ขยายธุรกิจไปสู่การสร้าง ระบบแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร?


ผู้ประกอบการหลายคนมีความฝันที่จะขยายสาขา ด้วยมองเห็นถึงโอกาสความเป็นไปได้ของธุรกิจ หรือเสียงเรียกร้องจากลูกค้าที่อยากจะขอซื้อแฟรนไชส์เพื่อนำไปลงทุนธุรกิจต่อ เหล่านี้จะต้องมีขั้นตอนรวมไปถึงความพร้อมของเจ้าของแฟรนไชส์เอง ที่จะต้องมีการจัดวางระบบไว้เป็นอย่างดี ฉะนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้หรือเตรียมให้พร้อมก่อนเข้าสู่ ระบบแฟรนไชส์ อย่างเต็มรูปแบบมีดังนี้

1.เข้าใจภาพรวมของ ระบบแฟรนไชส์ อย่างแท้จริง

ผู้ประกอบการควรศึกษาหาความรู้ของแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างแท้จริงเสียก่อน ว่ามีระบบระเบียบบริหารจัดการอย่างไร ซึ่งปัจจุบันการศึกษาหาข้อมูลการทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถโทรปรึกษษกับหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากพร้อมที่จะให้องค์ความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน

2.สร้างแบรนด์ วางระบบการจัดการให้มีมาตรฐาน

แน่นอนว่าก่อนจะเริ่มเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ธูรกิจต้องได้รับความนิยมมาในระดับหนึ่งแล้ว ฉะนั้นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ วางแผนเตรียมความพร้อมในระบบการจัดการให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งสามารถทำได้โดยการขยายสาขาขึ้นเองทำร้านต้นแบบให้เป็นมาตรฐาน เพื่อศึกษารายละเอียดและผลตอบรับในทุกแง่มุม หรือร้านต้นแบบนั้นอาจบริหารจัดการโดยผู้อื่น ที่ไม่ใช่เจ้าของแฟรนไชส์เอง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าถ้ามีการขายแฟรนไชส์ และดำเนินกิจการตามรูปแบบที่วางไว้ จะมีโอกาสสร้างกำไรให้กับกิจการได้อย่างต่อเนื่องในร้านต่อๆไป แล้วทำการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความพร้อมในระบบ ให้ผู้ที่สนใจอยากลงทุนมีความเชื่อมันและตัดสินใจที่อยากจะลงทุนได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นการขยายสาขาแฟรนไชส์จากผู้ที่สนใจอยากจะมาลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องยาก

3.ประมาณการโครงสร้างทางการเงิน

เมื่อมีร้านต้นแบบแล้วสิ่งต่อมา คือ การประเมินการโครงสร้างทางการเงินเช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่  และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี  และคุ้มหรือไม่ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์เห็นภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้ จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)  และ ค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) เป็นต้น

4.คัดเลือกผู้ลงทุนหรือแฟรนไชส์ซี

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้นทั่วๆ ไปที่เอาเงินมาซื้อก็จบกันไป แฟรนไชส์ซีนอกจากจะลงทุนด้วยเงินแล้ว ยังต้องลงทุนด้วยแรงกาย แรงใจ และความทุ่มเทในการบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ความเข้าใจระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องไว้วางใจแฟรไชส์ซอร์ด้วย ดังนั้น แฟรนไชส์ซีที่เลือกเข้ามาต้องมีมาตรฐานด้วย อย่าเลือกเอาคนที่มีเงินลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ

5.สร้างมาตรฐาน ทำคู่มือ อบรม ตรวจสอบ

ควรทำคู่มือการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ที่มาลงทุน เพราะการถ่ายทอดธุรกิจทั้งระบบในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันคงเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นการมีคู่มือแนะนำ วิธีการแก้ปัญหา หรือการจัดอบรมก่อนเริ่มต้นธุรกิจ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและลดความเสียงให้เจ้าของแฟรนไชส์ และผู้ที่มาลงทุนเช่นกัน หลังจากเริ่มต้นธุรกิจแล้ว ควรมีการตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาแนะนำอยู่เสมอ

6.รักษาสิทธิ์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควบคู่ไปกับการให้สิทธิ์ ดังนั้น เมื่อธุรกิจของแฟรนไชส์ได้ผ่านการดำเนินการมา ระยะเวลาหนึ่ง ตราสินค้าหรือเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งจากผู้บริโภค ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ก็ย่อมได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า ที่ได้รับการยอมรับในตลาดไปด้วย ทำให้ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องสร้างเครื่องหมายการค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ จะให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซีใช้เครื่องหมายการค้าได้ แต่ก็สามาระเรียกคืนเครื่องหมายการค้านั้นๆ กลับคืนจากแฟรนไชส์ซีได้ หากกรณีแฟรนไชส์ซีไม่ทำตามกฎระเบียบ ไม่ทำตามข้อปฏิบัติในสัญญาแฟรนไชส์ อ่านบทความ แฟรนไชส์ซอ อื่นๆ >>>[คลิก]