รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่กระบวนการเติมไฮโตรเจนบางส่วน โดยมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หลังประกาศฉบับนี้ออกมาเรื่องไขมันทรานส์ คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไป แล้วเรื่องนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องบ้าง แล้วในด้านผู้บริโภคจะปรับตัวต่อเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างไร เรามาหาคำตอบกันครับ
เชื่อว่าบางคนคงจะไม่ได้ใส่ใจกับคำว่าไขมันทรานส์สักเท่าไร แต่ ณ ตอนนี้คงคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว ด้วยเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เราจึงควรตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกันสักหน่อยว่าแท้จริงแล้วไขมันทรานส์ คืออะไร “กรดไขมันทรานส์” หรือเรียกอีกอย่างว่า ไขมันพืชเติมไฮโดรเจนบางส่วน ซึ่งถูกผลิตขึ้นมาโดยการใช้ปฏิกิริยาทางเคมีให้เกิดโมเลกุล นำมาสู่ไขมันที่มีสภาพแข็งตัว และกลายเป็นของแข็งไปในที่สุด สำหรับไขมันทรานส์นั้นจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปในลักษณะนี้ คือ เนยเทียม, เนยขาว ที่นำมาใช้แทนเนย และครีมเทียม ซึ่งมีข้อดีอยู่ที่เป็นผลิตภัณฑ์ ราคาถูก เก็บรักษาง่าย รวมถึงใช้งานไม่ยาก นอกจากนี้ ยังมีไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น การใช้น้ำมันพืชทอดอาหารหลายครั้ง การทำเช่นดีอยู่เรื่อยๆ ก็เกิดไขมันทรานส์ได้เช่นกัน
แม้ว่าไขมันทรานส์จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในเรื่องการช่วยลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต แต่อีกมุมหนึ่งก็ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อผู้บริโภคด้วยเช่นกัน เพราะหากเราบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์มากๆ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด, ไขมันอุดตันในเส้นเลือด, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, หลอดเลือดหัวใจตีบ สำหรับไขมันทรานส์ จะพบอยู่ในอาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด เฟรนซ์ฟราย หรืออาหารทอดที่ใช้ความร้อนสูงๆ รวมถึงอาหารที่มีรสชาติหวาน ไม่ว่าจะเป็น โดนัท ขนมเค้ก คุกกี้ ซึ่งต้องเลือกรับประทานให้ดี
หลังจากประกาศฉบับดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุขออกมา ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร เบเกอรี่ ซึ่งต้องมีการปรับตัวกันครั้งใหญ่ด้วยการปรับสูตรการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับที่วางเอาไว้