รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ลุ่มน้ำนครนายกเป็นลุ่มน้ำสาขาหนึ่งของลุ่มน้ำบางปะกง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลีอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ประมาณ 2,430 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าประมาณร้อยละ 93 ของน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ส่วนใหญ่จะไหลทิ้งลงทะเลหรือก่อให้เกิดอุทกภัยส่วนในฤดูแล้ง เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ และ พื้นที่บางส่วนเป็นดินเปรี้ยวไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้าง เขื่อนคลองท่าด่าน บริเวณบ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้งอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 ว่า
“เขื่อนแห่งนี้ก็จะสามารถเก็บกักน้ำอุทกภัยของทุกปีไว้ได้หมด จะไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่เกษตรในบริเวณจังหวัดนครนายกอีกต่อไปและขณะเดียวกันในฤดูแล้งน้ำจากเขื่อนก็จะถูกระบายเพื่อชะล้างดินเปรี้ยวในหลายอำเภอของนคร นายกได้อีกด้วย…”
โครงการเพื่อก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า “เขื่อนขุนด่านปราการชล” เขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก เริ่มเก็บกักน้ำ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2547 สามารถช่วยเหลือราษฎรที่ต้องประสบปัญหาน้ำป่าที่ไหลเชี่ยวกรากอย่างรุนแรงเข้าท่วมบ้านเรือนในฤดูฝนและท่วมขังเป็นเวลานานในบริเวณพื้นที่ราบเป็นประจำทุกปี แล้วยังช่วยแก้ปัญหาดินเปรี้ยวและปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและช่วยเหลือพื้น ที่เกษตรกรรม 175,000 ไร่ให้มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภคอีกด้วย