รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
1. ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม)
ด้วยความร้อนที่อบอ้าวอาจส่งผลให้ร่างกายมีอาการตัวร้อน ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก หรืออาจเกิดผื่นเป็นเม็ดขึ้นตามร่างกาย อาการดังกล่าว สามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยอาหารรสขมเย็น รสเปรี้ยว รสจืด อาหารเหล่านี้จะช่วยลดความร้อนได้
อาหารพื้นบ้านที่ควรรับประทานในฤดูร้อน เช่น มะระขี้นก ผักกูด ตำลึง ชะอม มะขาม ผักหวาน
สำหรับเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับฤดูร้อน คือ น้ำผลไม้รสเปรี้ยวจะช่วยคลายร้อนได้ เช่น ส้ม สับปะรด
2. ฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน)
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนความเย็นจากธรรมชาติจะเพิ่มมากขึ้น แต่อาจทำให้ร่างกายมีการเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะความเย็นที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายมักเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นไข้หวัด อาการดังกล่าวสามารถป้องกัน ได้โดยอาหารรสขม และอาหารรสเผ็ดร้อน
อาหารพื้นบ้านที่มีรสเผ็ดร้อน คือ ยอดพริก โหระพา ยี่หร่า แมงลัก กะเพรา ขิง ข่า เป็นต้น
3. ฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม)
ความหนาวเย็นของธรรมชาติส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง หากร่างกายไม่อาจต้านทานได้จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย และทำให้มีอาการผิวแห้ง มึนศีรษะ น้ำมูกไหล ท้องอืด
อาหารที่เหมาะกับอากาศในฤดูหนาว คือ อาหารรสขมร้อน และรสเปรี้ยว
อาหารพื้นบ้านที่เหมาะสมกับการรับประทานในหน้าหนาว คล้ายกับรับประทานในหน้าฝน ตัวอย่างเช่น ข่าอ่อน กระชาย พริกไทย ยอดพริก ขมิ้น และผักที่มีรสเผ็ดร้อนทุกชนิด