ปัญหาโลกแตก! ทำอย่างไรเมื่อโดนก็อป!!


ทำอย่างไรเมื่อโดนก็อป? กูรูพี่วัช มีคำแนะนำดีๆมาฝากกัน มีใจความว่า…..

แน่นอนว่าการพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจสำเร็จ แต่ที่แน่นอนเมื่อธุรกิจของเราประสบความสำเร็จแล้วนั้นสิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ โดนก็อปปี้! ซึ่่งถื้อเป็นเรื่องน่าเศร้าของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ กว่าที่แบรนด์ๆหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องใช้เวลานาน แต่การที่จะโดนก็อปปี้นั้นใช้เวลาแค่เพียงแปปเดียว

ปัญหาโลกแตกของใครหลายๆคนที่โดนก็อปปี้สินค้า ซ้ำยังโดนขายตัดราคา ถือได้ว่าเป็นฝันร้ายของเจ้าของแบรนด์ทุกคน ซึ่งกูรูพี่วัชได้ให้คำแนะนำในการรับมือการโดนก็อป ดังนี้

1. ต้องรู้เขา รู้เรา 

เมื่อเรารู้แล้วว่าสินค้าของเราโดนก็อป อย่างแรกที่เราทำคือ ลองไปพิจารณาดูว่าสินค้าที่ก็อปเราไปนั้นมีส่วนไหนทีเหมือนหรือแตกต่างจากเราบ้าง

2. ต้องรู้ราคาขาย

โดยการสอบถามราคาขายจากทางร้าน ทั้งแบบขายปลีก ขายส่ง เพื่อคิดถึงต้นทุนในการผลิตของเขา เพื่อที่เราจะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้

3. ต้องรู้แหล่งขาย

อันดับต่อมาหลังจากที่เราพอรู้ข้อมูลคร่าวๆมาแล้วนั่น ต่อไปเราต้องรู้แหล่งขายของเขาทั้งหมด เพื่อที่จะรู้ว่าทำเลที่เขาขายขายใกล้กับเราหรือป่าว?

เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เราต้องมานั่งพิจารณาว่าเราจะสามารถทำอะไรต่อไปได้บ้าง และเหตุใดสินค้าของเราจึงโดนก็อป ซึ่งการโดนก็อปนั้นแสดงให้เห็นว่าสินค้าของเราต้องมีจุดเด่นอะไรสักอย่างที่ทำให้มีคนอยากลอกเลียนแบบ และเราต้องคิดต่อมาเราจะเอายังไงกับปัญหานี้ เราจะยอมแพ้ หรือจะสู้ต่อ แต่การที่เราจะยอมแพ้ก็คงไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะอย่างไรเราก็เป็นคนทำสินค้านี้มาเป็นคนแรก อย่าเพิ่งคิดท้อแท้แค่โดนก็อปปี้ คิดให้รอบคอบ วิเคราะห์ 3 ข้อที่กล่าวมาให้ได้ และหาเหตุผลให้ได้ว่า

1. จุดขายของเขาคืออะไร?

2. เขาขายใคร?

3. ลูกค้าของเขาซื้อด้วยเหตุผลอะไร?

4. เขาขายที่ไหน?

5. ทำไมเขาถึงขายดี?

โดยทั้งหมด 5 ข้อนี้เราต้องหาเหตุผลมาให้ได้ และเมื่อเราได้คำตอบแล้ว เรานำสิ่งที่เราคิดว่าจะสามารถนำมาพัฒนากับสินค้าเราได้มาพัฒนา และที่แน่นอนสิ่งที่เราควรทำมากที่สุด หรือทำในอันดับแรกเมื่อเราทำสินค้าขึ้นมาคือ การจดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการดีไซน์รูปแบบ หรือความพิเศษของสินค้าของเราที่แตกต่างจากคนอื่น เพียงเท่านี้ไม่ว่าจะเกิดการก็อปขึ้นมาเราก็จะสามารถเอาผิดกับคนละเมิดลิขสิทธิ์ของเราได้แล้ว เพื่อนๆอย่าลืมนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