GI 4.0 (EP.4) ข้าว 9 ชนิด “จัดว่าเลิศที่สุดในไทย”


ถ้าให้นึกถึงของขึ้นชื่อในประเทศไทย แน่นอนว่าโพลอันดับต้นๆจะต้องมี “ข้าว” ติดโผอยู่อย่างแน่นอน แต่ถ้าเจาะลึกลงไป ก็อาจมีน้อยคนที่จะรู้ว่าบ้านเรามีข้าวพันธุ์อะไรบ้างที่จัดว่าดีเลิศที่สุด ถ้างั้นมาร่วมภูมิใจกับ “ข้าวไทย 9 สายพันธุ์” ที่ผลิตได้เฉพาะไทยแลนด์โอนลี่กันเถอะ

  1. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์

ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ขาวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่ผลิตในจังหวัดสุรินทร์ในฤดูนาปีและมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

  1. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง

ข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยด เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์เบา ไวต่อแสง ปลูกฤดูนาปีในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง การเก็บเกี่ยวต้องเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ในระยะพลับพลึง หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว จะต้องเก็บรักษาข้าวให้มีความชื้น 14-15 เปอร์เซ็นต์

  1. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูนาปีและมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ต้อง “เพาะปลูกในที่ราบทุ่งกุลาร้องไห้เท่านั้น” โดยประกอบไปด้วย 5 จังหวัด รวม 2,107,690 ไร่ ดังนี้

จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย ตำบลที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในอำเภอเกษตรวิสัย, สุวรรณภูมิ, ทุมรัตต์, โพนทราย และกิ่งอำเภอหนองฮี รวม 986,807 ไร่

จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยตำบลที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในอำเภอท่าตูมและอำเภอชุมพลบุรี รวม 575,993 ไร่

จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยตำบลที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในอำเภอราษีไศลและกิ่งอำเภอศิลาลาด รวม 287,000 ไร่

จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยตำบลที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในอำเภอพยคัฆภูมิพิสัย รวม 193,890 ไร่

จังหวัดยโสธร ประกอบด้วย ตำบลที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในอำเภอมหาชนะชัยและค้อวัง รวม 64,000 ไร่

  1. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี

ข้าวกล้องที่ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกเหนียว พันธุ์ กข.6 หรือข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในระยะเป็นน้ำนมยังไม่แก่จัด ปลูกในพื้นที่อําเภอวาริชภูมิ, พังโคนและอากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร โดยนํามาผ่านกรรมวิธีเฉพาะตามหลักประเพณีการทําข้าวฮางที่สืบต่อกันมาในพื้นที่

  1. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้

ข้าวที่ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกพันธุ์เจ๊กเชย ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองและเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ปลูกในช่วงฤดูนาปีในพื้นที่อำเภอเสาไห้, อำเภอเมือง, หนองแซง, วิหารแดง, หนองแค, หนองโดนและกิ่งอำเภอดอนพุดจังหวัดสระบุรี

  1. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์

ข้าวพันธุ์กอเดียว (ข้าวพันธุ์พื้นเมือง) และข้าวพันธุ์ กข 6 เป็นข้าวเหนียวที่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ในเขตพื้นที่อําเภอเขาวง, กุฉินารายณ์ (เฉพาะตําบลนาโกและตําบลหนองห้าง) และกิ่งอําเภอนาคู (เฉพาะตําบลนาคูและตําบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์

  1. ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร

ข้าวเจ้าพันธุ์เหลืองประทิว 123 เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์หนัก ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีตามระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร

  1. ข้าวก่ำล้านนา

ข้าวเหนียวที่มีเมล็ดสีดำ ที่ได้จากข้าวก่ำพันธุ์ดอยสะเก็ด ข้าวก่ำพันธุ์อมก๋อย ข้าวก่ำพันธุ์พะเยา และข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นข้าวเหนียวด่ำไวต่อช่วงแสง ปลูกในฤดูนาปีของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ล่าปาง ล่าพูน แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน

  1. ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์

ข้าวไร่ลืมผัวที่ใช้ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวมาปลูกเป็นข้าวไร่ ไวต่อช่วงแสง เมล็ดมีสีม่วงดำ ปลูกในพื้นที่ระดับความสูง 400 – 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลของจังหวัดเพชรบูรณ์

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

GI 4.0 (EP.1) ผลลัพธ์มหาศาลในการยกระดับสินค้า “จีไอ”

GI 4.0 (EP.2) รู้จัก “75 จีไอ” สินค้าเด็ดที่ผลิตได้เฉพาะไทยแลนด์โอนลี่

GI 4.0 (EP.3) กรณีศึกษา : ญี่ปุ่นเร่งจดทะเบียนสินค้าเกษตรในต่างชาติ