วันอังคาร, มิถุนายน 18, 2567

เซเว่นฯ เผย! เทคนิคนำของเข้ามาขายในร้าน และสินค้าขายดีจาก SMEs

by Smart SME, 24 กรกฎาคม 2560

เซเว่น นำเข้าสินค้าจาก SMEs จำนวนมาก จากการให้สัมภาษณ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ Smart SME โดย คุณบัญญัติ  คำนูณวัฒน์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าร้านสะดวกซื้ออย่าง “เซเว่นอีเลฟเว่น” ได้นำเข้าขายสินค้าจาก SMEs จำนวนไม่น้อย แต่คนมักเข้าใจผิดเพราะจะเห็นว่าสินค้าเหล่านั้นได้ติดโลโก้ของเซเว่นฯบนบรรจุภัณฑ์ จึงอาจมองว่าเป็นสินค้าของเซเว่นฯที่ผลิตและขายเอง ในขณะที่สินค้าเครือซีพีที่วางขายในเซเว่นฯมีไม่ถึง 10% ทั้งนี้เซเว่นฯ จึงจำแนกสินค้าของ SMEs ที่ติดโลโก้เซเว่นฯออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  1. Seven Select

หมายถึงร้านเซเว่นฯได้คัดสรรสินค้ามาให้ผู้บริโภคแล้ว  ซึ่งเป็นสินค้าที่เซเว่นฯ ไม่ได้ผลิตเองแต่เป็นสินค้าของ SMEs

  1. Seven Fresh

เป็นสินค้าที่เซเว่นฯต้องการนำเสนอถึงความสดใหม่ เช่น เบเกอรี ขนมปัง ผลไม้ ฯลฯ ซึ่งจริงอยู่ที่สินค้าประเภทนี้ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าในกลุ่มซีพีออลล์เอง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นของบริษัทอื่นๆทั้งที่เป็น SMEs และผู้ค้ารายใหญ่

  1. Only at Seven

คือสินค้าของ SMEs ทั้งรายเล็กรายกลาง ที่เซเว่นฯได้ร่วมคิดค้น พัฒนาสินค้าชิ้นนั้นขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เซเว่นฯต้องขอสงวนสิทธิ์ขายสินค้าชิ้นนั้นๆเฉพาะในเซเว่นฯเท่านั้น เซเว่นฯถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีศักยภาพเพราะมีสาขาถึง 10,000 แห่งในประเทศไทย กับจำนวนสินค้าทั้งหมดกว่า 20,000 รายการ ซึ่งหาก SMEs นำสินค้าเข้ามาวางขายก็จะเป็นการทำธุรกิจที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย ทั้ง SMEs ก็จะมีตลาดกระจายสินค้าได้มากขึ้น ส่วนเซเว่นฯเองก็จะมีสินค้าที่ Differentiate เพื่อสร้างความแตกต่างในตลาดแข่งขัน การคัดเลือกสินค้า เซเว่นได้แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ

  • มีทีม merchandise ออกไปค้นหาสินค้าน่าสนใจและตรงตามความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเข้ามาขายในร้าน
  • ด้านเจ้าของสินค้า ได้ติดต่อเข้ามาในบริษัทเพื่อขอนำเสนอสินค้า

เนื่องจากเซเว่นฯเป็นร้าน "อิ่มสะดวก" ที่มีสินค้าหลักในร้านเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นหน้าที่ของเซเว่นฯ จึงต้องออกไปเสาะแสวงหาอาหารและเครื่องดื่มที่ “แปลกใหม่” มีคุณภาพดีและปลอดภัยมาสนองความต้องการให้ลูกค้า และขณะนี้เซเว่นฯกำลังมองหาสินค้าที่เป็น "ของดีประจำท้องถิ่นหรือจังหวัด" มาขายในร้านเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้บริโภค

สำหรับสินค้า SMEs ที่ขายผ่านเซเว่นฯอยู่ 2 ลักษณะคือสินค้าทดลองตลาดซึ่งจะขายอยู่ในแคตตาล็อก 24 shopping ซึ่งมี SMEs เข้าร่วม 1,800 ราย และอีกส่วนคือสินค้าที่ขายดีมากแล้วก็จะถูกนำไปวางบนเชลล์ในร้าน มี SMEs ร่วมอยู่ 200 ราย กับสินค้าที่วางขายในร้านกว่า 1,000 รายการ

โดยผู้ประกอบการที่ต้องการนำสินค้ามาแนะนำเพื่อวางขายในร้านต้องมีคุณสมบัติดังนี้ SMEs ต้องมั่นใจว่าสินค้าชิ้นนั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารก็ต้องมีความอร่อยและโดดเด่น มีความปลอดภัย ที่สำคัญต้องมีราคาที่ไม่สูงมากเหมาะสมที่จะขายในเซเว่นฯ เนื่องจากลูกค้าที่เข้าร้านไม่ได้จ่ายเงินต่อชิ้นแพงมาก โดยยอดบิลเฉลี่ยต่อคนอยู่ทื่ 60-80 บาท นี่จึงทำให้เซเว่นฯต้องคัดสรรสินค้าที่ดีและมีความเฉพาะเจาะจง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคทุกกลุ่ม”

