บอกหมดเปลือก 9 ข้อ สู้ศึกธุรกิจเครื่องสำอาง ปี 2018


ปัจจุบันตลาดเครื่องสำอาง ถือเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าทางตลาดมากที่สุดในอาเซียน ส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทยมีถึง 35% ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่คึกคัก

โดย คุณวรวุฒิ  สายบัว Founder and CEO Beautynista.com ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจเครื่องสำอาง มีใจความดังนี้

9 ข้อ สู้ศึกธุรกิจเครื่องสำอาง ปี 2018

  • ต้องรู้เทรนด์ของตลาด

ผู้ที่สนใจทำธุรกิจเครื่องสำอางควรใช้เครื่องมือ Google Trend และ Facebook marketing inside เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสนใจของผู้บริโภค และรู้เทรนด์ของตลาดในปัจจุบันเพื่อใช้ในการตัดสินใจ

  • เจาะลึกกลุ่มเป้าหมาย

เราต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร พฤตืกรรมของกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร หากเราสามารถกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคได้ชัดเจนเท่าไหร่ กลุ่มเป้าหมายชองเราก็จะชัดขึ้น

  • การเลือกผู้ผลิต

การเลือกผู้ผลิต สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงงานผลิตเครื่องสำอาง และกลุ่มที่ปรึกษาการผลิตเครื่องสำอาง โดยกลุ่มโรงงานผลิตจะมีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตแต่จะไม่เก่งเรื่องการทำการตลาด แต่หากเป็นกลุ่มที่ปรึกษาจะมีความเชี่ยวชาญด้านการทำตลาดแต่จะไม่สามารถผลิตเครื่องสำอางให้ได้

  • สูตรการผลิต

สำหรับสูตรการผลิตนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบที่ 1 คือ สูตรการผลิตแบบมาตรฐาน ข้อดีคือ ต้นทุนต่ำสำหรับผู้เริ่มต้น แต่อย่าลืมว่าไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ แบบที่ 2 คือ การพัฒนาสูตรขึ้นมาเอง ซึ่งต้องใข้ต้นทุนที่สูงขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านการผลิตเครื่องสำอาง หรืออาจนำผลวิจัยมาพัฒนาต่อยอด

  • การตั้งราคา

การตั้งราคา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะมองถึงต้นทุนในการผลิต ทั้งตัวสินค้าและแพคเกจจิ้ง ยิ่งซื้อแพคเกจจิ้งมากเท่าไหร่ ต้นทุนค่าบรรจุภัณฑ์ก็จะถูกลง ทำให้เราสามารถตั้งราคาขายที่ถูกลงได้ แต่อย่าลืมที่จะบวกค่าการทำตลาดและค่าการโฆษณาลงไปด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้เราขาดทุนได้

  • กำหนดรูปแบบการขาย / รูปแบบการจัดจำหน่าย

การกำหนดรูปแบบการขายมี 2 อย่าง คือ ขายเอง กับ ตัวแทนขาย ซึ่งการขายให้กับตัวแทน สินค้าของเราต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะไม่มีตัวแทนคนไหนอยากสต็อคสินค้าไปและขายไม่ได้ เราจึงต้องดูต้นทุนการขายก่อนตั้งราคาขาย เพื่อให้ตัวแทนรู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่พวกเขาจะได้รับ

  • การทำการตลาด

การทำการตลาด อย่างแรกคือต้องดูในเรื่องของงบประมาณที่ตั้งไว้ ซึ่งการวางงบประมาณการตลาดที่ดีเราควรเก็บสถิติข้อมูลในการจ่ายค่าโฆษณาและสินค้าที่ขายออกไปได้ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ และสื่อไหนที่ใช้ได้ผลมากที่สุด

  • การบริหารบัญชี 

สิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญมี 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่

  1. การทำบัญชี
  2. การจัดการคลังสินค้า
  3. การจัดส่งสินค้า

หากเราสามารถบริหารทั้ง 3 สิ่งนี้ได้ดี เราจะสามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจของเราได้อีกเยอะเลยทีเดียว

  • ความปลอดภัยของสินค้า

ความปลอดภัยของสินค้าเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เพราะฉะนั้นในฐานะผู้ผลิตเราต้องตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าก่อนส่งถึงมือลูกค้า

https://youtu.be/0fToBqL0JC4