รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
มีนักวิจัยสองคนจากสหรัฐฯ ได้ประเมินว่า ความผิดปกติภายในร่างกายจนกลายมาสู่การเป็นมะเร็งนั้น เกิดจากสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต ปัจจัยทางพันธุกรรม และโอกาสเสี่ยงในภาวะต่าง ๆ แต่โดยรวมแล้ว 66% ของการกลายพันธุ์ของยีนมาสู่การเป็นมะเร็ง เกิดจากความผิดพลาดของเซลล์ในร่างกาย นี่เป็นข้อมูลที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์มาแล้ว
“ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีส่วนผลักดันให้เกิดการกลายพันธุ์ 29% ส่วนที่เหลืออีก 5% เกิดจากกรรมพันธุ์” Dr.Bert Vogelstein และ Cristian Tomasetti นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ เป็นผู้กล่าว
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยทั้งสองได้ยืนยันว่า ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งส่วนใหญ่มักเกิดจากดีเอ็นเอมีความผิดพลาดเมื่อเซลล์เกิดการแบ่งตัวขึ้น ซึ่งข้อมูลใหม่ของพวกเขาระบุว่า โชคชะตา วิถีชีวิต และปัจจัยทางพันธุกรรม มีความสำคัญมากกว่าสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง
ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้เคยเผยแพร่มาแล้วในปี 2015 นักวิจัยทั้ง Tomasetti และ Vogelstein เห็นพ้องต้องกันว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง มีความสัมพันธ์อย่างมากกับจำนวนเซลล์ทั้งหมด ที่สามารถส่งผลให้เกิดมะเร็งได้ทั้ง 31 ชนิด
นักวิจัยทั้งสองยังได้ประเมินอีกว่า จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดในเนื้อเยื่อ อาจกลายพันธุ์จนเกิดโรคมะเร็งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังได้มีการเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเหล่านี้ในสหรัฐฯ ด้วย โดยนักวิจัยทั้งสองพบว่า การแบ่งตัวของเซลล์มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคมะเร็ง
สำหรับกรณีศึกษาใหม่ของพวกเขา เรื่องการวิเคราะห์ลำดับของจีโนมและข้อมูลทางระบาดวิทยาจากมะเร็ง 31 ชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น เกือบสองในสามของการกลายพันธุ์ เกิดจากความผิดพลาดของเซลล์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
สรุปก็คือ มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งได้ทั้งนั้น โดยส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การกิน นอน ทำงาน ออกกำลังกาย เป็นต้น ทุกอย่างควรจะสมดุลกันอย่างลงตัว
ชายเล็ก บดินทร์