เมื่อนำเสนอแล้ว ขั้นต่อมาต้องผ่านการชิมหรือผ่านการพิจารณาด้านต่างๆ เช่น เรื่องความสวยงามของแพคเกจจิ้งและขนาด เพราะหากใหญ่ไปก็จะไม่สามารถขายได้ในเซเว่นฯ “คนเข้าเซเว่นส่วนมากไม่ซื้อของที่เป็นไซส์ใหญ่ๆ” ถัดมาคือการทดลองนำไปวิเคราะห์ถึงความสะอาดว่ามีสารตกค้างหรือใส่สารกันบูดหรือไม่? เมื่อมั่นใจว่าขายได้ จากนั้นเซเว่นฯก็จะส่งคนไปตรวจดูโรงงานถึงความน่าเชื่อถือ ความสะอาด ตรงตามหลัก อย. และถูกกฎกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งต้องใช้เวลาคัดกรองหลายเดือนและในบางรายก็เป็นปี เพราะสินค้าอย่างประเภทอาหารก็ต้องมีทีมพิจารณาหลายทีม เช่น ทีมพิจารณาสี, กลิ่น, รส, ความสวยงาม ฯลฯ

หลายคนอาจมองว่าการจะนำสินค้าเข้าเซเว่นฯเป็นเรื่องยาก ซึ่งก็ยากจริงๆเพราะกว่าที่เซเว่นฯจะมาถึงจุดนี้ได้ เราต้องผ่านการคัดสรรสินค้าคุณภาพและความอร่อยมาอย่างมากมาย ฉะนั้นเซเว่นฯจึงต้องการสินค้าที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค แต่หากสินค้าของ SMEs สามารถตอบสนองความต้องการของเซเว่นฯดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้ การนำเข้าสินค้าก็ไม่ไช่เรื่องยากอะไรเลย

ด้านสินค้า SMEs ที่ขายดีในเซเว่นฯ ได้แก่ กล้วยหอมสด ที่ขายได้กว่าวันละ 200,000 ลูก, น้ำมะพร้าว, มะม่วงเกษตรแปรรูปแบบต่างๆ, มะขามแปรรูป, กล้วยแปรรูปและทุเรียนทอด นอกจากสินค้าเกษตรแปรรูปที่ขายดีแล้วยังมีขนมปังและแซนวิชที่ขายดีมากๆ โดยเฉพาะแซนวิชแฮมชีสที่ขายได้ถึง 500,000 ชิ้นต่อวัน ซึ่งก็มี SMEs จำนวนไม่น้อยที่เป็นธุรกิจไซส์ S จากการเริ่มต้นขายในเซเว่น แล้วต่อมาก็เติบโตจนกลายมาเป็น SMEs ไซส์ M และ L

สุดท้ายอยากให้ SMEs หมั่นพัฒนาตนเองเพื่อก้าวให้ทันโลก เพราะการทำธุรกิจยุคปัจจุบันต้องทันกระแสสังคมและตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าเป็นหลัก ต่างจากอดีตที่ผู้ประกอบการต้องผลิตในสิ่งที่เขาเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบัน SMEs ต้องเปลี่ยนมาผลิตในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ พร้อมกับการบริหารที่ทันสมัยและรู้จักใช้เทคโนโลยีเข้ามาผสาน สำคัญที่สุดคือต้องไม่ท้อถอยและอดทนรอความสำเร็จให้ได้

ติดต่อนำเสนอสินค้าเข้าเซเว่นฯ 02- 677-9000

 

อ่านต่อ : 8 สินค้า SMEs ขายดีในเซเว่น!! [คลิกที่ภาพ]


Mostview

กรณีศึกษา “เจ๊นิด” ใช้กลยุทธ์อะไรถึงขายทุเรียนแพงกว่าที่อื่น แต่คนยังซื้อ

ช่วงนี้เป็นฤดูของ “ทุเรียน” แน่นอนว่าหากใครที่ชื่นชอบราชาผลไม้ชนิดนี้จะสามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป

Karun แบรนด์ชาไทยพรีเมียม ทำรายได้รวมปี 2566 กว่า 100 ล้านบาท

ในยุคที่ “ชาไทย” ครองเมือง การปั้นแบรนด์ขึ้นมาเพื่อเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคดูจะเป็นเรื่องหนักหนาอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะด้วยการแข่งขันที่มีผู้เล่นมากหน้าหลายตา แต่ละรายล้วนมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองจนเป็นภาพจดจำให้กับลูกค้า

Jensen Huang ซีอีโอ Nvidia เป็นคนไม่ใส่นาฬิกา เพราะได้แนวคิดอันน่าทึ่งมาจากคนสวน

เมื่อพูดถึงเครื่องประดับที่หลายคนตลอดจนนักธุรกิจต้องมีติดตัวหนึ่งในนั้นคือ “นาฬิกา” โดยสามารถแสดงถึงฐานะ และใช้ในการดูเวลาเพื่อบริหารทำเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่อีกด้านหนึ่งก็มีนักธุรกิจที่ไม่ใส่นาฬิกาเหมือนกันด้วยเหตุอันน่าทึ่งที่ชวนให้เกิดเป็นกรณีศ

พาณิชย์จัดใหญ่ THAILAND SME SYNERGY EXPO 2024 เสริมแกร่ง SME สร้างอาชีพด้วยแฟรนไชส์

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมกับ สสว. และหน่วยงานพันธมิตร เตรียมจัดงาน “มหกรรมรวมพลัง SME ไทย: THAILAND SME SYNERGY EXPO 2024 แก้ปัญหาให้ SME สร้างอาชีพให้กับผู้ว่างงานด้วยแฟรนไชส์ คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 140 ล้านบาท

คาดช่วงฟุตบอลยูโร 2024 มีเงินสะพัด 87,620 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้ซื้ออาหาร-เครื่องดื่ม

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำการสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของคนไทยในช่วงมหกรรมฟุตบอลยูโร 2024 คาดการณ์มีเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจ 87,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.0% เมื่อเทียบกับการแข่งขันคราวก่อน

SmartSME Line