BURNOUT SYNDROME “ภัยเงียบคนทำงาน”


อาการเหน็ดเหนื่อยและเมื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ เป็นเรื่องปกติที่คนทำงานต้องเจอ เมื่อเจอกับงานหนักมาตลอดทั้งวัน ซึ่งอาการเหล่านั้นก็สามารถหายไปได้เมื่อได้พักผ่อนเต็มที่แต่ถ้าหากพักผ่อนแล้ว หรือหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายแล้ว แต่ยังรู้สึกหมดไฟในการทำงานและรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังไม่สบายหรือป่วยแล้ว สำรวจตัวเองสักนิดว่าคุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า เบื่อหน่าย ท้อแท้ หงุดหงิดง่าย ไม่อยากคุยกับใคร นอนไม่ค่อยหลับ สมองไม่แล่น ขาดสมาธิในการทำงาน ปวดหลัง ปวดศรีษะ ท้องไส้ปั่นป่วนบ่อย ๆ ถ้าใช่แสดงว่าคุณ อาจจะอยู่ในภาวะ “BURNOUT SYNDROME”

วิธีสังเกตุอาการของง่าย ๆ ดังนี้

  1. อ่อนเพลีย
    สัญญาณที่ชัดเจนของโรค BURNOUT SYNDROME คือ จะรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา โดยอาการอ่อนเพลียนี้จะส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์ สภาพจิตใจ รวมทั้งสภาพร่างกายอีกด้วย
  1. ขาดแรงจูงใจ
    เมื่อรู้สึกว่าตัวเองขาดความกระตือรือร้นและรู้สึกหมดแรงจูงใจในการทำงาน วิธีสังเกตอาการได้ง่ายที่สุด คือ หากในตอนเช้าคุณรู้สึกไม่อยากไปทำงาน แบะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก กว่าจะลากตัวเองออกจากเตียงมาทำงาน
  1. อารมณ์ร้าย
    มองโลกแง่ลบ คือ เริ่มทำอะไรต่าง ๆ โดยไม่สนใจใคร และ สิ่งรอบข้าง เริ่มมีทัศนคติลบกับงานที่ทำอยู่ มองสิ่งที่ทำแง่ร้ายตลอดเวลา ในขณะที่คนอื่นจะเกิดความรู้สึกแค่ในบางครั้ง
  1. ไม่มีสมาธิ
    ความเครียดเรื้อรังจะไปรบกวนจิตใจทำให้คุณไม่มีสมาธิ เพราะเมื่อเรากำลังเครียด ความสนใจของเราจะลดน้อยลงและจะให้ความสนใจแต่ในสิ่งที่เป็นแง่ลบ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและทำให้คุณขี้ลืมได้เช่นกัน
  1. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
    ลองนำผลงานเก่าๆมาเปรียบเทียบกับงานล่าสุดของคุณหากงานในปัจจุบันของคุณไม่ค่อยดีเท่าไร นั่นแปลว่าโรคนี้กำลังเริ่มคุกคามคุณเพราะความเหน็ดเหนื่อยจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณลดลง
  1. มีปัญหากับที่บ้านหรือที่ทำงาน
    หากคุณขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น หรือเริ่มมีการพูดคุยกับเพื่อนที่ทำงานและครอบครัวลดลง นั่นแปลว่าคุณกำลังมีอาการของโรค
  1. ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
    เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงขึ้น มักจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ผิด เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ บางรายก็อาจจะนอนไม่หลับทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เครียดกว่าเดิม
  1. หมกมุ่นอยู่กับการทำงาน
    แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ที่ทำงานก็ตาม จนทำให้คุณเอาแต่ทำงานจนกลายเป็นคนบ้างาน ทั้งที่เป็นเวลาที่คุณควรพักผ่อน ส่งผลให้คุณไม่มีเวลาผ่อนคลาย
  1. มีความสุขน้อยลง
    เมื่อโรคดังกล่าวถูกคุกคามชีวิตคุณจนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะทำให้คุณมีความสุขและพึงพอใจกับชีวิตส่วนตัวรวมทั้งการทำงานน้อยลง ขนาดแม้แต่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะทำให้คุณรู้สึก ไม่พอใจจนทำให้คุณอาจหงุดหงิดไปได้ทั้งวัน
  1. สุขภาพย่ำแย่
    ความเครียดที่สะสมจนเรื้อรัง จะส่งผลต่อสุขภาพ ได้มากมาย

วิธีปฏิบัติหากเกิดอาการเหล่านี้

  1. ผ่อนคลายความเครียด
    โดยการหากิจกรรมทำ ซึ่งกิจกรรมที่ทำต้องรู้สึกผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด
  1. หากิจกรรมอย่างอื่นทำ
    นอกเหนือจากการทำงาน ควรมองหากิจกรรมที่สร้างความท้าทายและออกไปใช้ชีวิตจริง ๆ อย่างเช่น กีฬา ออกกำลังกาย
  1. เลิกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    ในเวลาพักผ่อนควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากสิ่งของเหล่านี้
  1. นอนหลับให้เพียงพอ
    การนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน นั้นจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและผลของงาน
  1. จัดระเบียบให้ชีวิต
    เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต
  1. ขอความช่วยเหลือ
    ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือคนรอบข้าง ถ้าหากอาการมีผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตก็ควรพบจิตแพทย์

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก วารสารกรมสรรพากร ฉบับที่ 60 ประจำเดือน พฤษภาคม 2560