไอ” ในท้องถิ่นนั้นๆก็จะสามารถต่อยอดการค้าไปยังอีกหลายกลุ่มและหลากหลายประเทศยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถสร้างมูลเพิ่มให้สินค้าได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทั้งชุมชนและให้ภาครัฐฯเข้ามาสนับสนุนเรื่องต่างๆที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังขาดความพร้อม

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

GI 4.0 (EP.1) ผลลัพธ์มหาศาลในการยกระดับสินค้า “จีไอ”

GI 4.0 (EP.2) รู้จัก “75 จีไอ” สินค้าเด็ดที่ผลิตได้เฉพาะไทยแลนด์โอนลี่

GI 4.0 (EP.3) กรณีศึกษา : ญี่ปุ่นเร่งจดทะเบียนสินค้าเกษตรในต่างชาติ