เจาะลึก ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการ


คุณแอน วรรณประทีป ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย SME / หุ้นส่วน บริษัท แอดลอว์ แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด กล่าวในรายการ SME Smart Service มีใจความว่า

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โลก” กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และแน่นอนว่าเมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งนักการตลาดหลายท่านวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุไปในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจดังกล่าวฯ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการ แต่ในขณะเดียวกันยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด เนื่องจากพึ่งเป็นธุรกิจที่พึ่งได้รับความนิยมจากนักลงทุนสำหรับการเปิดกิจการไม่มาก

สำหรับ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ มีการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. การส่งผู้ดูแลไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน : ซึ่งการทำธุรกิจผุ้สูงอายุรูปแบบนี้ยังไม่มีกฏหมายบังคับใช้เท่าไหร่นัก โดยทางกระทรวงสาธารณะสุขก็ได้เข้ามาดูแลธุรกิจรูปแบบนี้อยู่ ซึ่งตัวผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นมีโรคภัยหรือมีสมรรถนะทางร่างกายที่ลดน้อยลง ทำให้ต้องระมัดระวังในการดูแลหรือต้องเพิ่มความใส่ใจในการดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น จึงมีกฎหมายเข้ามาควบคุมการดูแลผู้สูงอายุ โดยเป็นการกำหนดกฎหมายในวงกว้างๆ อาทิเช่น การดูแลเรื่องสุขอนามัยผู้สูงอายุให้ดี และ ผู้ดูแลต้องผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุมาโดยเฉพาะแล้ว

2. สถานบริการดูแลผู้สูงอายุ : โดยการทำธุรกิจในรูปแบบนี้จะมีทั้งแบบไปรับผู้สูงอายุมา หรือจะเป็นการดูแลแบบค้างคืน แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นโรงพยาบาล ต้องคอยให้ยาเป็นประจำหรือต้องมีแพทย์คอยตรวจตลอดเวลา โดยธุรกิจรูปแบบนี้จะเป็นการดูแลนั้นจะเป็นในเรื่องของการดูแลโภชนาการอาหาร หรือจะเป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมทำยามว่างที่เหมาะสมกับวัยหรือเข้ากับความสามารถของผู้ป่วย โดยให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดี

ดังนั้นหากใครจะลงทุนธุรกิจดูแลผู้สูงอายุสิ่งแรกที่ต้องตระหนักคือความพร้อมของตัวคุณและเจ้าหน้าที่ว่ามีพื้นฐานการดูแลผู้สูงอายุมากน้อยแค่ไหน รวมถึงที่สำคัญได้ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ เพื่อความสบายใจของผู้ใช้บริการและธุรกิจดูแลผู้สูงวัยของคุณถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

[บทความทั้งหมด] | [คลิปรายการทั้งหมด]