ความโปร่งใสและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นประเด็นหลักที่ สินค้าแบรนด์เนม ระดับโลกต่างให้ความสำคัญอย่างมากขณะนี้
เนื่องจากผู้บริโภครุ่นใหม่ไม่ได้สนใจเพียงแค่การเคารพกฎหรือหลักปฏิบัติในขั้นตอนการผลิต แต่การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส โดยเฉพาะด้านการเลือกสรรวัตถุดิบ ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญไม่แพ้กัน และจากการศึกษาเทรนด์ดังกล่าว พบว่าบรรดา สินค้าแบรนด์เนม ชั้นนำได้นำมาปรับกับการออกแบบ เพื่อสร้างกลยุทธ์ดังนี้
คิดค้นพัฒนาวัตถุดิบใหม่
การอนุรักษ์แหล่งที่มาของวัสดุ อย่างขนและหนังสัตว์ เป็นประเด็นแรกที่บริษัทผลิตสินค้าแบรนด์เนมหยิบยกขึ้นมาเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับแบรนด์ของตนเอง ซึ่งปกติแล้วเรามักจะเห็นแบรนด์ต่างๆนิยมใช้วัตถุดิบหายาก แต่เพราะผู้บริโภคยุคปัจจุบันต่างตระหนักถึงการอนุรักษ์แหล่งที่มาของวัสดุมากขึ้น พวกเขาจึงต้องค้นหาวัสดุทางเลือกใหม่ๆ หรือแม้แต่ในบางบริษัทก็ยังให้การสนับสนุนโครงการอนุรักษ์สัตว์และธรรมชาติ อย่างแบรนด์ Loro Piana จากเปรู ที่สนับสนุนโครงการอนุรักษ์ฝูงจามรี ที่ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากขนของมันสามารถนำมาผลิตผ้าแคชเมียร์ที่มีผิวสัมผัสไม่เหมือนขนสัตว์ประเภทอื่น
ด้านวัตถุดิบประเภทหนังนั้น พวกเขากล่าวว่าเป็นโจทย์ที่ยากมาก เพราะมีการบริโภคเนื้อวัวลดลง ทำให้มีหนังคุณภาพดีมาให้คัดเลือกน้อยลง จึงต้องคิดค้นหาวัสดุใหม่ที่ทดแทนกันได้ เช่น การผลิตวัสดุสังเคราะห์ทดแทนหนังที่มาจากเส้นใยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยจากไผ่ ใยถั่วงอกหรือใยสาหร่าย
Stella McCartney นักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดัง ผู้เคร่งครัดในมังสวิรัติ ได้ปฏิเสธการใช้หนังหรือขนสัตว์ และหันมาใช้วัสดุอื่นๆจากธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบของคอลเล็กชั่นมากว่า 15 ปี ด้าน Stiven Kerestegian นักออกแบบชิลี ก็ได้นำหนังปลาแซลมอนมาประยุกต์ใช้ในการทำกระเป๋าหนัง รวมถึง
การออกแบบเสื้อผ้าที่ได้เส้นใยมาจากใบสัปปะรด
การรีไซเคิลอย่างยั่งยืน
การรีไซเคิลเป็นอีกเทคนิคสำคัญ ที่อุสาหกรรมสินค้าแบรนด์เนมต่างให้ความสนใจ นำเทคนิคนี้มาปรับใช้ อย่างในอดีตที่แบรนด์ Yves Saint Laurent ได้ออกแบบคอลเล็กชั่น New Vintage ปี 2552 ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับสาวกแบรนด์อย่างมาก เพราะเป็นเสื้อผ้าที่ตัดเย็บมาจากผ้ารีไซเคิลของคอลเลคชั่นก่อนหน้า
สำหรับ Hermès แบรนด์กระเป๋าหรูระดับตำนาน ก็ได้ออกสินค้าในกลุ่ม Petit H ซึ่งรวมเอาสินค้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย อย่าง พวงกุญแจจากเศษหนังที่ใช้ผลิตกระเป๋า
ส่วนขนสัตว์ ก็มีหลายแบรนด์ที่คิดค้นหาวิธีรีไซเคิลแบบต่างๆ เช่น Harricana บริษัทจากแคนนาดา ที่นำสินค้าค้างสต็อกมารื้อ แล้วนำวัสดุที่ได้กลับมาทำสินค้าใหม่ ทำให้ลดการฆ่าสัตว์เพื่อนำขนมาใช้ได้กว่า 650,000 ตัวต่อปี
ด้านผู้ผลิต สินค้าแบรนด์เนม เครื่องประดับก็กำลังตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับการหาอัญมณีมาใช้ในอนาคต
เนื่องจากอัญมณีหายากมากขึ้น บวกกับกระบวนการขุดค้นที่มีความซับซ้อน ทั้งยังมีประเด็นเรื่องของความถูกต้องของจริยธรรมในการซื้อ-ขาย เหล่านี้จึงทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีเริ่มผลิตเพชรสังเคราะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ถึงแม้ว่าจะมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย
[บทความทั้งหมด] | [คลิปรายการทั้งหมด]